๑๓๖. อกฺโกธโน  อนุปนาหี   อมกฺขี  สุทฺธตํ  คโต
สมฺปนฺนทิฏฺิ  เมธาวี  ตํ  ชฺา  อริโย  อิติ.
ผู้ใดไม่โกรธ  ไม่ผูกโกรธ  ไม่ลบหลู่  ถึงความหมดจด  มีทิฏฐิ
สมบูรณ์  มีปัญญา,  พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นอริยะ.
( สารีปุตฺตเถร ) ขุ.  ปฏิ.  ๓๑/๒๔๑. 
๑๓๗.  อกฺโกธสฺส  กุโต  โกโธ ทนฺตสฺส  สมชีวิโน
สมฺมทฺา  วิมุตฺตสฺส อุปสนฺตสฺส  ตาทิโน.
ผู้ไม่โกรธ  ฝึกตนแล้ว  เป็นอยู่สม่ำเสมอ  หลุดพ้นเพราะรู้ชอบ
สงบระงับ  คงที่  จะมีความโกรธมาแต่ไหน.
( นฺหาตกมุนีเถร ) ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๓๔.
๑๓๘. อจฺฉิทฺทวุตฺตึ  เมธาวึ  ปฺาสีลสมาหิตํ 
เนกฺขํ  ชมฺโพนทสฺเสว  โก  ตํ  นินฺทิตุมรหติ.
ใครควรจะติคนฉลาดประพฤติไม่ขาด  ตั้งมั่นด้วยปัญญาและศีล
ประดุจแท่งทองชมพูนุท.
( พุทฺธ ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๔๕.
๑๓๙. อนาคตปฺปชปฺปาย  อตีตสฺสานุโสจนา
เอเตน  พาลา  สุสฺสนฺติ  นโฬว  หริโต  ลุโต.
คนเขลาย่อมซูบซีด  เพราะคำนึงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง  เพราะ
เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว  เหมือนต้นอ้อสดที่ถูกตัด.
( พุทฺธ ) สํ.  ส.  ๑๕/๗.
๑๔๐. อนุทฺธโต  อจปโล  นิปโล  สํวุตินฺทฺริโย
กลฺยาณมิตฺโต  เมธาวี  ทุกฺขสฺสนฺตกโร  สิยา.
คนฉลาด ไม่ฟุ้งซ่าน  ไม่คลอนแคลน  มีปัญญา  สำรวมอินทรีย์
มีมิตรดี  พึงทำที่สุดทุกข์ได้.
( อฺาโกณฺฑฺเถร ) ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๖๖.
๑๔๑. อปฺปสฺสาทา  ทุกฺขา  กามา อิติ  วิฺาย  ปณฺฑิโต
อปิ  ทิพฺเพสุ  กาเมสุ  รตึ   โส    นาธิคจฺฉติ.
กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย  มีทุกข์มาก,  บัณฑิตรู้ดังนี้แล้ว
ไม่ใยดีในกามแม้เป็นทิพย์.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ.  ๒๕/๔๐. 
๑๔๒. อสฺสทฺโธ  อกตฺู  จ สนฺธิจฺเฉโท  จ  โย  นโร
หตาวกาโส  วนฺตาโส  ส  เว  อุตฺตมโปริโส.
นรชนใด  ไม่เชื่อ  ( ตามเขาว่า )  รู้จัดพระนิพพาน  อันอะไร ๆ
ทำไม่ได้  ตัดเงื่อนต่อได้  มีโอกาสอันขจัดแล้ว  และคาย
ความหวังแล้ว,  ผู้นั้นแล  เป็นบุรุษสูงสุด.
( พุทฺธ ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๘.
๑๔๓. อโยเค  ยุฺชมตฺตานํ  โยคสฺมิฺจ  อโยชยํ
อตฺถํ  หิตฺวา  ปิยคฺคาหี  ปิเหตตฺตานุโยคินํ.
