เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา
๔๗๗.
วิสฺสาสา ภยมนฺเวติ
.
เพราะความไว้ใจ ภัยจึงตามมา.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๐.
๔๗๘.
อติจิรํ นิวาเสน
ปิโย ภวติ อปฺปิโย
.
เพราะอยู่ด้วยกันนานเกินไป คนที่รักก็มักหน่าย.
ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๔๗.
๔๗๙.
ยํ เว เสวติ ตาทิโส
.
คบคนใด ก็เป็นเช่นคนนั้นแล.
ว. ว.
๔๘๐.
เอกรตฺตํ ทฺวิรตฺตํ วา
ทุกฺขํ วสติ เวรีสุ
.
อยู่ในพวกไพรีคืนเดียวหรือสองคืน ก็เป็นทุกข์.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๔.
๔๘๑.
ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส
อมิตฺเตเนว สพฺพทา
.
อยู่ร่วมกับพวกพาล นำทุกข์มาให้เสมอไป เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรู.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.
๔๘๒.
ธีโร จ สุขสํวาโส
าตีนํว สมาคโม
.
อยู่ร่วมกับปราชญ์ นำสุขมาให้เหมือนสมาคมกับญาติ.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.
๔๘๓.
สุโข หเว สปฺปุริเสน สงฺคโม
.
สมาคมกับสัตบุรุษ นำสุขมาให้.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๕.
๔๘๔.
นิหียติ ปุริโส นิหีนเสวี
.
ผู้คบคนเลว ย่อมเลวลง.
องฺ. ติก. ๒๐/๑๕๘.
๔๘๕.
ทุกฺโข พาเลหิ สงฺคโม
.
สมาคมกับคนพาล นำทุกข์มาให้.
ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๒๖๕.
๔๘๖.
น สงฺคโม ปาปชเนน เสยฺโย
.
สมาคมกับคนชั่ว ไม่ดีเลย.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๖๑.
๔๘๗.
ภทฺโท สปฺปุริเสหิ สงฺคโม
.
การสมาคมกับคนดี เป็นความเจริญ.
ขุ. เถร. ๒๖/๔๐๕.
๔๘๘.
น ปาปชนสํเสวี
อจฺจนฺตสุขเมธติ
.
ผู้ไม่คบหาคนชั่ว ย่อมได้รับสุขส่วนเดียว.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๔๖.
๔๘๙.
พาลสงฺคตจารี หิ
ทีฆมทฺธาน โสจติ
.
ผู้เที่ยวสมาคมกับคนพาล ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.
๔๙๐.
ยตฺถ เวรี นิวีสติ
น วเส ตตฺถ ปณฺฑิโต
.
ไพรีอยู่ในที่ใด บัณฑิตไม่ควรอยู่ในที่นั้น.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๔.
๔๙๑.
สงฺเกเถว อมิตฺตสฺมึ
มิตฺตสฺมิมฺปิ น วิสฺสเส
.
ควรระแวงในศัตรู แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้ใจ.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๗.
๔๙๒.
น วิสฺสเส อวิสฺสฏฺ
วิสฺสฏฺเปิ น วิสฺสเส
.
ไม่ควรไว้ใจในคนไม่คุ้นเคย แม้ในคนคุ้นเคยก็ไม่ควรไว้ใจ.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๐.
๔๙๓.
อนตฺถา เยว วฑฺฒนฺติ
พาลํ ปจฺจูปเสวโต
.
เมื่อคบหาคนพาล ย่อมมีแต่ความฉิบหาย.
นัย- ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๒๖๕.
๔๙๔.
นาสฺมเส กตปาปมฺหิ
.
ไม่ควรไว้ใจคนทำบาป.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๐.
๔๙๕.
นาสฺมเส อลิกวาทิเน
.
ไม่ควรไว้ใจคนพูดพล่อย ๆ.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๐.
๔๙๖.
นาสฺมเส อตฺตตฺถปญฺมฺหิ
.
ไม่ควรไว้ใจคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๐.
๔๙๗.
อติสนฺเตปิ นาสฺมเส
.
ไม่ควรไว้ใจคนที่แสร้งทำสงบเสงี่ยม.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๐.
๔๙๘.
อเปตจิตฺเตน น สมฺภเชยฺย
.
ไม่ควรคบกับคนสิ้นคิด.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๔.
๔๙๙.
น สนฺถวํ กาปุริเสน กยิรา
.
ไม่ควรทำความสนิทสนมกับคนชั่ว.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๕.
๕๐๐.
มาสฺสุ พาเลน สงฺคจฺฉิ
อมิตฺเตเนว สพฺพทา
.
อย่าสมาคมกับคนพาลซึ่งเป็นดังศัตรูทุกเมื่อ.
ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๒๖๕.
พุทธศาสนสุภาษิต
๑๘. หมวดมฤตยู
๑๙. หมวดมิตร
๒๐. หมวดขอ
๒๑. หมวดพระราชา
๒๒. หมวดวาจา
๒๓. หมวดความเพียร
๒๔. หมวดเวร
๒๕. หมวดความสัตย์
๒๖. หมวดสติ
๒๗. หมวดศรัทธา
๒๘. หมวดสันโดษ
๒๙. หมวดสมณะ
๓๐. หมวดสามัคคี
๓๑. หมวดศีล
๓๒. หมวดสุข
๓๓. หมวดคบหา
๓๔. นามคัมภีร์
๑. หมวดตน
๒. หมวดไม่ประมาท
๓. หมวดกรรม
๔. หมวดกิเลส
๕. หมวดโกรธ
๖. หมวดอดทน
๗. หมวดจิต
๘. หมวดชนะ
๙. หมวดทาน
๑๐. หมวดทุกข์
๑๑. หมวดธรรม
๑๒. หมวดเบ็ดเตล็ด
๑๓. หมวดปัญญา
๑๔. หมวดประมาท
๑๕. หมวดบาป
๑๖. หมวดบุคคล
๑๗. หมวดบุญ