ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล
๒๘๙.
สาธุ โข ปณฺฑิโต นาม
.
ชื่อว่าบัณฑิตย่อมทำประโยชน์ให้สำเร็จได้แล.
อ. ส. ๑๕/๓๐๙. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๒.
๒๙๐.
ปณฺฑิโต สีลสมฺปนฺโน
ชลํ อคฺคีว ภาสติ
.
บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองเหมือนไฟสว่าง.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๒.
๒๙๑.
อนตฺถํ ปริวชฺเชติ
อตฺถํ คณฺหาติ ปณฺฑิโต
.
บัณฑิตย่อมเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ถือเอาแต่สิ่งที่
เป็นประโยชน์.
องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๕๙.
๒๙๒.
อินฺทฺริยานิ รกฺขนฺติ ปณฺฑิตา
.
บัณฑิตย่อมรักษาอินทรีย์.
ที. มหา. ๑๐/๒๘๘. สํ. ส. ๑๕/๓๗.
๒๙๓.
น อุจฺจาวจํ ปณฺฑิตา ทสฺสยนฺติ
.
บัณฑิตย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลง.
ขุ. ธ. ๒๕/๒๖.
๒๙๔.
นิชฺฌตฺติพลา ปณฺฑิตา
.
บัณฑิตมีความไม่เพ่งโทษเป็นกำลัง.
องฺ. อฏฺก. ๒๓/๒๒๗.
๒๙๕.
ทุลฺลโภ ปุริสาชญฺโ
.
บุรุษอาชาไนย หาได้ยาก.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๑.
๒๙๖.
ทุลฺลโภ องฺคสมฺปนฺโน
.
ผู้ถึงพร้อมด้วยองค์คุณ หาได้ยาก.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๕.
๒๙๗.
ทนฺโต เสฏฺโ มนุสฺเสสุ
.
ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๗. ขุ. มหา. ๒๙/๒๙๑. ขุ. จู. ๓๐/๗๔.
๒๙๘.
มหาการุณิโก นาโถ
.
ท่านผู้เป็นที่พึ่ง ประกอบด้วยกรุณาใหญ่.
ส. ม.
๒๙๙.
กุสโล จ ชหาติ ปาปกํ
.
คนฉลาด ย่อมละบาป.
ที. มหา. ๑๐/๑๕๙. ขุ. อุ. ๒๕/๒๑๕.
๓๐๐.
นยํ นยติ เมธาวี
.
คนมีปัญญา ย่อมแนะนำทางที่ควรแนะนำ.
ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๕๕.
๓๐๑.
อธุรายํ น ยุญฺชติ
.
คนมีปัญญา ย่อมไม่ประกอบในทางอันไม่ใช่ธุระ.
ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๕๕.
๓๐๒.
ธีโร โภเค อธิคมฺม
สงฺคณฺหาติ จ าตเก
.
ปราชญ์ได้โภคทรัพย์แล้ว ย่อมสงเคราะห์ญาติ.
ขุ. ชา. ฉกฺก. ๒๗/๒๐๕.
๓๐๓.
ธีโร จ พลวา สาธุ
ยูถสฺส ปริหารโก
.
ปราชญ์มีกำลังบริหารหมู่ ให้ประโยชน์สำเร็จ.
ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๒๑.
๓๐๔.
น กามกามา ลปยนฺติ สนฺโต
.
สัตบุรุษไม่ปราศรัยเพราะใคร่กาม.
ขุ. ธ. ๒๕/๒๖.
๓๐๕.
สนฺโต น เต เย น วทนฺติ ธมฺมํ
.
ผู้ใดไม่พูดเป็นธรรม ผู้นั้นไม่ใช่สัตบุรุษ.
สํ. ส. ๑๕/๒๗๐.
๓๐๖.
สนฺโต สตฺตหิเต รตา
.
สัตบุรุษยินดีในการเกื้อกูลสัตว์.