ผู้ประกอบตนในสิ่งที่ไม่ควรประกอบ  และไม่ประกอบตนในสิ่ง
ควรประกอบ  ละประโยชน์เสีย  ถือตามชอบใจ  ย่อมกระหยิ่ม
ต่อผู้ประกอบตนเนือง ๆ.
( พุทฺธ ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๔๓.
๑๔๔.
อสตฺจ  สตฺจ  ตฺวา  ธมฺมํ 
อชฺฌตฺตํ  พหิทฺธา  จ  สพฺพโลเก
เทวมนุสฺเสหิ  จ  ปูชิโต  โย
โส  สงฺคชาลมติจฺจ  โส  มุนิ.
ผู้ใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษและของสัตบุรุษ ทั้งภายใน ทั้งภายนอก
มีเทวดาและมนุษย์บูชาในโลกทั้งปวง  ผู้นั้นจึงล่วงข่ายคือ
เครื่องข้องได้  และเป็นมุนี.
( พุทฺธ ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๔๓๒.
ขุ.  มหา.  ๒๙/๔๐๖.
๑๔๕. อากาเสว  ปทํ  นตฺถิ  สมโณ  นตฺถิ  พาหิโร
สงฺขารา  สสฺสตา  นตฺถิ  นตฺถิ  พุทฺธานมิฺชิตํ.
สมณะภายนอกไม่มี,  สังขารเที่ยงไม่มี,  ความหวั่นไหวของ พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี, เหมือนรอยเท้าไม่มีในอากาศ.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ.  ๒๕/๔๙.
๑๔๖. อุฏฺานวโต  สตีมโต สุจิกมฺมสฺส  นิสมฺมการิโน
สฺตสฺส  จ  ธมฺมชีวิโน อปฺปมตฺตสฺส  ยโสภิวฑฺฒติ.
เกียรติยศย่อมเจริญแก่ผู้ขยัน  มีสติ  มีการงานสะอาด ใคร่ครวญ
แล้วจึงทำ  สำรวมแล้ว  เป็นอยู่โดยธรรม  และไม่ประมาท.
( พุทฺธ ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๘.
๑๔๗. อุตฺตมํ  ธมฺมตํ  ปตฺโต  สพฺพโลเก  อนตฺถิโก 
อาทิตฺตาว  ฆรา  มุตฺโต มรณสฺมึ  น  โสจติ.
ผู้บรรลุธรรมอย่างสุงสุด  ไม่มีความต้องการในโลกทั้งปวง 
ย่อมไม่เศร้าโศกในเพราะความตาย  เหมือนพ้นจากเรือน
ถูกไฟไหม้.
( ปาราสริยเถร ) ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๗๐.
๑๔๘. อุยฺยุฺชนติ  สตีมนฺโต  น  นิเกเต  รมนฺติ  เต
หํสาว  ปลฺลลํ  หิตฺวา โอกโมกํ  ชหนฺติ  เต.
ผู้มีสติย่อมหลีกออก  ท่านไม่ยินดีในที่อยู่  ท่านย่อมละที่อยู่ได้
ดุจหงส์ละเปือกตมไปฉะนั้น.
( พุทฺธ ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๗. 
๑๔๘. กายมุนึ  วาจามุนึ เจโตมุนิมนาสวํ
มุนึ  โมเนยฺยสมฺปนฺนํ  อาหุ  สพฺพปหายินํ.
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงผู้นิ่งทางกาย  นิ่งทางวาจา  นิ่งทางใจ
ไม่มีอาสวะ  ถึงพร้อมด้วยปัญญา  ผู้ละสิ่งทั้งปวงได้  ว่าเป็นมุนี.
( พุทฺธ ) องฺ.  ติก.  ๒๐/๓๕๒.
๑๕๐. กายสุจึ  วาจาสุจึ  เจโตสุจิมนาสวํ 
สุจึ  โสเจยฺยสมฺปนฺนํ  อาหุ  นินฺหาตปาปกํ.
บัณฑิตกล่าวถึงผู้มีกายสะอาด  มีวาจาสะอาด  มีใจสะอาด 
ไม่มีอาสวะ  ถึงพร้อมด้วยความสะอาด  ล้างบาปแล้ว  ว่าเป็น
ผู้สะอาด.
