๕๒. อเทยฺเยสุ  อททํ  ทานํ   เทยฺเยสุ  โย  ปเวจฺฉติ
อาปาสุ  พฺยสนํ  ปตฺโต สหายํ  อธิคจฺฉติ.
ผู้ใดไม่ให้ทานในคนที่ไม่ควรให้  ย่อมให้ในคนที่ควรให้ 
ผู้นั้นประสบความเสื่อมเพราะอันตราย  ย่อมได้สหาย.
( โพธิสตฺต ) ขุ.  ชา.  จตุกฺก. ๒๗/๑๒๙.
๕๓. อเทยฺเยสุ  ททํ  ทานํ  เทยฺเยสุ  นปฺปเวจฺฉติ   
อาปาสุ  พฺยสนํ  ปตฺโต   สหายํ  นาธิคจฺฉติ.
ผู้ใดให้ทานในบุคคลที่ไม่ควรให้  ไม่ให้ในคนที่ควรให้
ผู้นั้นถึงความเสื่อมเพราะอันตราย  ย่อมไม่ได้สหาย.
( โพธิสตฺต ) ขุ.  ชา.  จตุกฺก.  ๒๗/๑๒๙.
๕๔. อนฺนโท  พลโท  โหติ วตฺถโท  โหติ  วณฺณโท
ยานโท  สุขโท  โหติ  ทีปโท  โหติ  จกฺขุโท.
ผู้ให้ข้าว  ชื่อว่าให้กำลัง  ผู้ให้ผ้า  ชื่อว่าให้ผิวพรรณ  ผู้ให้ยาน-
พาหนะ  ชื่อว่าให้ความสุข  ผู้ให้ประทีปโคมไฟ  ชื่อว่าให้จักษุ.
( พุทฺธ ) สํ.  ส.  ๑๕/๔๔.
๕๕.
ปนาปทายี  ลภเต  มนาปํ
อคฺคสฺส  ทาตา  ลภเต  ปุนคฺคํ
วรสฺส  ทาตา  วรลาภี  จ  โหติ

เสฏฺนฺทโท  เสฏฺมุเปติ  านํ.
ผู้ให้ของชอบใจ  ย่อมได้ของชอบใจ  ผู้ให้ของเลิศ  ย่อมได้
ของเลิศ  ผู้ให้ของดี  ย่อมได้ของดี  ผู้ให้ของประเสริฐ  ย่อมถึง
ฐานะอันประเสริฐ.
( พุทฺธ ) องฺ.  ปฺจก.  ๒๒/๕๖.
     
     

ทานวรรค คือ หมวดทาน
พุทธศาสนสุภาษิต