ชาตกฏฺกถา ๑/๒๓๐.
๓๐๗.
ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ
หิมวนฺโตว ปพฺพโต
.
สัตบุรุษย่อมปรากฏในที่ไกล เหมือนภูเขาหิมพานต์.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๕.
๓๐๘.
สนฺโต สคฺคปรายนา
.
สัตบุรุษ มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
สํ. ส. ๑๕/๒๗. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๖๔.
๓๐๙.
สพฺพา ทิสา สปฺปุริโส ปวายติ
.
สัตบุรุษ ย่อมขจรไปทั่วทุกทิศ.
องฺ. ติก. ๒๐/๒๙๑. ขุ. ธ. ๒๕/๒๒.
๓๑๐.
อุปสนฺโต สุขํ เสติ
.
ผู้สงบระงับ ย่อมอยู่เป็นสุข.
วิ. จุล. ๗/๑๐๖. สํ. ส. ๑๕/๓๑๒. องฺ. ติก. ๒๐/๑๗๕.
๓๑๑.
สตญฺจ คนฺโธ ปฏิวาตเมติ
.
กลิ่นของสัตบุรุษ ย่อมไปทวนลมได้.
องฺ. ติก. ๒๐/๒๙๑. ขุ. ธ. ๒๕/๒๒.
๓๑๒.
อนุปาทา วิมุจฺจนฺติ
.
สาธุชนย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น.
ม. อุป. ๑๔/๓๔๖. องฺ. ติก. ๒๐/๑๘๐.
๓๑๓.
โย พาโล มญฺติ พาลยํ
ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส
.
คนโง่รู้สึกว่าตนโง่ จะเป็นผู้ฉลาดเพราะเหตุนั้นได้บ้าง.
ขุ. ธ. ๒๕/๒๓.
๓๑๔.
น สาธุ พลวา พาโล
ยูถสฺส ปริหารโก
.
คนโง่มีกำลังบริหารหมู่ ไม่สำเร็จประโยชน์.
ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๒๑.
๓๑๕.
พาโล อปริณายโก
.
คนโง่ ไม่ควรเป็นผู้นำ.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๙.
๓๑๖.
อุชฺฌตฺติพลา พาลา
.
คนโง่ มีความเพ่งโทษเป็นกำลัง.
องฺ. อฏฺก. ๒๓/๒๒๗.
๓๑๗.
อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ
รตฺตึ ขิตฺตา ยถา สรา
.
อสัตบุรุษ แม้นั่งอยู่ในที่นี้เองก็ไม่ปรากฏ
เหมือนลูกศร ที่ยิงไปกลางคืน.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๕.
๓๑๘.
อสนฺโต นิรยํ ยนฺติ
.
อสัตบุรุษ ย่อมไปนรก.
สํ. ส. ๑๕/๒๗. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๖๔.
๓๑๙.
อนยํ นยติ ทุมฺเมโธ
.
คนมีปัญญาทราม ย่อมแนะนำทางที่ไม่ควรแนะนำ.
ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๕๕.
๓๒๐.
อธุรายํ นิยุญฺชติ
.
คนมีปัญญาทราม ย่อมประกอบในทางอันไม่ใช่ธุระ.
ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๕๕.
๓๒๑.
หาเปติ อตฺถํ ทุมฺเมโธ
.
คนมีปัญญาทราม ย่อมพร่าประโยชน์เสีย.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๕.
๓๒๒.
ทุพฺภึ กโรติ ทุมฺเมโธ
.
คนมีปัญญาทราม ย่อมทำความประทุษร้าย.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๑.
๓๒๓.
โจรา โลกสฺมิมพฺพุทา
.
พวกโจร เป็นเสนียดในโลก.
สํ. ส. ๑๕/๖๐.
๓๒๔.
สุวิชาโน ภวํ โหติ
.
ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ.
ขุ. สุ. ๒๕/๓๔๖.
๓๒๕.
ทุวิชาโน ปราภโว
.