( พุทฺธ ) องฺ.  ติก.  ๒๐/๓๕๒.
๑๕๑. โกธโน  อุปนาหี  จ ปาปมกฺขี  จ  โย  นโร
วิปนฺนทิฏฺิ  มายาวี  ตํ  ชฺา  วสฺล  อิติ.
ผู้ใดมักโกรธ  ผูกโกรธไว้  ลบหลู่เขาด้วยความชั่ว  มีความเห็น
วิบัติ  มีมายา  พึงรู้ว่าคนนั้น  เป็นคนเลว.
( พุทฺธ ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๔๙.
๑๕๒. ขตฺติยา พฺราหฺมณา เวสฺสา สุทฺทา  จณฺฑาลปุกฺกุสา
สพฺเพว  โสรตา  ทนฺตา สพฺเพว  ปรินิพฺพุตา.
กษัตริย์  พราหมณ์  แพศย์  ศูทร  จัณฑาล  และคนงาน
ชั้นต่ำทั้งปวง  สงบเสงี่ยมแล้ว  ฝึกตนแล้ว  ก็ปรินิพพาน
เหมือนกันหมด.
( พฺราหฺมณ  อุทฺทาลก ) ขุ.  ชา.  ปกิณฺณก.  ๒๗/๓๗๖.
๑๕๓. โจรํ  หรนฺตํ  วาเรนฺติ  หรนฺโต  สมโณ  ปิโย 
สมณํ  ปุนปฺปุนายนฺตํ  อภินนฺทนฺติ  ปณฺฑิตา.
บัณฑิตขัดขวางโจรผู้นำของไป,  ส่วนสมณะนำไป  ย่อมเป็น
ที่รัก,  บัณฑิตย่อมยินดีต้อนรับสมณะผู้มาบ่อย ๆ.
( พุทฺธ ) สํ.  ส.  ๒๕/๖๐.
๑๕๔. ชยํ  เวรํ  ปสวติ  ทุกฺขํ  เสติ  ปราชิโต
อุปสนฺโต  สุขํ  เสติ  หิตฺวา  ชยปราชยํ.
ผู้ชนะย่อมก่อเวร  ผู้แพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์  คนละความชนะ
และความแพ้ได้แล้ว  สงบใจได้  ย่อมนอนเป็นสุข.
( พุทฺธ ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๔๒. 
๑๕๕. ตสฺมา  สตฺจ  อสตฺจ นานา  โหติ  อิโต  คติ
อสนฺโต  นิรยํ  ยนฺติ  สนฺโต  สคฺคปรายนา.
(เพราะธรรมของสัตบุรุษยากที่อสัตบุรุษจะประพฤติตาม) 
คติที่ไปจากโลกนี้ของสัตบุรุษและอสัตบุรุษจึงต่างกัน,  คืออสัตบุรุษไปนรก,  สัตบุรุษไปสวรรค์.
( พุทฺธ ) ขุ.  ชา.  มหา.  ๒๘/๔๓๕.
๑๕๖.
ตสฺมา  หิ  ธีโร  อิธุปฏฺิตาสติ      
กาเม  จ  ปาเป  จ  อเสวมาโน
สหาปิ  ทุกฺเขน  ชเหยฺย  กาเม
ปฏิโสตคามีติ  ตมาหุ  ปุคฺคลํ.
เพราะนักปราชญ์มีสติตั้งมั่นในธรรมวินัยนี้  ไม่เสพกามและ
บาป  พึงละกามพร้อมทั้งทุกข์ได้  ท่านจึงกล่าวบุคคลนั้นว่า
ผู้ไปทวนกระแส.
( พุทฺธ ) องฺ.  จตุกฺก.  ๒๑/๗.
๑๕๗. ทุทฺททํ  ททมานานํ  ทุกฺกรํ  กมฺมกุพฺพตํ
อสนฺโต  นานุกุพฺพนฺติ  สนฺตธมฺโม  ทุรนฺวโย.
