|
๒๘๙. สาธุ โข ปณฺฑิโต นาม.
ชื่อว่าบัณฑิตย่อมทำประโยชน์ให้สำเร็จได้แล.
อ. ส. ๑๕/๓๐๙. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๒.
๒๙๐. ปณฺฑิโต สีลสมฺปนฺโน ชลํ อคฺคีว ภาสติ.
บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองเหมือนไฟสว่าง.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๒.
๒๙๑. อนตฺถํ ปริวชฺเชติ อตฺถํ คณฺหาติ ปณฺฑิโต.
บัณฑิตย่อมเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ถือเอาแต่สิ่งที่
เป็นประโยชน์.
องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๕๙.
๒๙๒. อินฺทฺริยานิ รกฺขนิติ ปณฺฑิตา.
บัณฑิตย่อมรักษาอินทรีย์.
ที. มหา. ๑๐/๒๘๘. สํ. ส. ๑๕/๓๗.
๒๙๓. น อุจฺจาวจํ ปณฺฑิตา ทสฺสยนฺติ.
บัณฑิตย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลง.
ขุ. ธ. ๒๕/๒๖.
๒๙๔. นิชฺฌตฺติพลา ปณฺฑิตา.
บัณฑิตมีความไม่เพ่งโทษเป็นกำลัง.
องฺ. อฏฺก. ๒๓/๒๒๗.
๒๙๕. ทุลฺลโภ ปุริสาชญฺโ.
บุรุษอาชาไนย หาได้ยาก.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๑.
๒๙๖. ทุลฺลโภ องฺคสมฺปนฺโน.
ผู้ถึงพร้อมด้วยองค์คุณ หาได้ยาก.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๕.
๒๙๗. ทนฺโต เสฏฺโ มนุสฺเสสุ.
ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๗. ขุ. มหา. ๒๙/๒๙๑.
ขุ. จู. ๓๐/๗๔.
๒๙๘. มหาการุณิโก นาโถ.
ท่านผู้เป็นที่พึ่ง ประกอบด้วยกรุณาใหญ่.
ส. ม.
๒๙๙. กุสโล จ ชหาติ ปาปกํ.
คนฉลาด ย่อมละบาป.
ที. มหา. ๑๐/๑๕๙. ขุ. อุ. ๒๕/๒๑๕.
๓๐๐. นยํ นยติ เมธาวี.
คนมีปัญญา ย่อมแนะนำทางที่ควรแนะนำ.
ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๕๕.
๓๐๑. อธุรายํ น ยุญฺชติ.
คนมีปัญญา ย่อมไม่ประกอบในทางอันไม่ใช่ธุระ.
ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๕๕.
๓๐๒. ธีโร โภเค อธิคมฺม สงฺคณฺหาติ จ าตเก.
ปราชญ์ได้โภคทรัพย์แล้ว ย่อมสงเคราะห์ญาติ.
ขุ. ชา. ฉกฺก. ๒๗/๒๐๕.
๓๐๓. ธีโร จ พลวา สาธุ ยูถสฺส ปริหารโก.
ปราชญ์มีกำลังบริหารหมู่ ให้ประโยชน์สำเร็จ.
ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๒๑.
๓๐๔. น กามกามา ลปยนฺติ สนฺโต.
สัตบุรุษไม่ปราศรัยเพราะใคร่กาม.
ขุ. ธ. ๒๕/๒๖.
๓๐๕. สนฺโต น เต เย น วทนฺติ ธมฺมํ.
ผู้ใดไม่พูดเป็นธรรม ผู้นั้นไม่ใช่สัตบุรุษ.
สํ. ส. ๑๕/๒๗๐.
๓๐๖. สนฺโต สตฺตหิเต รตา.
สัตบุรุษยินดีในการเกื้อกูลสัตว์.
ชาตกฏฺกถา ๑/๒๓๐.
๓๐๗. ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ หิมวนฺโตว ปพฺพโต.
สัตบุรุษย่อมปรากฏในที่ไกล เหมือนภูเขาหิมพานต์.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๕.
๓๐๘. สนฺโต สคฺคปรายนา.
สัตบุรุษ มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
สํ. ส. ๑๕/๒๗. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๖๔.
๓๐๙. สพฺพา ทิสา สปฺปุริโส ปวายติ.
สัตบุรุษ ย่อมขจรไปทั่วทุกทิศ.
องฺ. ติก. ๒๐/๒๙๑. ขุ. ธ. ๒๕/๒๒.
๓๑๐. อุปสนฺโต สุขํ เสติ.
ผู้สงบระงับ ย่อมอยู่เป็นสุข.
