|
อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท |
๒๙. อปฺปมาโท อมตํปทํ.
ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/๕๒๔.
๓๐. อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏํว รกฺขติ.
ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย
์ ประเสริฐสุด.
ม. ม. ๑๓/๔๘๘. สํ. ส. ๑๕/๓๖. ขุ. ธ. ๒๕/๑๘.
ขุ. เถร. ๒๖/๓๙๐.
๓๑. อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ.
บัณฑิตย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท.
สํ. ส. ๑๕/๑๒๖. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๓.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.
ขุ. อิติ. ๒๕/๒๔๒.
๓๒. อปฺปมาเท ปโมทนฺติ.
บัณฑิตย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๘.
๓๓. อปฺปมตฺตา น มียนฺติ.
ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/๕๒๔.
๓๔. อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ.
ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์.
ม. ม. ๑๓/๔๘๘. สํ. ส. ๑๕/๓๖. ขุ. ธ. ๒๕/๑๘.
ขุ. เถร. ๒๖/๓๙๐.
๓๕. อปฺปมตฺโต อุโภ อตฺเถ อธิคฺคณหาติ ปณฺฑิโต.
บัณฑิตผู้ไม่ประมาท ย่อมได้รับประโยชน์ทั้งสอง.
สํ. ส. ๑๕/๑๒๖. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๓.
ขุ. อิติ. ๒๕/๒๔๒.
๓๖. อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ.
ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม.
ที. มหา. ๑๐/๑๘๐. สํ. ส. ๑๕/๒๓๑.
๓๗. อปฺปมาทรตา โหถ.
ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๘.
|
|