เมื่อสัตบุรุษให้สิ่งที่ให้ยาก  ทำกรรมที่ทำได้ยาก,  อสัตบุรุษ
ย่อมทำตามไม่ได้  เพราะธรรมของสัตบุรุษยากที่อสัตบุรุษ
จะประพฤติตาม.
( โพธิสตฺต ) ขุ.  ชา.  ทุก.  ๒๗/๖๓.
๑๕๘. น  ชจฺจา  วสโล  โหติ  น  ชจฺจา  โหติ  พฺราหฺมโณ
กมฺมุนา  วสโล  โหติ  กมฺมุนา  โหติ  พฺรมหฺมโณ.
บุคคลเป็นคนเลวเพราะชาติก็หาไม่  เป็นผู้ประเสริฐเพราะชาต
ิก็หาไม่  (แต่)  เป็นคนเลวเพราะการกระทำ  เป็นผู้ประเสริฐ
ก็เพราะการกระทำ.
( พุทฺธ ) ขุ.  สุ. ๒๕/๓๕๒.
๑๕๙. นิฏฺํ  คโต  อสนฺตาสี  วีตตณฺโห  อนงฺคโณ
อจฺฉินฺทิ  ภวสลฺลานิ  อนฺติโมยํ  สมุสฺสโย.
บุคคลถึงความสำเร็จแล้ว  (พระอรหัตผล)  ไม่สะดุ้ง  ปราศจาก
ตัณหา ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน  ตัดลูกศรอันจะนำไปสู่ภพได้แล้ว
ร่างกายนี้จึงชื่อว่า  มีในที่สุด.
( พุทฺธ ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๖๓.
๑๖๐.
นิลฺโลลุโป  นิกฺกุโห  นิปฺปิปาโส
นิมฺมกฺโข  นิทฺธนฺตกสาวโมโห
นิราสโส  สพฺพโลเก  ภวิตฺวา
เอโก  จเร  ขคฺควิสาณกปฺโป.
ผู้ไม่ละโมภ  ไม่อำพราง  ไม่กระหาย  ไม่ลบหลู่  ขจัดโมหะ
ดุจน้ำฝาดแล้ว  ไม่มีความมุ่งหวัง  ครอบงำโลกทั้งหมด  ควรเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด.
( พุทฺธ ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๓๖.
ขุ.  จู.  ๓๐/๓๗๙.
๑๖๑.
ปาปํ  น  กยิรา  วจสา  มนสา
กาเยน  วา  กิฺจน  สพฺพโลเก
กาเม  ปหาย  สติมา  สมฺปชาโน
ทุกฺขํ  น  เสเวถ  อนตฺถสฺหิตํ.
บุคคลไม่ควรทำบาปซึ่งเป็นเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง  ด้วยกาย
วาจา  หรือด้วยใจ  มีสติสัมปชัญญะ  ละกามทั้งหลายได้แล้ว
ไม่ควรเสพทุกข์อันประกอบด้วยสิ่งที่ไร้ประโยชน์.
( จุลฺลโกกนทา  ปชฺชุนฺนธีตา ) สํ.  ส.  ๑๕/๔๒.
๑๖๒. มทนิมฺมทนํ  โสกนุทํ  สํสารปริโมจนํ 
สพฺพทุกฺขกฺขยํ  มคฺคํ  สกฺกจฺจํ  ปฏิปชฺชถ.
ท่านทั้งหลายจงดำเนินตามทางที่สร่างความเมา  บรรเทา
ความโศก  เปลื้องสงสาร  เป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวง  โดยความ
เคารพ.
( พุทฺธ ) ขุ.  พุ.  ๓๓/๔๑๕.
๑๖๓.
มานํ  ปหาย  สุสมาหิตตฺโต
สุเจตโส  สพฺพธิ  วิปฺปมุตฺโต
เอโก  อรฺเ  วิหรํ  อปฺปมตฺโต
ส  มจฺจุเธยฺยสฺส  ตเรยฺย  ปารํ.