วิ. จุล. ๗/๑๐๖. สํ. ส. ๑๕/๓๑๒. องฺ. ติก. ๒๐/๑๗๕.
๓๑๑. สตญฺจ คนฺโธ ปฏิวาตเมติ.
กลิ่นของสัตบุรุษ ย่อมไปทวนลมได้.
องฺ. ติก. ๒๐/๒๙๑. ขุ. ธ. ๒๕/๒๒.
๓๑๒. อนุปาทา วิมุจฺจนฺติ.
สาธุชนย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น.
ม. อุป. ๑๔/๓๔๖. องฺ. ติก. ๒๐/๑๘๐.
๓๑๓. โย พาโล มญฺติ พาลยํ ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส.
คนโง่รู้สึกว่าตนโง่ จะเป็นผู้ฉลาดเพราะเหตุนั้นได้บ้าง.
ขุ. ธ. ๒๕/๒๓.
๓๑๔. น สาธุ พลวา พาโล ยูถสฺส ปริหารโก.
คนโง่มีกำลังบริหารหมู่ ไม่สำเร็จประโยชน์.
ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๒๑.
๓๑๕. พาโล อปริณายโก.
คนโง่ ไม่ควรเป็นผู้นำ.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๙.
๓๑๖. อุชฺฌตฺติพลา พาลา.
คนโง่ มีความเพ่งโทษเป็นกำลัง.
องฺ. อฏฺก. ๒๓/๒๒๗.
๓๑๗. อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ รตฺตึ ขิตฺตา ยถา สรา.
อสัตบุรุษ แม้นั่งอยู่ในที่นี้เองก็ไม่ปรากฏ เหมือนลูกศร
ที่ยิงไปกลางคืน.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๕.
๓๑๘. อสนฺโต นิรยํ ยนฺติ.
อสัตบุรุษ ย่อมไปนรก.
สํ. ส. ๑๕/๒๗. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๖๔.
๓๑๙. อนยํ นยติ ทุมฺเมโธ.
คนมีปัญญาทราม ย่อมแนะนำทางที่ไม่ควรแนะนำ.
ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๕๕.
๓๒๐. อธุรายํ นิยุญฺชติ.
คนมีปัญญาทราม ย่อมประกอบในทางอันไม่ใช่ธุระ.
ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๕๕.
๓๒๑. หาเปติ อตฺถํ ทุมฺเมโธ.
คนมีปัญญาทราม ย่อมพร่าประโยชน์เสีย.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๕.
๓๒๒. ทุพฺภึ กโรติ ทุมฺเมโธ.
คนมีปัญญาทราม ย่อมทำความประทุษร้าย.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๑.
๓๒๓. โจรา โลกสฺมิมพฺพุทา.
พวกโจร เป็นเสนียดในโลก.
สํ. ส. ๑๕/๖๐.
๓๒๔. สุวิชาโน ภวํ โหติ.
ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ.
ขุ. สุ. ๒๕/๓๔๖.
๓๒๕. ทุวิชาโน ปราภโว.
ผู้รู้ชั่ว เป็นผู้เสื่อม.
ขุ. สุ. ๒๕/๓๔๖.
๓๒๖. ธมฺมกาโม ภวํ โหติ.
ผู้ชอบธรรม เป็นผู้เจริญ.
ขุ. สุ. ๒๕/๓๔๖.
๓๒๗. ธมฺมเทสฺสี ปราภโว.
ผู้ชังธรรม เป็นผู้เสื่อม.
ขุ. สุ. ๒๕/๓๔๖.
๓๒๘. สกฺกตฺวา สกฺกโต โหติ.
ผู้ทำสักการะ ย่อมได้รับสักการะ.
ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๕๔.
๓๒๙. ครุ โหติ สคารโว.
ผู้เคารพ ย่อมมีผู้เคารพ.
ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๕๔.
๓๓๐. ปูชโก ลภเต ปูชํ.
ผู้บูชา ย่อมได้รับบูชา.
ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๕๔.
๓๓๑. วนฺทโก ปฏิวนฺทนํ.
ผู้ไหว้ ย่อมได้รับไหว้ตอบ.
ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๕๔.
๓๓๒. ปฏิสงฺขานพลา พหุสฺสุตา.
ผู้ฟังมาก ต้องพิจารณาเป็นสำคัญ.
องฺ. อฏฺก. ๒๓/๒๒๗.
๓๓๓. สาธุ สมฺพหุลา าตี.
มีญาติมาก ๆ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๓.
๓๓๔. วิสฺสาสปรมา าตี.
ความคุ้นเคย เป็นญาติอย่างยิ่ง.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.
๓๓๕. เนกาสี ลภเต สุขํ.
ผู้กินคนเดียว ไม่ได้ความสุข.
