|
๑๓๐. ชยํ เวรํ ปสวติ.
ผู้ชนะ ย่อมก่อเวร.
สํ. ส. ๑๕/๑๒๒. ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.
๑๓๑. สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ.
การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๓.
๑๓๒. สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ.
รสแห่งธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๓.
๑๓๓. สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ.
ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๓.
๑๓๔. ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ.
ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกทั้งปวง.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๓.
๑๓๕. น ตํ ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ อวชิยฺยติ.
ความชนะใดที่ชนะแล้วกลับแพ้ได้ ความชนะนั้นไม่ดี.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๒.
๑๓๖. ตํ โข ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ นาวชิยฺยติ.
ความชนะใดที่ชนะแล้วไม่กลับแพ้ ความชนะนั้นดี.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๒.
๑๓๗. อกฺโกเธน ชิเน โกธํ.
พึงชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๕. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๐.
๑๓๘. อสาธุํ สาธุนา ชิเน.
พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๕. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๐.
๑๓๙. ชิเน กทริยํ ทาเนน.
พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๕. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๐.
๑๔๐. สจฺเจนาลิกวาทินํ.
พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๕. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๐.
|
|