ผู้ใดละมานะ  มีตนตั้งมั่นดีแล้ว  มีใจดี  หลุดพ้นในที่ทั้งปวง
อยู่ในป่าคนเดียว  เป็นผู้ไม่ประมาท,  ผู้นั้นพึงข้ามฝั่งแห่งแดน
มฤตยู.
( พุทฺธ ) สํ.  ส.  ๒๕/๖.
๑๖๔. โมสวชฺเช  น  นิยฺเยถ รูเป  เสฺนหํ  น  กุพฺพเย
มานฺจ  ปริชาเชยฺย สาหสา  วิรโต  จเร.
บุคคลไม่ควรนิยมการกล่าวคำเท็จ  ไม่ควรทำความเสน่หา
ในรูปโฉม  ควรกำหนดรู้มานะ  และประพฤติงดเว้นจาก
ความผลุนผลัน.
( พุทฺธ ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๑๘.
ขุ.  มหา.  ๒๙/๕๑๗.
๑๖๕. มาเนน  วฺจิตา  เส  สงฺขาเรสุ  สงฺกิลิสฺสมานา  เส
ลาภาลาเภน  มถิตา สมาธึ   นาธิคจฺฉนฺติ.
ผู้ถูกมานะหลอกลวง  เศร้าหมองอยู่ในสังขาร  ถูกลาภและ
ความเสื่อมลาภย่ำยี  ย่อมไม่ลุถึงสมาธิ.
( เสตุจฺฉเถร ) ขุ.  เถร.  ๒๖/๒๘๓.
๑๖๖. ยมฺหิ  สจฺจฺจ  ธมฺโม  จ อหึสา  สฺโม  ทโม
ส  เว  วนฺตมโล  ธีโร  โส  เถโรติ  ปวุจฺจติ.
ผู้ใดมีความสัตย์  มีธรรม  มีความไม่เบียดเบียน  มีความสำรวม 
และมีความข่มใจ  ผู้นั้นแล  ชื่อว่า  ผู้มีปัญญา  หมดมลทิน
เขาเรียกท่านว่า  เถระ.
( พุทฺธ ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๕๐.
๑๖๗.
ยทา  ทุกฺขํ  ชรามรณนฺติ  ปณฺฑิโต
อวิทฺทสู  ยตฺถ  สิตา  ปุถุชฺชนา
ทุกฺขํ  ปริฺาย  สโต  ว  ฌายติ
ตโต  รตึ  ปรมตรํ  น  วินฺทติ.
เมื่อใด  บัณฑิตรู้ว่า  ชราและมรณะเป็นทุกข์  กำหนดรู้ทุกข์ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งปุถุชน  มีสติเพ่งพินิจอยู่  เมื่อนั้น  ย่อมไม่ประสบ
ความยินดีที่ยิ่งกว่านั้น.
( ภูตเถร ) ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๔๔.
๑๖๘. ยสฺส  ราโค  จ  โทโส  จ มาโน  มกฺโข  จ  ปาติโต
สาสโปริว  อารคฺคา ตมหํ  พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
ผู้ใดทำ  ราคะ  โทสะ  มานะ  และมักขะ  ให้ตกไป
เหมือนทำให้เมล็ดผักกาดตกจากปลายเหล็กแหลม,  เราเรียกผู้นั้นว่าพราหมณ์.
( พุทฺธ ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๖๙.
๑๖๙. ยสฺสาลยา  น  วิชฺชนฺติ  อฺาย  อกถงฺกถี
อมโตคธํ  อนุปฺปตฺตํ  ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ.
ผู้ใดไม่มีความอาลัย  รู้แล้วหาความสงสัยมิได้  เราเรียกผู้หยั่ง
ลงสู่อมตะ  บรรลุประโยชน์แล้วนั้นว่าเป็นพราหมณ์.
( พุทฺธ )  ขุ.  ธ.  ๒๕/๗๐.
๑๗๐.
เย  เกจิ  กาเมสุ  อสฺตา  ชนา
อวีตราคา  อิธ  กามโภคิโน
ปุนปฺปุนํ  ชาติชรูปคา  หิ  เต.
