ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม
๑๖๒. ธมฺโม  รหโท  อกทฺทโม.
  ธรรมเหมือนห้วงน้ำไม่มีตม.
  ขุ. ชา. ฉกฺก. ๒๗/๒๐๒.
   
๑๖๓. มโนปุพฺพงฺคมา  ธมฺมา.
  ธรรมทั้งหลาย  มีใจเป็นหัวหน้า.
  ขุ. ธ. ๒๕/๑๕.
   
๑๖๔. ธมฺโม  หิ  อิสีนํ  ธโช.
  ธรรมแล  เป็นธงชัยของพวกฤษี.
  สํ. นิ. ๑๖/๒๖.  องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๖๖. ขุ. ชา. อสีติ. ๒๘/๑๕๒.
   
๑๖๕. สตํ  ธมฺโม  ทุรนฺวโย.
  ธรรมของสัตบุรุษ  รู้ได้ยาก.
  สํ. ส. ๑๕/๒๖.  ขุ. ชา. ทุก. ๒๗๑๖๓.  ขุ. ชา. ทสก. ๒๗๑๒๙๔.
   
๑๖๖. สตญฺจ  ธมฺโม  น  ชรํ  อุเปติ.
  ธรรมของสัตบุรุษ  ไม่เข้าถึงความคร่ำคร่า.
  สํ. ส. ๑๕/๑๐๒.  ขุ. ธ. ๒๕/๓๕.  ขุ. ชา. อสีติ. ๒๘/๑๓๖.
   
๑๖๗. สทฺธมฺโม  สพฺภิ  รกฺขิโต.
  ธรรมของสัตบุรุษ  อันสัตบุรุษรักษา.
  ที. มหา. ๑๐/๒๗๙.
   
๑๖๘. ธมฺโม  สุจิณฺโณ  สุขมาวหาติ.
  ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว  นำสุขมาให้.
  สํ. ส. ๑๕/๕๘.  ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๐. 
ขุ. ชา. ทสก. ๒จ/๒๙๐.  ขุ. เถร. ๒๖/๓๑๔.
   
๑๖๙. สพฺเพสํ  สหิโต  โหติ    สทฺธมฺเม  สุปติฏฺิโต.
  ผู้ตั้งมั่นในสัทธรรม  เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนทั้งปวง.
  องฺ. อฏฺก. ๒๓/๒๔๙.
   
๑๗๐. ธมฺมปีติ  สุขํ  เสติ.
  ผู้มีปีติในธรรม  อยู่เป็นสุข.
  ขุ. ธ. ๒๕/๒๕.
   
๑๗๑. ธมฺมจารี  สุขํ  เสติ.
  ผู้ประพฤติธรรม  อยู่เป็นสุข.
  ขุ. ธ. ๒๕/๓๗, ๓๘.  ขุ. อุ. ๒๕/๓๖๖.
   
๑๗๒. ธมฺโม  หเว  รกฺขติ  ธมฺมจารึ.
  ธรรมแล  ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม.
  ขุ. ชา. ทสกฺ ๒๗/๒๙๐.  ขุ. เถร. ๒๖/๓๑๔.
   
๑๗๓. น  ทุคฺคตึ  คจฺฉติ  ธมฺมจารี.
  ผู้ประพฤติธรรม  ไม่ไปสู่ทุคติ.
  ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๙๐.  ขุ. เถร. ๒๖/๓๑๔.
   
๑๗๔. ธมฺเม  ิตํ  น  วิชหาติ  กิตฺติ.
  เกียรติ  ย่อมไม่ละผู้ตั้งอยู่ในธรรม.
  องฺ. ปญฺจก. ๒๓/๕๑.
   
๑๗๕. ธมฺเม  ิตา  เย  น  กโรนฺติ  ปาปกํ.
  ผู้ตั้งอยู่ในธรรม  ย่อมไม่ทำบาป.
  องฺ. จตุตกฺก. ๒๑/๒๕.
   
๑๗๖. สพฺเพ  ธมฺมา  นาลํ  อภินิเวสาย.
  สภาวธรรมทั้งปวง  ไม่ควรถือมั่น.
  ม. ม. ๑๒/๔๖๔.
   
๑๗๗. โยนิโส  วิจิเน  ธมฺมํ.
  พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย.
  ม. อุปฺ ๑๔/๔๗๑.  สํ. ส. ๑๕/๗๘. องฺ. สตฺตก. ๒๓/๓.
   
๑๗๘. ธมฺมํ  จเร  สุจริตํ    น  ตํ  ทุจฺจริตํ  จเร.
  พึงประพฤติธรรมให้สุจริต  ไม่ควรประพฤติให้ทุจริต.
  ขุ. ธ. ๒๕/๓๘.  ขุ. อุ. ๒๕/๓๖๖.
   
๑๗๙. สทฺธมฺโม  ครุกาตพฺโพ.
  ควรเคารพสัทธรรม.
  องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๒๗.
   
๑๘๐. กณฺหํ  ธมฺมํ  วิปฺปหาย.
  บัณฑิตควรละธรรมดำเสีย.
  สํ. มหา. ๑๙/๒๙.  ขุ. ธ. ๒๕/๒๖.
   
๑๘๑. สุกฺกํ  ภาเวถ  ปณฺฑิโต.
  บัณฑิตควรเจริญธรรมขาว.
  สํ. มหา. ๑๙/๒๙.  ขุ. ธ. ๒๕/๒๖.

 

พุทธศาสนสุภาษิต