ผู้รู้ชั่ว เป็นผู้เสื่อม.
ขุ. สุ. ๒๕/๓๔๖.
๓๒๖.
ธมฺมกาโม ภวํ โหติ
.
ผู้ชอบธรรม เป็นผู้เจริญ.
ขุ. สุ. ๒๕/๓๔๖.
๓๒๗.
ธมฺมเทสฺสี ปราภโว
.
ผู้ชังธรรม เป็นผู้เสื่อม.
ขุ. สุ. ๒๕/๓๔๖.
๓๒๘.
สกฺกตฺวา สกฺกโต โหติ
.
ผู้ทำสักการะ ย่อมได้รับสักการะ.
ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๕๔.
๓๒๙.
ครุ โหติ สคารโว
.
ผู้เคารพ ย่อมมีผู้เคารพ.
ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๕๔.
๓๓๐.
ปูชโก ลภเต ปูชํ
.
ผู้บูชา ย่อมได้รับบูชา.
ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๕๔.
๓๓๑.
วนฺทโก ปฏิวนฺทนํ
.
ผู้ไหว้ ย่อมได้รับไหว้ตอบ.
ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๕๔.
๓๓๒.
ปฏิสงฺขานพลา พหุสฺสุตา
.
ผู้ฟังมาก ต้องพิจารณาเป็นสำคัญ.
องฺ. อฏฺก. ๒๓/๒๒๗.
๓๓๓.
สาธุ สมฺพหุลา าตี
.
มีญาติมาก ๆ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๓.
๓๓๔.
วิสฺสาสปรมา าตี
.
ความคุ้นเคย เป็นญาติอย่างยิ่ง.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.
๓๓๕.
เนกาสี ลภเต สุขํ
.
ผู้กินคนเดียว ไม่ได้ความสุข.
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๗/๓๓๓.
๓๓๖.
นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต
.
คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๕.
๓๓๗.
ปริภูโต มุทุ โหติ
.
คนอ่อนแอ ก็ถูกเขาดูหมิ่น.
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๗/๓๓๙.
๓๓๘.
อติติกฺโข จ เวรวา
.
คนแข็งกระด้าง ก็มีเวร.
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๒/๓๓๙.
๓๓๙.
พหุมฺปิ รตฺโต ภาเสยฺย
.
คนรักแล้ว มักพูดมาก.
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๗/๓๓๙.
๓๔๐.
ทุฏฺโปิ พหุ ภาสยิ
.
คนโกรธแล้ว มักพูดมาก.
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๗/๓๓๙.
๓๔๑.
อนุปาเยน โย อตฺถํ
อิจฺฉติ โส วิหญฺติ
.
ผู้มุ่งประโยชน์โดยไร้อุบาย ย่อมลำบาก.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๖.
๓๔๒.
น อุชุภูตา วิตถํ ภณนฺติ
.
คนตรง ไม่พูดคลาดความจริง.
ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๒๘.
๓๔๓.
ยถาวาที ตถาการี
.
พูดอย่างใด พึงทำอย่างนั้น.
ที. มหา. ๑๐/๒๕๕. ขุ. สุ. ๒๕/๓๙๔.
ขุ. เถร. ๒๖/๔๔๑. ขุ. ชา. จตุตฺก. ๒๗/๑๔๖.
๓๔๔.
หิรินิเสโธ ปุริโส
โกจิ โลกสฺมิ วิชฺชติ
.
มีบางคนในโลกที่ยับยั้งด้วยความอาย.
สํ. ส. ๑๕/๑๑. ขุ. ธ. ๒๕/๓๔.
๓๔๕.
กวิ คาถานมาสโย
.
กวีเป็นที่อาศัยแห่งคาถาทั้งหลาย.
สํ. ส. ๑๕/๕๒.
๓๔๖.
พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร
.
มารดาบิดา ท่านว่าเป็นพรหม (ของบุตร).
