|
๑๑๗. จิตฺเต สงฺกิลิฏเ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา.
เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง.
ม. มู. ๑๒/๖๔.
๑๑๘. จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเ สุคติ ปาฏิกงฺขา.
เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้.
ม. มู. ๑๒/๖๔.
๑๑๙. จิตฺเตน นียติ โลโก.
โลกอันจิตย่อมนำไป.
สํ. ส. ๑๕/๕๔.
๑๒๐. จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ.
การฝึกจิตเป็นความดี.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.
๑๒๑. จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ.
จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.
๑๒๒. จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ.
จิตที่คุ้มครองแล้ว นำสุขมาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.
๑๒๓. วิหญฺตี จิตฺตวสานุวตฺตี.
ผู้ประพฤติตามอำนาจจิต ย่อมลำบาก.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๙๐.
๑๒๔. จิตฺตํ อตฺตโน อุชุกมกํสุ.
คนฉลาดได้ทำจิตของตนให้ซื่อตรง.
ที. มหา. ๑๐/๒๘๘.
๑๒๕. สจิตฺตปริยายกุสลา ภเวยฺยุํ.
พึงเป็นผู้ฉลาดในกระบวนจิตของตน.
นัย-องฺ. ทสก. ๒๔/๑๐๐.
๑๒๖. เตลปตฺตํ ยถา ปริหเรยฺย เอวํ สจิตฺตมนุรกฺเข.
พึงรักษาจิตของตน. เหมือนคนประคองบาตรเต็ม
ด้วยน้ำมัน.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๑.
๑๒๗. สจิตฺตมนุรกฺขถ.
จงตามรักษาจิตของตน.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๘.
๑๒๘. จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี.
ผู้มีปัญญาพึงรักษาจิต.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.
๑๒๙. ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย.
ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ.
สํ. ส. ๑๕/๒๐.
|
|