๑๐. อุฏฺาตา  กมฺมเธยฺเยสุ อปฺปมตฺโต  วิจกฺขโณ
สุสํวิหิตกมฺมนฺโต  ส  ราชวสตึ  วเส.
ผู้หมั่นในการงาน  ไม่ประมาท  เป็นผู้รอบคอบ  จัดการงาน
เรียบร้อย  จึงควรอยู่ในราชการ.
( พุทฺธ ) ขุ.  ชา.  มหา.  ๒๘/๓๓๙.
๑๑. ปาปญฺเจ  ปุริโส  กยิรา   น  นํ  กยิรา  ปุนปฺปุนํ
น  ตมฺหิ  ฉนฺทํ  กยิราถ ทุกฺโข  ปาปสฺส  อุจฺจโย.
ถ้าคนพึงทำบาป  ก็ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อย ๆ  ไม่ควรทำความพอ
ใจในบาปนั้น  เพราะการสั่งสมบาป  นำทุกข์มาให้.
( พุทฺธ )  ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๐.
๑๒. โย  ปุพฺเพ  กตกลฺยาโณ   กตตฺโถ  นาวพุชฺฌติ  
ปจฺฉา  กิจฺเจ  สมุปฺปนฺเน  กตฺตารํ  นาธิคจฺฉติ.
ผู้อื่นทำความดีให้  ทำประโยชน์ให้ก่อน  แต่ไม่สำนึกถึง
( บุญคุณ )  เมื่อมีกิจเกิดขึ้นภายหลัง  จะหาผู้ช่วยทำไม่ได้.
( โพธิสตฺต ) ขุ.  ชา.  เอก.  ๒๗/๒๙. 
๑๓.  สพฺเพ  ตสนฺติ  ทณฺฑสฺส  สพฺเพ  ภายนฺติ  มจฺจุโน
อตฺตานํ  อุปมํ  กตฺวา  น  หเนยฺย  น  ฆาตเย.
สัตว์ทั้งปวง  หวาดต่ออาญา  ล้วนกลัวต่อความตาย  ควรทำตน
ให้เป็นอุปมาแล้ว  ไม่ฆ่าเขาเอง  ไม่พึงให้ผู้อื่นฆ่า  ( ผู้อื่น ).
( พุทฺธ ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๒.
     
 

กัมมวรรค คือ หมวดกรรม
พุทธศาสนสุภาษิต