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๗/๓๓๓.
๓๓๖. นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต.
คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๕.
๓๓๗. ปริภูโต มุทุ โหติ.
คนอ่อนแอ ก็ถูกเขาดูหมิ่น.
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๗/๓๓๙.
๓๓๘. อติติกฺโข จ เวรวา.
คนแข็งกระด้าง ก็มีเวร.
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๒/๓๓๙.
๓๓๙. พหุมฺปิ รตฺโต ภาเสยฺย.
คนรักแล้ว มักพูดมาก.
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๗/๓๓๙.
๓๔๐. ทุฏฺโปิ พหุ ภาสยิ.
คนโกรธแล้ว มักพูดมาก.
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๗/๓๓๙.
๓๔๑. อนุปาเยน โย อตฺถํ อิจฺฉติ โส วิหญฺติ.
ผู้มุ่งประโยชน์โดยไร้อุบาย ย่อมลำบาก.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๖.
๓๔๒. น อุชุภูตา วิตถํ ภณนฺติ.
คนตรง ไม่พูดคลาดความจริง.
ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๒๘.
๓๔๓. ยถาวาที ตถาการี.
พูดอย่างใด พึงทำอย่างนั้น.
ที. มหา. ๑๐/๒๕๕. ขุ. สุ. ๒๕/๓๙๔.
ขุ. เถร. ๒๖/๔๔๑. ขุ. ชา. จตุตฺก. ๒๗/๑๔๖.
๓๔๔. หิรินิเสโธ ปุริโส โกจิ โลกสฺมิ วิชฺชติ.
มีบางคนในโลกที่ยับยั้งด้วยความอาย.
สํ. ส. ๑๕/๑๑. ขุ. ธ. ๒๕/๓๔.
๓๔๕. กวิ คาถานมาสโย.
กวีเป็นที่อาศัยแห่งคาถาทั้งหลาย.
สํ. ส. ๑๕/๕๒.
๓๔๖. พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร.
มารดาบิดา ท่านว่าเป็นพรหม (ของบุตร).
องฺ. ติก. ๒๐/๑๖๘. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๙๒.
ขุ. อิติ. ๒๕/๓๑๔.
๓๔๗. ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร.
มารดาบิดา ท่านว่าเป็นบุรพาจารย์ (ของบุตร).
องฺ. ติก. ๒๐/๑๖๘. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๙๒.
ขุ. อิติ. ๒๕/๓๑๔.
๓๔๘. อาหุเนยฺยา จ ปุตฺตานํ.
มารดาบิดา เป็นที่นับถือของบุตร.
องฺ. ติก. ๒๐/๑๖๘. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๙๒.
ขุ. อิติ. ๒๕/๓๑๔.
๓๔๙. อิตฺถี มลํ พฺรหฺมจริยสฺส.
สตรีเป็นมลทินของพรหมจรรย์.
สํ. ส. ๑๕/๕๒, ๕๙.
๓๕๐. อิตฺถี ภณฺฑานมุตฺตมํ.
สตรีเป็นสูงสุดแห่งสิ่งของทั้งหลาย.
สํ. ส. ๑๕/๖๐.
๓๕๑. ภตฺตญฺจ ครุโน สพฺเพ ปฏิปูเชนฺติ ปณฺฑิตา.
ภริยาผู้ฉลาด ย่อมนับถือสามีและคนควรเคารพทั้งปวง.
องฺ. อฏฺก. ๒๓/๒๗๓.
๓๕๒. ภตฺตา ปญฺาณมิตฺถิยา.
สามีเป็นเครื่องปรากฏของสตรี.
สํ. ส. ๑๕/๕๗.
๓๕๓. สุสฺสูสา เสฏฺา ภริยานํ.
บรรดาภริยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ.
สํ. ส. ๑๕/๑๐.
๓๕๔. โย จ ปุตฺตานมสฺสโว.
บรรดาบุตรทั้งหลาย บุตรผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ.
สํ. ส. ๑๕/๑๐.
๓๕๕. ปุตฺตา วตฺถุ มนุสฺสานํ.
บุตรทั้งหลายเป็นที่ตั้งของมนุษย์ทั้งหลาย.
สํ. ส. ๑๕/๕๑.
๓๕๖. ผาตึ กยิรา อวิเหยํ ปรํ.
ควรทำแต่ความเจริญ. อย่าเบียดเบียนเขา.
ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๑๒.
๓๕๗. คุณวา จาตฺตโน คุณํ.
ผู้มีความดี จงรักษาความดีของตนไว้.
ส. ส.
๓๕๘. รกฺเขยฺยานาคตํ ภยํ.
พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง.
ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๓๖.
|
|