จิตตวรรค คือ หมวดจิต
๑๑๗.
จิตฺเต สงฺกิลิฏเ
ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา
.
เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง.
ม. มู. ๑๒/๖๔.
๑๑๘.
จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเ
สุคติ ปาฏิกงฺขา
.
เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้.
ม. มู. ๑๒/๖๔.
๑๑๙.
จิตฺเตน นียติ โลโก
.
โลกอันจิตย่อมนำไป.
สํ. ส. ๑๕/๕๔.
๑๒๐.
จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ
.
การฝึกจิตเป็นความดี.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.
๑๒๑.
จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ
.
จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.
๑๒๒.
จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ
.
จิตที่คุ้มครองแล้ว นำสุขมาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.
๑๒๓.
วิหญฺตี จิตฺตวสานุวตฺตี
.
ผู้ประพฤติตามอำนาจจิต ย่อมลำบาก.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๙๐.
๑๒๔.
จิตฺตํ อตฺตโน อุชุกมกํสุ
.
คนฉลาดได้ทำจิตของตนให้ซื่อตรง.
ที. มหา. ๑๐/๒๘๘.
๑๒๕.
สจิตฺตปริยายกุสลา ภเวยฺ
ยฃ
.
พึงเป็นผู้ฉลาดในกระบวนจิตของตน.
นัย-องฺ. ทสก. ๒๔/๑๐๐.
๑๒๖.
เตลปตฺตํ ยถา ปริหเรยฺย
เอวํ สจิตฺตมนุรกฺเข
.
พึงรักษาจิตของตน. เหมือนคนประคองบาตรเต็มด้วยน้ำมัน.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๑.
๑๒๗.
สจิตฺตมนุรกฺขถ
.
จงตามรักษาจิตของตน.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๘.
๑๒๘.
จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี
.
ผู้มีปัญญาพึงรักษาจิต.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.
๑๒๙.
ยโต ยโต จ ปาปกํ
ตโต ตโต มโน นิวารเย
.
ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ.
สํ. ส. ๑๕/๒๐.
พุทธศาสนสุภาษิต
๑. หมวดตน
๒. หมวดไม่ประมาท
๓. หมวดกรรม
๔. หมวดกิเลส
๕. หมวดโกรธ
๖. หมวดอดทน
๗. หมวดจิต
๘. หมวดชนะ
๙. หมวดทาน
๑๐. หมวดทุกข์
๑๑. หมวดธรรม
๑๒. หมวดเบ็ดเตล็ด
๑๓. หมวดปัญญา
๑๔. หมวดประมาท
๑๕. หมวดบาป
๑๖. หมวดบุคคล
๑๗. หมวดบุญ
๑๘. หมวดมฤตยู
๑๙. หมวดมิตร
๒๐. หมวดขอ
๒๑. หมวดพระราชา
๒๒. หมวดวาจา
๒๓. หมวดความเพียร
๒๔. หมวดเวร
๒๕. หมวดความสัตย์
๒๖. หมวดสติ
๒๗. หมวดศรัทธา
๒๘. หมวดสันโดษ
๒๙. หมวดสมณะ
๓๐. หมวดสามัคคี
๓๑. หมวดศีล
๓๒. หมวดสุข
๓๓. หมวดคบหา
๓๔. นามคัมภีร์