ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา่
๒๔๗. นตฺถิ  ปญฺาสมา  อาภา.
  แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา  ไม่มี.
  สํ. ส. ๑๕/๙.
   
๒๔๘. ปญฺา  โลกสฺมิ  ปชฺโชโต.
  ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก.
  สํ. ส. ๑๕/๖๑.
   
๒๔๙. โยคา  เว  ชายตี  ภูริ.
  ปัญญาย่อมเกิดเพราะความประกอบ.
  ขุ. ธ. ๒๕/๕๒.
   
๒๕๐. อโยคา  ภูริสงฺขโย.
  ความสิ้นปัญญาย่อมเกิดเพราะความไม่ประกอบ.
  ขุ. ธ. ๒๕/๕๒.
   
๒๕๑. สุโข  ปญฺาปฏิลาโภ.
  ความได้ปัญญา  ให้เกิดสุข.
  ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.
   
๒๕๒. ปญฺา  นรานํ  รตนํ.
  ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน.
  สํ. ส. ๑๕/๕๐.
   
๒๕๓. ปญฺาว  ธเนน  เสยฺโย.
  ปัญญาเทียวประเสริฐกว่าทรัพย์.
  นัย- ม. ม. ๑๓/๔๑๓.  นัย- ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๙.
   
๒๕๔. นตฺถิ  ฌานํ  อปญฺสฺส.
  ความพินิจไม่มีแก่คนไร้ปัญญา.
  ขุ. ธ. ๒๕/๖๕.
   
๒๕๖. ปญฺา  นตฺถิ  อฌายโต.
  ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ.
  ขุ. ธ. ๒๕/๖๕.
   
๒๕๗. ปญฺาย  มคฺคํ  อลโส  น  วินฺทติ.
  คนเกียจคร้านย่อมไม่พบทางด้วยปัญญา.
  ขุ. ธ. ๒๕/๕๒.
   
๒๕๘. สุสฺสูสํ  ลภเต  ปญฺํ    อปฺปมตฺโต  วิจกฺขโณ.
  ผู้ไม่ประมาท  พินิจพิจารณา  ตั้งใจฟัง  ย่อมได้ปัญญา.
  สํ. ส. ๑๕/๓๑๖.  ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๑.
   
๒๕๙. ปญฺายตฺถํ  วิสฺสติ.
  คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา.
  องฺ. สตฺตก. ๒๓/๓.
   
๒๖๐. ปญฺาย  ปริสุชฺฌติ.
  คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา.
  ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๑.
   
๒๖๑. ปญฺา  หิ  เสฏฺา  กุสลา  วทนฺติ.
  คนฉลาดกล่าวว่าปัญญาแล  ประเสริฐสุด.
  ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๕๔๑.
   
๒๖๒. ปญฺาชิวีชีวิตมาหุ  เสฏฺํ.
  ปราชญ์กล่าวชีวิตของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่าประเสริฐสุด.
  สํ. ส. ๑๕/๕๘, ๓๑๕.  ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๐.
   
๒๖๓. เอโกว เสยฺโย ปุริโส สปญฺโ
โย ภาสิตสฺส วิชานาติ อตฺถิ.
  ผู้มีปัญญารู้เนื้อความแห่งภาษิตคนเดียวเท่านั้น  ประเสริฐกว่า.
  ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๒.
   
๒๖๔. พหูนํ  วต  อตฺถาย    สปฺปญฺโ  ฆรมาวสํ.
  ผู้มีปัญญาอยู่ครองเรือน เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่คนมาก.
  องฺ. อฏฺก. ๒๓/๒๔๙.
   
๒๖๕. สากจฺฉาย  ปญฺา  เวทิตพฺพา.
  ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา.
  นัย. ขุ. อุ. ๒๕/๑๗๘.
   
๒๖๖. ตถตฺตานํ  นิเวเสยฺย    ยถา  ภูริ  ปวฑฺฒติ.
  ปัญญาย่อมเจริญด้วยประการใด  ควรตั้งตนไว้ด้วยประการนั้น.
  ขุ. ธ. ๒๕/๕๒.
   
๒๖๗. ปญฺํ  นปฺปมชฺเชยฺย.
  ไม่ควรประมาทปัญญา.
  ม. อุป. ๑๔/๔๓๖.

 

พุทธศาสนสุภาษิต