องฺ. ติก. ๒๐/๑๖๘. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๙๒. ขุ. อิติ. ๒๕/๓๑๔.
๓๔๗.
ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร
.
มารดาบิดา ท่านว่าเป็นบุรพาจารย์ (ของบุตร).
องฺ. ติก. ๒๐/๑๖๘. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๙๒. ขุ. อิติ. ๒๕/๓๑๔.
๓๔๘.
อาหุเนยฺยา จ ปุตฺตานํ
.
มารดาบิดา เป็นที่นับถือของบุตร.
องฺ. ติก. ๒๐/๑๖๘. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๙๒. ขุ. อิติ. ๒๕/๓๑๔.
๓๔๙.
อิตฺถี มลํ พฺรหฺมจริยสฺส
.
สตรีเป็นมลทินของพรหมจรรย์.
สํ. ส. ๑๕/๕๒, ๕๙.
๓๕๐.
อิตฺถี ภณฺฑานมุตฺตมํ
.
สตรีเป็นสูงสุดแห่งสิ่งของทั้งหลาย.
สํ. ส. ๑๕/๖๐.
๓๕๑.
ภตฺตญฺจ ครุโน สพฺเพ
ปฏิปูเชนฺติ ปณฺฑิตา
.
ภริยาผู้ฉลาด ย่อมนับถือสามีและคนควรเคารพทั้งปวง.
องฺ. อฏฺก. ๒๓/๒๗๓.
๓๕๒.
ภตฺตา ปญฺาณมิตฺถิยา
.
สามีเป็นเครื่องปรากฏของสตรี.
สํ. ส. ๑๕/๕๗.
๓๕๓.
สุสฺสูสา เสฏฺา ภริยานํ
.
บรรดาภริยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ.
สํ. ส. ๑๕/๑๐.
๓๕๔.
โย จ ปุตฺตานมสฺสโว
.
บรรดาบุตรทั้งหลาย บุตรผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ.
สํ. ส. ๑๕/๑๐.
๓๕๕.
ปุตฺตา วตฺถุ มนุสฺสานํ
.
บุตรทั้งหลายเป็นที่ตั้งของมนุษย์ทั้งหลาย.
สํ. ส. ๑๕/๕๑.
๓๕๖.
ผาตึ กยิรา อวิเหยํ ปรํ
.
ควรทำแต่ความเจริญ. อย่าเบียดเบียนเขา.
ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๑๒.
๓๕๗.
คุณวา จาตฺตโน คุณํ
.
ผู้มีความดี จงรักษาความดีของตนไว้.
ส. ส.
๓๕๘.
รกฺเขยฺยานาคตํ ภยํ
.
พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง.
ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๓๖.
พุทธศาสนสุภาษิต
๑. หมวดตน
๒. หมวดไม่ประมาท
๓. หมวดกรรม
๔. หมวดกิเลส
๕. หมวดโกรธ
๖. หมวดอดทน
๗. หมวดจิต
๘. หมวดชนะ
๙. หมวดทาน
๑๐. หมวดทุกข์
๑๑. หมวดธรรม
๑๒. หมวดเบ็ดเตล็ด
๑๓. หมวดปัญญา
๑๔. หมวดประมาท
๑๕. หมวดบาป
๑๖. หมวดบุคคล
๑๗. หมวดบุญ
๑๘. หมวดมฤตยู
๑๙. หมวดมิตร
๒๐. หมวดขอ
๒๑. หมวดพระราชา
๒๒. หมวดวาจา
๒๓. หมวดความเพียร
๒๔. หมวดเวร
๒๕. หมวดความสัตย์
๒๖. หมวดสติ
๒๗. หมวดศรัทธา
๒๘. หมวดสันโดษ
๒๙. หมวดสมณะ
๓๐. หมวดสามัคคี
๓๑. หมวดศีล
๓๒. หมวดสุข
๓๓. หมวดคบหา
๓๔. นามคัมภีร์