อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท
๒๙.
อปฺปมาโท อมตํ ปทํ
.
ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/๕๒๔.
๓๐.
อปฺปมาทญฺจ เมธาวี
ธนํ เสฏํว รกฺขติ
.
ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์ประเสริฐสุด.
ม. ม. ๑๓/๔๘๘. สํ. ส. ๑๕/๓๖. ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. ขุ. เถร. ๒๖/๓๙๐.
๓๑.
อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ
.
บัณฑิตย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท.
สํ. ส. ๑๕/๑๒๖. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๓. ขุ. ธ. ๒๕/๑๙. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๔๒.
๓๒.
อปฺปมาเท ปโมทนฺติ
.
บัณฑิตย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๘.
๓๓.
อปฺปมตฺตา น มียนฺติ
.
ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/๕๒๔.
๓๔.
อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต
ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ
.
ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์.
ม. ม. ๑๓/๔๘๘. สํ. ส. ๑๕/๓๖. ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. ขุ. เถร. ๒๖/๓๙๐.
๓๕.
อปฺปมตฺโต อุโภ อตฺเถ
อธิคฺคณฺหาติ ปณฺฑิโต
.
บัณฑิตผู้ไม่ประมาท ย่อมได้รับประโยชน์ทั้งสอง.
สํ. ส. ๑๕/๑๒๖. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๓. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๔๒.
๓๖.
อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ
.
ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม.
ที. มหา. ๑๐/๑๘๐. สํ. ส. ๑๕/๒๓๑.
๓๗.
อปฺปมาทรตา โหถ
.
ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๘.
พุทธศาสนสุภาษิต
๑. หมวดตน
๒. หมวดไม่ประมาท
๓. หมวดกรรม
๔. หมวดกิเลส
๕. หมวดโกรธ
๖. หมวดอดทน
๗. หมวดจิต
๘. หมวดชนะ
๙. หมวดทาน
๑๐. หมวดทุกข์
๑๑. หมวดธรรม
๑๒. หมวดเบ็ดเตล็ด
๑๓. หมวดปัญญา
๑๔. หมวดประมาท
๑๕. หมวดบาป
๑๖. หมวดบุคคล
๑๗. หมวดบุญ
๑๘. หมวดมฤตยู
๑๙. หมวดมิตร
๒๐. หมวดขอ
๒๑. หมวดพระราชา
๒๒. หมวดวาจา
๒๓. หมวดความเพียร
๒๔. หมวดเวร
๒๕. หมวดความสัตย์
๒๖. หมวดสติ
๒๗. หมวดศรัทธา
๒๘. หมวดสันโดษ
๒๙. หมวดสมณะ
๓๐. หมวดสามัคคี
๓๑. หมวดศีล
๓๒. หมวดสุข
๓๓. หมวดคบหา
๓๔. นามคัมภีร์