วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๓๙๘. หทยสฺส  สทิสี  วาจา.
  วาจาเช่นเดียวกับใจ.
  ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๓๘.
๓๙๙. โมกฺโข  กลฺยาณิยา  สาธุ.
  เปล่งวาจางาม  ยังประโยชน์ให้สำเร็จ.
  ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๘.
๔๐๐. มุตฺวา  ตปฺปติ  ปาปิกํ.
  คนเปล่งวาจาชั่ว  ย่อมเดือดร้อน.
  ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๘.
๔๐๑. ทุฏฺสฺส  ผรุสา  วาจา.
  คนโกรธมีวาจาหยาบ.
  ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๗๓.
๔๐๒. อภูตวาที  นิรยํ  อุเปติ.
  คนพูดไม่จริง  ย่อมเข้าถึงนรก.
  ขุ. ธ. ๒๕/๕๕.
๔๐๓. สํโวหาเรน  โสเจยฺยํ  เวทิตพฺพํ.
  ความสะอาด  พึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ.
  นัย-ขุ. อุ. ๒๕/๑๗๘.
๔๐๔. วาจํ  มุญฺเจยฺย  กลฺยาณึ.
  ควรเปล่งวาจางาม.
  สํ. ส. ๑๕/๖๐.
๔๐๕. สณฺหํ  คิรํ  อตฺถวตึ  ปมุญฺเจ.
  ควรเปล่งวาจาไพเราะที่มีประโยชน์.
  ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๕๐.
๔๐๖. ตเมว  วาจํ  ภาเสยฺย    ยายตฺตานํ  น  ตาปเย.
  ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน.
  สํ. ส. ๑๕/๒๗๘.  ขุ. สุ. ๒๕/๔๑๑.
๔๐๗. มนุญฺเมว  ภาเสยฺย.
  ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจ.
  ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๐.
๔๐๘. นามนุญฺํ  กุทาจนํ.
  ในกาลไหน ๆ  ก็ไม่ควรกล่าววาจาไม่น่าพอใจ.
  ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๐.
๔๐๙. วาจํ  ปมุญฺเจ  กุสลํ  นาติเวลํ.
  ไม่ควรเปล่งวาจาที่ดี  ให้เกินกาล.
  ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๐.  ขุ. สุ. ๒๕/๕๒๓.
ขุ. มหา. ๒๙/๖๒๒.
๔๑๐. น  หิ  มุญฺเจยฺย  ปาปิกํ.
  ไม่ควรเปล่งวาจาชั่วเลย.
  ขุ. ชา. ๒๗/๒๘.
   
พุทธศาสนสุภาษิต