ตณฺหาธิปนฺนา  อนุโสตคามิโน.
คนบางพวกเหล่าใด  ไม่สำรวมในกาม  ยังไม่ปราศจากราคะ
เป็นผู้บริโภคกามในโลกนี้,  คนเหล่านั้นถูกตัณหาครอบงำ  ลอยไปตามกระแส  (ตัณหา)  ต้องเป็นผู้เข้าถึงชาติชราร่ำไป.
( พุทฺธ ) องฺ.  จตุกฺก.  ๒๑/๗.
๑๗๑. เย  จ  โข  พาลา  ทุมฺเมธา ทุกมฺมนฺตี  โมหปารุตา
ตาทิสา  ตตฺถ  รชฺชนฺติ  มารกฺขิตฺตสฺมิ  พนฺธเน.
คนเหล่าใดเขลา  มีปัญญาทราม  มีความคิดเลว  ถูกความหลง
ปกคลุม,  คนเช่นนั้น  ย่อมติดเครื่องผูกอันมารทอดไว้นั้น.
( นนฺทกเถร ) ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๑๒.
๑๗๒. เย  จ  สีเลน  สมฺปนฺนา ปฺายูปสเม  รตา
อารกา  วิรตา  ธีรา น  โหนฺติ  ปรปตฺติยา.
ผู้มีปัญญาเหล่าใด  ประกอบด้วยศีล  ยินดีในความสงบ
ด้วยปัญญา ผู้มีปัญญาเหล่านั้น  เว้นไกลจากความชั่วแล้ว
ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น.
( โพธิสตฺต ) ขุ.  ชา.  จตุกฺก.  ๒๗/๑๔๓.
๑๗๓. เย  ฌานปสุตา  ธีรา เนกฺขมฺมูปสเม  รตา
เทวาปิ  เตสํ  ปิหยนฺติ  สมฺพุทฺธานํ  สตีมตํ.
ผู้มีปัญญาเหล่าใด  ขวนขวายในฌาน  ยินดีในความสงบอันเกิด
จากเนกขัมมะ  เทวดาทั้งหลายก็พอใจต่อผู้มีปัญญา  ผู้รู้ดีแล้ว
มีสติเหล่านั้น.
( พุทฺธ ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๙.
๑๗๔. เสยํ  ราโค  จ  โทโส  จ อวิชฺชา  จ  วิราชิตา
ตาที  ตตฺถ  น  รชฺชนฺติ  ฉินฺนสุตฺตา  อพนฺธนา.
ราคะ  โทสะ  และอวิชชา  อันผู้ใดหลุดพ้นแล้ว,  ผู้นั้น  เป็นผู้คงที่
มีสายล่ามขาดแล้ว ไม่มีเครื่องผูก  ย่อมไม่ติดในที่นั้น.
( นนฺทเถร ) ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๑๒.
๑๗๕. โย  จ  คุตฺเตน  จิตฺเตน สุณาติ  ชินสาสนํ
เขเปตฺวา  อาสเว  สพฺเพ สจฺฉิกตฺวา  อกุปฺปตํ
ปปฺปุยฺย  ปรมํ  สนฺตึ  ปรินิพฺพาติ  อนาสโว.
ผู้ใดมีจิตคุ้มครองแล้ว  ฟังคำสอนของพระชินเจ้า  ผู้นั้นชื่อว่า
ให้อาสวะทั้งปวงสิ้นไป  ทำให้แจ้งซึ่งอกุปปธรรม,  บรรลุ
ความสงบอย่างยิ่ง  ไม่มีอาสวะ  ย่อมดับสนิท.
( ยสทตฺตเถร ) ขุ.  เถร. ๒๖/๓๒๓. 
๑๗๖.
โย  เตสุ  คุตฺโต  วิทิตินฺทฺริโย  จเร
ธมฺเม  ิโต  อชฺชวมทฺทเว  รโต
สงฺคาติโค  สพฺพทุกฺขปฺปหีโน
น  ลิมฺปตี  ทิฏฺสุเตสุ  ธีโร.
