ปาปวรรค คือ หมวดบาป
๒๗๖.
มาลา เว ปาปกา ธมฺมา
อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ
.
บาปธรรมเป็นมลทินแท้ ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกอื่น.
องฺ. อฏฺก. ๒๓/๑๙๘. ขุ. ธ. ๒๕/๔๗.
๒๗๗.
ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย
.
ความสั่งสมบาป นำทุกข์มาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๐.
๒๗๘.
ปาปานํ อกรณํ สุขํ
.
การไม่ทำบาป นำสุขมาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.
๒๗๙.
ปาปํ ปาเปน สุกรํ
.
ความชั่วอันคนชั่วทำง่าย.
วิ.จุล. ๗/๑๙๕. ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๘.
๒๘๐.
ปาเป น รมตี สุจิ
.
คนสะอาดไม่ยินดีในความชั่ว.
วิ. มหา. ๕/๓๔. ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๖.
๒๘๑.
สกมฺมุนา หญฺติ ปาปธมฺโม
.
คนมีสันดานชั่ว ย่อมลำบากเพราะกรรมของตน.
ม. ม. ๑๓๔๑๓. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๙.
๒๘๒.
ตปสา ปชหนฺติ ปาปกมฺมํ
.
สาธุชนย่อมละบาปกรรมด้วยตปะ.
ขุ. ชา. อฏฺก. ๒๗/๒๔๕.
๒๘๓.
ปาปานิ กมฺมานิ กโรนฺติ โมหา
.
คนมักทำบาปกรรมเพราะความหลง.
ม. ม. ๑๓/๔๑๓. ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ๒๗/๓๘๐.
๒๘๔.
นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต
.
บาปไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๑.
๒๘๕.
ธมฺมํ เม ภณมานสฺส
น ปาปมุปลิมฺปติ
.
เมื่อเรากล่าวธรรมอยู่ บาปย่อมไม่แปดเปื้อน.
ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๒๔.
๒๘๖.
นตฺถิ อการิยํ ปาปํ
มุสาวาทิสฺส ชนฺตุโน
.
คนมักพูดมุสา จะไม่พึงทำความชั่ว ย่อมไม่มี.
นัย- ขุ. ธ. ๒๕/๓๘. นัย. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๔๓.
๒๘๗.
ปาปานิ ปริวชฺชเย
.
พึงละเว้นบาปทั้งหลาย.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๑.
๒๘๘.
น ฆาสเหตุปิ กเรยฺย ปาปํ
.
ไม่ควรทำบาปเพราะเห็นแก่กิน.
นัย- ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๒๖๒.
พุทธศาสนสุภาษิต
๑. หมวดตน
๒. หมวดไม่ประมาท
๓. หมวดกรรม
๔. หมวดกิเลส
๕. หมวดโกรธ
๖. หมวดอดทน
๗. หมวดจิต
๘. หมวดชนะ
๙. หมวดทาน
๑๐. หมวดทุกข์
๑๑. หมวดธรรม
๑๒. หมวดเบ็ดเตล็ด
๑๓. หมวดปัญญา
๑๔. หมวดประมาท
๑๕. หมวดบาป
๑๖. หมวดบุคคล
๑๗. หมวดบุญ
๑๘. หมวดมฤตยู
๑๙. หมวดมิตร
๒๐. หมวดขอ
๒๑. หมวดพระราชา
๒๒. หมวดวาจา
๒๓. หมวดความเพียร
๒๔. หมวดเวร
๒๕. หมวดความสัตย์
๒๖. หมวดสติ
๒๗. หมวดศรัทธา
๒๘. หมวดสันโดษ
๒๙. หมวดสมณะ
๓๐. หมวดสามัคคี
๓๑. หมวดศีล
๓๒. หมวดสุข
๓๓. หมวดคบหา
๓๔. นามคัมภีร์