๑๒๙.

อทฺธา  หิ  ปฺา  ว  สตํ  ปสตฺถา
กนฺตา  สิรี  โภครตา  มนุสฺสา
าณฺจ  พุทฺธานมตุลฺยรูปํ
ปฺํ  น  อจฺเจติ  สิรี  กทาจิ.

  สัตบุรุษสรรเสริญปัญญาแน่แท้  คนทั้งหลายชอบทรัพย์สมบัติ
จึงใคร่ได้สิริ  ( ยศ )  ก็ความรู้ของท่านผู้รู้ทั้งหลายชั่งไม่ได้  ทรัพย์จึงเกินกว่าปัญญาไปไม่ได้  ไม่ว่ากาลไหน ๆ
  ( ปโหสธโพธิสตฺต ) ขุ.  ชา.  วีส.  ๒๗/๔๒๘.
๑๓๐.

คมฺภีรปฺหํ  มนสาภิจินฺตยํ 
นจฺจาหิตํ  กมฺม  กโรติ  ลุทฺทํ
กาเลคตํ  อตฺถปทํ  น  ริฺจติ
ตถาวิธํ  ปฺาวนฺตํ  วทนฺติ.

  ผู้ขบคิดปัญหาอันลึกซึ้งด้วยใจ  ไม่ทำกรรมชั่ว  อันไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลเลย, ไม่ละทางแห่งประโยชน์ที่มาถึงตามเวลา,
บัณฑิตทั้งหลายเรียกคนอย่างนั้นว่า  ผู้มีปัญญา.
  ( สรภงฺคโพธิสตฺต ) ขุ.  ชา.  จตฺตาฬีส.  ๒๗/๕๔๐.
๑๓๑.

ทาโส  ว  ปฺสฺส  ยสสฺสิ  พาโล
อตฺเถสุ  ชาเตสุ  ตถาวิเธสุ
ยํ  ปฺฑิโต  นิปุณํ  สํวิเธติ
สมฺโมหมาปชฺชติ  ตตฺถ  พาโล.

  คนเขลามียศศักดิ์  ก็เป็นทาสของคนมีปัญญา,  เมื่อเรื่องราว
ต่าง ๆ  เกิดขึ้น  คนฉลาดจัดการข้อใดได้แนบเนียน  คนเขลา
ถึงความงมงายในข้อนั้น.
  ( มโหสธโพธิสตฺต ) ขุ.  ชา.  วีส.  ๒๗/๔๒๘.
๑๓๒. ปฺวนฺตํ  ตถาวาทึ  สึเลสุ  สุสมาหิตํ  
  เจโตสมถมนุยุตฺตํ  ตํ  เว  วิฺู  ปสํสเร.
  ผู้รู้ย่อมสรรเสริญคนมีปัญญา  พูดจริง  ตั้งมั่นในศีล  ประกอบ
ความสงบใจนั้นแล.
  ( มหาสฺสปเถร ) ขุ.  เถร.  ๒๖/๔๑๑.
๑๓๓. ปฺา  สุตวินิจฺฉินี  ปฺา  กิตฺติสิโลกวฑฺฒนี
  ปฺาสหิโต  นโร  อิธ อปิ  ทุกฺเขสุ  สุขานิ  วินฺทติ.
  ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยสิ่งที่ฟังแล้ว ปัญญาเป็นเครื่องเพิ่มพูน
เกียรติคุณและชื่อเสียง  คนผู้ประกอบด้วยปัญญาในโลกนี้  แม้ในความทุกข์ก็หาความสุขได้.
  ( มหากปฺปินเถร ) ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๕๐. 
๑๓๔. ปฺาย  ติตฺตินํ  เสฏฺฐํ  น  โส  กาเมหิ  ตปฺปติ
  ปฺาย  ติตฺตํ  ปุริสํ  ตณฺหา  น  กุรุเต  วสํ.
  บรรดาความอิ่มทั้งหลาย  ความอิ่มด้วยปัญญาประเสริฐ,  ผู้อิ่ม
ด้วยปัญญานั้นย่อมไม่เดือดร้อนด้วยกาม,  ตัณหาทำผู้อิ่มด้วย
ปัญญาไว้ในอำนาจไม่ได้.
  ( โพธิสตฺต ) ขุ.  ชา.  ทฺวาทส.  ๒๗/๓๒๙.
๑๓๕.

ส  ปฺวา  กามคเณ  อเวกฺขติ 
อนิจฺจโต  ทุกฺขโต  โรคโต  จ
เอวํ  วิปสฺสี  ปชหาติ  ฉนฺทํ
ทุกฺเขสุ  กาเมสุ  มหพฺภเยสุ.

  ผู้มีปัญญานั้น  ย่อมเล็งเห็นกามคุณเป็นของไม่เที่ยง  เป็น
ทุกข์  และเป็นโค,  ผู้เห็นอย่างนี้  ย่อมละความพอใจในกาม
อันเป็นทุกข์  เป็นภัยใหญ่ได้.
  ( สรภงฺคโพธิสตฺต ) ขุ. ชา.  จตฺตาฬีส.  ๒๗/๕๔๒.
     
   

ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา
พุทธศาสนสุภาษิต