อัตตวรรค คือ หมวดตน
๑.
อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย
.
ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี.
ขุ. ธ. ๒๕/๒๙.
๒.
อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม
.
ได้ยินว่าตนแล ฝึกได้ยาก.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.
๓.
อตฺตา สุทนฺโต ปุริสสฺส โชติ
.
ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็นแสงสว่างของบุรุษ.
สํ. ส. ๑๕/๒๔๘.
๔.
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
.
ตนแล เป็นที่พึ่งของตน.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๖,๖๖.
๕.
อตฺตา หิ อตฺตโน คติ
.
ตนเทียว เป็นคติของตน.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๖.
๖.
อตฺตา หิ ปรมํ ปิโย
.
ตนแล เป็นที่รักยิ่ง.
องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.
๗.
นตฺถิ อตฺตสมํ เปมํ
.
ความรัก (อื่น) เสมอด้วยตนไม่มี.
สํ. ส. ๑๕/๙.
๘.
อตฺตนา ว กตํ ปาปํ
อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ
.
ตนทำบาปเอง ย่อมเศร้าหมองเอง.
ขุ.ธ. ๒๕/๓๗. ขุ. มหา. ๒๙/๓๗. ขุ.จู. ๓๐/๑๑๖.
๙.
อตฺตนา อกตํ ปาปํ
อตฺตนา ว วิสุชฺฌติ
.
ตนไม่ทำบาปเอง ย่อมหมดจดเอง.
ขุ.ธ. ๒๕/๓๗. ขุ.มหา. ๒๙/๓๗. ขุ.จู. ๓๐/๑๑๖.
๑๐.
อตฺตตฺถปญฺา อสุจี มนุสฺสา
.
มนุษย์ผู้เห็นแก่ประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด.
ขุ. สุ. ๒๕/๑๓๓๙.
๑๑.
อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา
.
บัณฑิต ย่อมฝึกตน.
ม.ม. ๑๓/๔๘๗. ขุ.ธ. ๒๕/๒๕. ขุ. เถร. ๒๖/๓๘๙.
๑๒.
อตฺตานํ ทมยนฺติ สุพฺพตา
.
ผู้ประพฤติดี ย่อมฝึกตน.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๔.
๑๓.
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน
นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ
.
ผู้มีตนฝึกดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งซึ่งได้ยาก.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.
๑๔.
โย รกฺขติ อตฺตานํ
รกฺขิโต ตสฺส พาหิโร
.
ผู้ใดรักษาตนได้ ภายนอกของผู้นั้นก็เป็นอันรักษาด้วย.
องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๔๑๗.
๑๕.
อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺา
รกฺเขยฺย นํ สุรกฺขิตํ
.
ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ควรรักษาตนนั้นให้ดี.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.
๑๖.
ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ
จิตฺตเกฺลเสหิ ปณฺฑิโต
.
บัณฑิตพึงทำตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมองจิต.
สํ. มหา. ๑๙/๒๙. ขุ. ธ. ๒๕/๒๖.
๑๗.
อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา
ยถญฺมนุสาสติ
.
ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นฉันใด ก็ควรทำตนฉันนั้น.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.
๑๘.
อตฺตนา โจทยตฺตานํ
.
จงเตือนตนด้วยตนเอง.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๖.
๑๙.
ปฏิมํเสตมตฺตนา
.
จงพิจารณาตนด้วยตนเอง.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๖.
๒๐.
ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ
ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร
.
จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๘.
๒๑.
อตฺตานุรกฺขี ภว มา อฑยฺหิ
.
จงเป็นผู้ตามรักษาตน อย่าได้เดือดร้อน.
ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ๒๗/๓๗๒.
๒๒.
อตฺตานญฺจ น ฆาเตสิ
.
อย่าฆ่าตนเสียเลย.
ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๒๗๙.
๒๓.
อตฺตานํ น ทเท โปโส
.
บุรุษไม่พึงให้ซึ่งตน.
สํ. ส. ๑๕/๖๐.
๒๔.
อตฺตานํ น ปริจฺจเช
.
บุรุษไม่พึงสละเสียซึ่งตน.
สํ. ส. ๑๕/๖๐.
๒๕.
อตฺตานํ นาติวตฺเตยฺย
.
บุคคลไม่ควรลืมตน.
ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/๕๐๓.
๒๖.
อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน
พหุนาปิ น หาปเย
.
ไม่ควรพร่าประโยชน์ตน เพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้มาก.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๗.
๒๗.
อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺา
น นํ ปาเปน สํยุเช
.
ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ไม่ควรประกอบตนนั้นด้วยความชั่ว.
สํ. ส. ๑๕/๑๐๔.
๒๘.
ยทตฺตครหี ตทกุพฺพมาโน
.
ติตนเองเพราะเหตุใด ไม่ควรทำเหตุนั้น.
ขุ. ส. ๒๕/๔๘๖.
พุทธศาสนสุภาษิต
๑. หมวดตน
๒. หมวดไม่ประมาท
๓. หมวดกรรม
๔. หมวดกิเลส
๕. หมวดโกรธ
๖. หมวดอดทน
๗. หมวดจิต
๘. หมวดชนะ
๙. หมวดทาน
๑๐. หมวดทุกข์
๑๑. หมวดธรรม
๑๒. หมวดเบ็ดเตล็ด
๑๓. หมวดปัญญา
๑๔. หมวดประมาท
๑๕. หมวดบาป
๑๖. หมวดบุคคล
๑๗. หมวดบุญ
๑๘. หมวดมฤตยู
๑๙. หมวดมิตร
๒๐. หมวดขอ
๒๑. หมวดพระราชา
๒๒. หมวดวาจา
๒๓. หมวดความเพียร
๒๔. หมวดเวร
๒๕. หมวดความสัตย์
๒๖. หมวดสติ
๒๗. หมวดศรัทธา
๒๘. หมวดสันโดษ
๒๙. หมวดสมณะ
๓๐. หมวดสามัคคี
๓๑. หมวดศีล
๓๒. หมวดสุข
๓๓. หมวดคบหา
๓๔. นามคัมภีร์