๒๑๑. อุทฺธโต  จปโล  ภิกฺขุ   มิตฺเต  อาคมฺม  ปาปเก
สํสีทติ  มโหฆสฺมึ  อุมฺมิยา  ปฏิกุชฺชิโต.
ภิกษุผู้ฟุ้งซ่าน  คลอนแคลน  อาศัยมิตรชั่ว  ถูกคลื่นซัด
ย่อมจมลงในน่านน้ำใหญ่.
( อญฺาโกณฺฑญฺเถร ) ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๖๖.
๒๑๒. ธมฺมกาโม  สุตาธาโร  ภเวยฺย  ปริปุจฺฉโก
สกฺกจฺจํ  ปยิรุปาเสยฺย  สีลวนฺเต  พหุสฺสุเต.
พึงเป็นผู้ใคร่ธรรม  ทรงไว้ซึ่งสุตะ  เป็นผู้สอบถาม  เข้าไปนั่ง
ใกล้ผู้มีศีลและเป็นพหุสูตโดยเคารพ.
( พุทฺธ )  ขุ.  ชา. มหา.  ๒๘/๓๓๒.
๒๑๓. นิธีนํว  ปวตฺตารํ   ยํ  ปสฺเส  วชฺชทสฺสินํ
นิคฺคยฺหวาทึ  เมธาวึ    ตาทิสํ  ปณฺฑิตํ  ภเช
ตาทิสํ  ภชมานสฺส  เสยฺโย  โหติ  น  ปาปิโย.
เห็นบัณฑิตใด  ผู้มีปกติชี้ความผิดให้  ดุจผู้บอกขุมทรัพย์ให้
ซึ่งมีปกติกล่าวกำราบ  มีปัญญา,  พึงคบบัณฑิตเช่นนั้น,  เมื่อคบ
ท่านเช่นนั้น  ย่อมประเสริฐ  ไม่เลวเลย.
( พุทฺธ ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๕.  
๒๑๔.
นิหียติ  ปุริโส  นิหีนเสว
น  จ  หาเยถ  กทาจิ  ตุลฺยเสว
เสฏฺมุปนมํ  อุเทติ  ขิปฺปํ
ตสฺมา  อตฺตโน  อุตฺตรึ  ภเชถ.
ในกาลไหน ๆ  ผู้คบคนเลว  ย่อมเลว  คบคนเสมอกัน  ไม่พึง
เสื่อม  คบหาคนประเสริฐ  ย่อมพลันเด่นขึ้น  เหตุนั้นควรคบคนที่สูง
กว่าตน.
( พุทฺธ ) องฺ.  ติก.  ๒๐/๑๕๘.        
๒๑๕.  ปสนฺนเมว  อปฺปสนฺนํ  วิวชฺชเย
ปสนฺนํ  ปยิรุปาเสยฺย รหทํวุทกตฺถิโก.
บุคคลควรคบผู้เลื่อมใสเท่านั้น  ควรเว้นผู้ไม่เลื่อมใส  ควร
เข้าไปนั่งใกล้ผู้เลื่อมใส  เหมือนผู้ต้องการน้ำเข้าไปหาห้วงน้ำ
ฉะนั้น.
( โพธิสตฺต ) ขุ.  ชา.  ปญฺาส.  ๒๘/๒๓.
๒๑๖.
ปิสุเณน  จ  โกธเนน
มจฺฉรินา  จ  วิภูตินนฺทินา
สขิตํ  น  กเรยฺย  ปณฺฑิโต
ปาโป  กาปุริเสน  สงฺคโม.
บัณฑิตไม่ควรทำความเป็นเพื่อนกับคนส่อเสียด  คนมักโกรธ
คนตระหนี่  และคนเพลิดเพลินในสมบัติ  เพราะการสมาคม
กับคนชั่ว เป็นความเลวทราม.
( อานนฺทเถร ) ขุ.  เถร.  ๒๖/๔๐๕. 
๒๑๗. ภเช  ภชนฺตํ  ปุริสํ   อภชนฺตํ  น  ภชฺชเย
อสปฺปุริสธมฺโม  โส โย  ภชนฺตํ  น  ภชิชติ.
ควรคบกับคนที่คบตน  ไม่ควรคบคนที่ไม่คบตน  ผู้ใดไม่คบคน
ที่คบตน  ผู้นั้นชื่อว่าไม่มีธรรมของสัตบุรุษ.
( โพธิสตฺต ) ขุ.  ชา.  ปญฺาส.  ๒๘/๒๓. 
๒๑๘. สพฺภิเรว  สมาเสถ สพฺภิ  กุพฺเพถ  สนฺถวํ
สตํ  สทฺธมฺมมญฺาย สพฺพทุกฺขา  ปมุจฺจติ.
พึงสมาคมกับสัตบุรุษ  พึงทำความสนิทสนมกับสัตบุรุษ  ผู้นั้น
รู้ทั่วถึงสัทธรรมของสัตบุรุษแล้ว  ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง.
( สีวเทวปุตฺต ) สํ.  ส.  ๑๕/๘๐.
     
   

เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา
พุทธศาสนสุภาษิต