ผู้ใด  ระมัดระวังอินทรีย์เหล่านั้น  รู้จักอินทรีย์ ๖ ตั้งอยู่ในธรรม
ยินดีในความซื่อตรงและความอ่อนโยน  ล่วงกิเลสเครื่องข้อง
เสียได้ ละทุกข์ได้ทั้งหมดเที่ยวไป,  ผู้นั้น เป็นธีรชน ย่อมไม่ติด
ในสิ่งที่เห็นแล้วและได้ฟังแล้ว.
( พุทฺธ ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๗๔.
๑๗๗. โรสโก  กทริโย  จ ปาปิจฺโฉ  มจฺฉรี  สโ
อหิริโก  อฺนตฺตปฺปี  ตํ  ชฺา  วสฺโล  อิติ.
ผู้ใดเป็นคนขัดเคือง  เหนียวแน่น  ปรารถนาลามก  ตระหนี่
โอ้อวด  ไม่ละอาย  และไม่เกรงกลัวบาป  พึงรู้ว่า  ผู้นั้นเป็น
คนเลว.
( พุทฺธ ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๕๑.
๑๗๘. ลาภกมฺยา  น  สิกฺขติ  อลาเภ  จ  น  กุปฺปติ
อวิรุทฺโธ  จ  ตณฺหาย รเส  จ  นานุคิชฺฌติ.
บัณฑิตไม่ศึกษา  เพราะอยากได้ลาภ,  ไม่ขุ่นเคือง  เพราะ
เสื่อมลาภ, ไม่ยินดียินร้ายเพราะตัณหา  และไม่ติดในรส.
( พุทฺธ ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๐๑.
ขุ.  มหา.  ๒๙/๒๘๔.
๑๗๘.
สงฺขาย  โลกสฺมิ  ปโรปรานิ
ยสฺสิฺชตํ  ขตฺถิ  กุหิฺจิ  โลเก
สนฺโต  วิธูโม  อนีโฆ  นิราโส
อตาริ  โส  ชาติชรนฺติ  พฺรูมิ.
ผู้ใดพิจารณาเห็นความยิ่งและหย่อนในโลกแล้ว  ไม่มีความ
หวั่นไหวในอารมณ์ไหน ๆ ในโลก, เรากล่าวว่า ผู้นั้นเป็นผู้สงบ
ไม่มีกิเลสดุจควันไฟ ไม่มีทุกข์ ปราศจากตัณหา ข้ามชาติชราได้.
( พุทฺธ ) องฺ.  ติก.  ๒๐/๑๖๙.
๑๘๐. สพฺพทา  เว  สุขํ  เสติ  พฺราหฺมโณ  ปรินิพฺพุโต 
โย  น  ลิมฺปติ  กาเมสุ  สีติภูโต  นิรูปธิ.
ผู้ใดเป็นผู้เยือกเย็น  ไม่มีอุปธิ  ไม่ติดในกาม,  ผู้นั้นเป็น
พราหมณ์  เป็นผู้ดับแล้ว  อยู่เป็นสุขทุกเมื่อ.
( พุทฺธ ) สํ.  ส.  ๑๕/๓๑๒.
๑๘๑. สพฺพโส  นามรูปสฺมึ  ยสฺส  นตฺถิ  มมายิตํ
อสตา  จ  น  โสจติ  ส  เว  ภิกฺขูติ  วุจฺจติ.
ผู้ใดไม่มีความยึดถือว่าของเราในนามรูปโดยประการทั้งปวง
และผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปที่ไม่มีอยู่,  ผู้นั้นแล
ท่านเรียกว่าภิกษุ.
( พุทฺธ ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๖๕.
๑๘๒. สพฺพา  อาสตฺติโย  เฉตฺวา วิเนยฺย  หทเย  ทรํ
อุปสนฺโต  สุขํ  เสติ  สนฺตึ  ปปฺปุยฺย  เจตโส.
