โกธวรรค คือ หมวดโกรธ
๘๐.   น  หิ  สาธุ  โกโธ.
        ความโกรธไม่ดีเลย.
        ขุ. ชา. ฉกฺก. ๒๗/๑๘๘.

๘๑.  โกโธ  สตฺถมลํ  โลเก.
        ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก.
        สํ. ส. ๑๕/๖๐.

๘๒.   อนตฺถชนโน  โกโธ.
        ความโกรธก่อความพินาศ.
        องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

๘๓.  โกโธ จิตฺตปฺปโกปโน.
        ความโกรธทำจิตให้กำเริบ.
        องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

๘๔.   อนฺธตมํ  ตทา  โหติ  ยํ    โกโธ  สหเต  นรํ.
        ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด  ความมืดมนย่อมมี
        เมื่อนั้น.
        องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.  ขุ. มหา. ๒๙/๑๘.

๘๕.  อปฺโป  หุตฺวา  พหุ  โหติ  วฑฺฒเต  โส  อขนฺติโช.
        ความโกรธน้อยแล้วมาก  มันเกิดจากความไม่อดทน
        จึงทวีขึ้น.
        ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๗๓.

๘๖.   โกโธ  ทุมฺเมธโคจโร.
        ความโกรธเป็นอารมณ์ของคนมีปัญญาทราม.
        ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๘๐.

๘๗.   โทโส  โกธสมุฏฺาโน.
        โทสะมีความโกรธเป็นสมุฏฐาน.
        ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๗๓.

๘๘.   นตฺถิ  โทสสโม  คโห.
        ผู้จับเสมอด้วยโทสะ  ไม่มี.
        ขุ. ธ. ๒๕/๔๘.

๘๙.   นตฺถิ  โทสสโม  กลิ.
        ความผิดเสมอด้วยโทสะไม่มี.
        ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๙๐.   โกธํ  ฆตฺวา  สุขํ  เสติ.
        ฆ่าความโกรธได้  อยู่เป็นสุข.
        สํ. ส. ๑๕/๕๗, ๖๔.

๙๑.   โกธํ  ฆตฺวา  น  โสจติ.
        ฆ่าความโกรธได้  ไม่เศร้าโศก.
        สํ. ส. ๑๕/๕๗, ๖๔.

๙๒.   โกธาภิภูโต  กุสลํ  ชหาติ.
        ผู้ถูกความโกรธครอบงำ  ย่อมละกุศลเสีย.
        นัย. ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๘๖.

๙๓.   โกธโน  ทุพฺพณฺโณ  โหติ. 
        คนมักโกรธ  ย่อมมีผิวพรรณเศร้าหมอง.
        องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๘.

๙๔.   ทุกฺขํ  สยติ  โกธโน.
        คนมักโกรธ  ย่อมอยู่เป็นทุกข์.
        นัย. องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๘.

๙๕.   อโถ  อตฺถํ  คเหตฺวาน    อนตฺถํ  ปฏิปชฺชติ.
        คนมักโกรธถือเอาประโยชน์แล้ว  กลับประพฤติ
        ไม่เป็นประโยชน์.
        องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๘.

๙๖.  โกธาภิภูโต  ปุริโส    ธนชานึ  นิคจฺฉติ.
        ผู้ถูกความโกรธครอบงำ  ย่อมถึงความเสื่อมทรัพย์.
        องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๘.

๙๗.  โกธสมฺมทสมฺมตฺโต    อายสกฺยํ  นิคจฺฉติ.
        ผู้เมามึนด้วยความโกรธ  ย่อมถึงความไร้ยศศักดิ์.
        องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๘.

๙๘.   าติมิตฺตา  สุหชฺชา  จ    ปริวชฺเชนฺติ  โกธนํ.
        ญาติมิตรและสหาย  ย่อมหลีกเลี่ยงคนมักโกรธ.
        องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

๙๙.   กุทฺโธ  อตฺถํ  น  ชานาติ. 
        ผู้โกรธ  ย่อมไม่รู้อรรถ.
        องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

๑๐๐.  กุทฺโธ  ธมฺมํ  น  ปสฺสติ.
        ผู้โกรธ  ย่อมไม่เห็นธรรม.
        องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

๑๐๑.  ยํ  กุทฺโธ  อุปโรเธติ    สุกรํ  วิย  ทุกฺกรํ.
        ผู้โกรธจะผลาญสิ่งใด  สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย.
        องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

๑๐๒. ปจฺฉา  โส  วิคเต  โกเธ    อคฺคิทฑฺโฒว  ตปฺปติ.
        ภายหลัง  เมื่อความโกรธหายแล้ว  เขาย่อมเดือดร้อน
        เหมือนถูกไฟไหม้.
องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

๑๐๓. โกเธน  อภิภูตสฺส    น  ทีปํ  โหติ  กิญฺจินํ.
        ผู้ถูกความโกรธครอบงำ  ย่อมไม่มีที่พำนักสักนิดเดียว.
        องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

๑๐๔. หนฺติ  กุทฺโธ  สมาตรํ.
        ผู้โกรธ  ย่อมฆ่ามารดาของตนได้.
        องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

๑๐๕. โกธชาโต  ปราภโว.  
        ผู้เกิดความโกรธแล้ว  เป็นผู้ฉิบหาย.
        องฺ. สตฺตก. ๒๓/๑๐๐.

๑๐๖. โกธํ  ทเมน  อุจฺฉินฺเท.
        พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ.
        นัย- องฺ. สตฺตก. ๒๓/๑๐๐.

๑๐๗. โกธํ  ปญฺาย  อุจฺฉินฺเท.
        พึงตัดความโกรธด้วยปัญญา.
        นัย-องฺ. สตฺตก. ๒๓/๑๐๐.

๑๐๘. มา  โกธสฺส  วสํ  คมิ.
        อย่าลุอำนาจความโกรธ.
        ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๖๙.
พุทธศาสนสุภาษิต