กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส
๖๓.
สงฺกปฺปราโค ปุริสสฺส กาโม
.
ความกำหนัดเพราะดำริ เป็นกามของคน.
สํ. ส. ๑๕/๓๒. อง. ฉกฺก. ๒๒/๔๖๐.
๖๔.
น สนฺติ กามา มนุเชสุ นิจฺจา
.
กามทั้งหลายที่เที่ยง ไม่มีในมนุษย์.
สํ. ส. ๑๕/๓๑.
๖๕.
กาเมหิ โลกมฺหิ น อตฺถิ ติตฺติ
.
ความอิ่มด้วยกามทั้งหลาย ไม่มีในโลก.
ม. ม. ๑๓/๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๗.
๖๖.
น กหาปณวสฺเสน
ติตฺติ กาเมสุ วิชฺชติ
.
ความอิ่มในกามทั้งหลาย ย่อมไม่มีเพราะฝนคือกหาปณะ.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๐. ขุ. ชา. ติก. ๒๗/๑๐๒.
๖๗.
นตฺถิ กามา ปรํ ทุกฺขํ
.
ทุกข์ (อื่น) ยิ่งกว่ากาม ย่อมไม่มี.
ขุ. ชา. เอกาทสก. ๒๗/๓๑๕.
๖๘.
นตฺถิ ตณฺหาสมา นที
.
แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๘.
๖๙.
อิจฺฉา โลกสฺมิ ทุชฺชหา
.
ความอยากละได้ยากในโลก.
สํ. ส. ๑๕/๖๑.
๗๐.
อิจฺฉา หิ อนนฺตโคจรา
.
ความอยากมีอารมณ์หาที่สุดมิได้เลย.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๙๔.
๗๑.
อิจฺฉา นรํ ปริกสฺสติ
.
ความอยากย่อมเสือกไสซึ่งนรชน.
สํ. ส. ๑๕/๖๑.
๗๒.
นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ
.
ไฟเสมอด้วยราคะ ไม่มี.
ขุ. ธ. ๒๕-๔๒,๔๘.
๗๓.
โลโภ ธมฺมานํ ปริปนฺโถ
.
ความโลภเป็นอันตรายแห่งธรรมทั้งหลาย.
สํ. ส. ๑๕/๕๙.
๗๔.
อติโลโภ หิ ปาปโก
.
ความละโมบเป็นบาปแท้.
วิ. ภิ. ๓/๙๖. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๔๔.
๗๕.
นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ
.
ข่ายเสมอด้วยโมหะ ไม่มี.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๘.
๗๖.
ภิยฺโย จ กาเม อภิปตฺถยนฺติ
.
ผู้บริโภคกาม ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป.
ม. ม. ๑๓/๔๑๑. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๗.
๗๗.
อูนา ว หุตฺวาน ชหนฺติ เทหํ
.
ผู้บริโภคกามเป็นผู้พร่อง ละร่างกายไป.
ม. ม. ๑๓/๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๗.
๗๘.
โภคตณฺหาย ทุมฺเมโธ
หนฺติ อญฺเว อตฺตนํ
.
ผู้มีปัญญาทราม ย่อมฆ่าตนเองเหมือนฆ่าผู้อื่น เพราะอยากได้โภคทรัพย์.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๓.
๗๙.
อวิชฺชานิวุตา โปสา
.
คนทั้งหลายอันอวิชชาหุ้มห่อไว้.
วิ. จุล. ๗/๔๐๐. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๙๓.
พุทธศาสนสุภาษิต
๑. หมวดตน
๒. หมวดไม่ประมาท
๓. หมวดกรรม
๔. หมวดกิเลส
๕. หมวดโกรธ
๖. หมวดอดทน
๗. หมวดจิต
๘. หมวดชนะ
๙. หมวดทาน
๑๐. หมวดทุกข์
๑๑. หมวดธรรม
๑๒. หมวดเบ็ดเตล็ด
๑๓. หมวดปัญญา
๑๔. หมวดประมาท
๑๕. หมวดบาป
๑๖. หมวดบุคคล
๑๗. หมวดบุญ
๑๘. หมวดมฤตยู
๑๙. หมวดมิตร
๒๐. หมวดขอ
๒๑. หมวดพระราชา
๒๒. หมวดวาจา
๒๓. หมวดความเพียร
๒๔. หมวดเวร
๒๕. หมวดความสัตย์
๒๖. หมวดสติ
๒๗. หมวดศรัทธา
๒๘. หมวดสันโดษ
๒๙. หมวดสมณะ
๓๐. หมวดสามัคคี
๓๑. หมวดศีล
๓๒. หมวดสุข
๓๓. หมวดคบหา
๓๔. นามคัมภีร์