มิตตวรรค คือ หมวดมิตร
๓๗๔.
สตฺโถ ปวสโต มิตฺตํ
.
หมู่เกวียน (หรือต่าง) เป็นมิตรของคนเดินทาง.
สํ. ส. ๑๕/๕๐.
๓๗๕.
มาตา มิตฺตํ สเก ฆเร
.
มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน.
สํ. ส. ๑๕/๕๐.
๓๗๖.
สหาโย อตฺถชาตสฺส
โหติ มิตฺตํ ปุนปฺปุนํ
.
สหาย เป็นมิตรของคนมีความต้องการเกิดขึ้นเนือง ๆ.
สํ. ส. ๑๕/๕๑.
๓๗๗.
สพฺพตฺถ ปูชิโต โหติ
โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ
.
ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมมีผู้บูชาในที่ทั้งปวง.
ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๕๔.
๓๗๘.
สพฺเพ อมิตฺเต ตรติ
โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ
.
ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมผ่านพ้นศัตรูทั้งปวง.
ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๑๕๕.
๓๗๙.
มิตฺตทุพฺโภ หิ ปาปโก
.
ผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลวแท้.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๗.
๓๘๐.
ปาปมิตฺโต ปาปสโข
ปาปอาจารโคจโร
.
มีมิตรเลวมีเพื่อนเลว ย่อมมีมรรยาทและที่เที่ยวเลว.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๘.
๓๘๑.
ภริยา ปรมา สขา
.
ภริยาเป็นเพื่อนสนิท.
สํ. ส. ๑๕/๕๑.
๓๘๒.
นตฺถิ พาเล สหายตา
.
ความเป็นสหาย ไม่มีในคนพาล.
วิ. มหา. ๕/๓๓๖. ม. อุ. ๑๔/๒๙๗. ขุ. ธ. ๒๕/๒๓,๕๙.
๓๘๓.
อตฺถมฺหิ ชาตมฺหิ สุขา สหายา
.
เมื่อความต้องการเกิดขึ้น สหายเป็นผู้นำสุขมาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.
๓๘๔.
สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ
จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา
.
ถ้าได้สหายผู้รอบคอบ พึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา.
วิ. มหา. ๕/๓๓๖. ม. อุป. ๑๔/๒๙๗.
๓๘๕.
โน เจ ลเภถ นิปกํ สหายํ
เอโก จเร น จ ปาปานิ กยิรา
.
ถ้าไม่ได้สหายผู้รอบคอบ พึงเที่ยวไปคนเดียวและไม่พึงทำความชั่ว.
วิ. มหา. ๕/๓๓๖. ม. อุป. ๑๔/๒๙๗.
พุทธศาสนสุภาษิต
๑๘. หมวดมฤตยู
๑๙. หมวดมิตร
๒๐. หมวดขอ
๒๑. หมวดพระราชา
๒๒. หมวดวาจา
๒๓. หมวดความเพียร
๒๔. หมวดเวร
๒๕. หมวดความสัตย์
๒๖. หมวดสติ
๒๗. หมวดศรัทธา
๒๘. หมวดสันโดษ
๒๙. หมวดสมณะ
๓๐. หมวดสามัคคี
๓๑. หมวดศีล
๓๒. หมวดสุข
๓๓. หมวดคบหา
๓๔. นามคัมภีร์
๑. หมวดตน
๒. หมวดไม่ประมาท
๓. หมวดกรรม
๔. หมวดกิเลส
๕. หมวดโกรธ
๖. หมวดอดทน
๗. หมวดจิต
๘. หมวดชนะ
๙. หมวดทาน
๑๐. หมวดทุกข์
๑๑. หมวดธรรม
๑๒. หมวดเบ็ดเตล็ด
๑๓. หมวดปัญญา
๑๔. หมวดประมาท
๑๕. หมวดบาป
๑๖. หมวดบุคคล
๑๗. หมวดบุญ