ผู้ใดตัดความข้องทั้งปวงแล้ว  บรรเทาความกระวนกระวายใจ
ได้,  ผู้นั้น  ถึงความสงบใจ  เป็นผู้สงบระงับอยู่เป็นสุข.
( พุทฺธ ) องฺ.  ติก.  ๒๐/๑๗๕.
๑๘๓.
สพฺเพสุ  กาเมสุ  โย  วีตราโค      
อากิฺจฺํ  นิสฺสิโต  หิตฺวมฺํ
สฺาวิโมกฺเข  ปรเมธิมุตฺโต
ติฏฺเยฺย  โส  ตตฺถ  อนานุยายี.
ผู้ใดปราศจากความติดในกามทั้งปวง  ล่วงฌานอื่นได้แล้ว
อาศัยอากิญจัญญายตนฌาน  น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์
อันประเสริฐ, ผู้นั้นจะพึงในอากิญจัญญายตนฌานนั้น ไม่มีเสื่อม.
( พุทฺธ ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๓๘.
ขุ.  จู.  ๓๐/๑๓๓.
๑๘๔.
ส  วีตราโค  ส  วิเนยฺย  โทสํ
เมตฺตจิตฺตํ  ภาวเยฺย  อปฺปมาณํ
สพฺเพสุ  ภูเตสุ  นิธาย  ทณฺฑํ
อนินฺทิโต  พฺรหฺมมุเปติ  านํ.
ผู้ปราศจากราคะ  และกำจัดโทสะได้แล้วนั้น  พึงเจริญเมตตาจิต
ไม่มีประมาณ.  ผู้นั้น งดอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว ไม่ถูกติเตียน
ย่อมเข้าถึงสถานอันประเสริฐ.
( สรภงฺคโพธิสตฺต ) ขุ.  ชา. จตฺตาฬีส.  ๒๗/๕๔๒.
๑๘๕. โส  อุภนฺตมภิฺาย  มชฺเฌ  มนฺตา  น  ลิมฺปติ 
ตํ  พฺรูมิ  มหาปุริโสติ  โส  อิธ  สิพฺพนิมจฺจคา.
ผู้ (ดับกิเลสได้แล้วหมดความหวั่นไหว)  นั้น  รู้ที่สุดทั้ง ๒ แล้ว
ย่อมไม่ติดในท่ามกลางด้วยปัญญา,  เราเรียกผู้นั้นว่า  เป็นมหาบุรุษ ผู้นั้นละตัณหาเครื่องเย็บร้อยใจในโลกนี้ได้แล้ว.
( พุทฺธ ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๓๒.
ขุ.  จู.  ๓๐/๓๕.
๑๘๖.
โสกปริเทวมจฺฉรํ
น  ชหนฺติ  คิทฺธา  มมายิเต
ตสฺมา  มุนโย  ปริคฺคหํ
หิตฺวา  อจรึสุ  เขมทสฺสิโน.
ผู้ติดในสิ่งที่ยึดถือว่าของเรา  ย่อมละความโศกเศร้า 
ความรำพัน  และความตระหนี่ไม่ได้  เพราะฉะนั้น  มุนีทั้งหลายผู้เห็นความปลอดภัย  จึงละความยึดถือไปได้.
( พุทฺธ ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๑๙๓.
ขุ.  มหา.  ๒๙/๑๕๔.
๑๘๗.
โสจติ  ปุตฺเตหิ  ปุตฺติมา
โคมิโก  โคหิ  ตเถว  โสจติ

อุปธีหิ  นรสฺส  โสจนา
น  หิ  โส  โสจติ  โย  นิรูปธิ.
ผู้มีบุตรย่อมเศร้าโศกเพราะบุตร,  ผู้มีโคย่อมเศร้าโศกเพราะโค
เหมือนกัน,  นรชนมีความเศร้าโศกเพราะอุปธิ,  ผู้ใด  ไม่มีอุปธิ  ผู้นั้นไม่ต้องเศร้าโศกเลย.
( พุทฺธ ) สํ.  ส. ๑๕/๙.
     
    

ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล
พุทธศาสนสุภาษิต