|
๔๐. |
ขนฺติ ธีรสฺส ลงฺกาโร |
ขนฺติ จดป ตปสฺสิโน |
|
ขนฺติ พลํ ว ยตีนํ |
ขนฺติ หิตสุขาวหา. |
|
ขันติเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ ขันติเป็นตบะของผู้
พากเพียร ขันติเป็นกำลังของนักพรต ขันตินำประโยชน์สุขมาให้. |
|
|
ส. ม. ๒๒๒. |
|
|
|
๔๑. |
น สุทฺธิ เสจเนน อตฺถิ |
นปิ เกวลี พฺราหฺมโณ |
|
น เจว ขนฺติ โสรจฺจํ |
นปิ โส ปรินิพฺพุโต. |
|
ความบริสุทธิ์ก็ดี ผู้ที่จะประเสริฐล้วนก็ดี ขันติและโสรัจจะก็ดี
จะเป็นผู้เย็นสนิทก็ดี ย่อมไม่มี เพราะการชำระล้าง ( ด้วยน้ำ ). |
|
( โพธิสตฺต ) |
ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ๒๗/๓๗๖. |
|
|
|
๔๒. |
นเหตมตฺถํ มหตีปิ เสนา
สราชิกา ยุชฺฌมานา ลเภถ
ยํ ขนฺติมา สปฺปุริโส ลเภถ
ขนฺติพลสฺสูปสมตฺติ เวรา.
|
|
เสนาแม้หมู่ใหญ่ พร้อมด้วยพระราชา รบอยู่ ไม่พึงได้
ประโยชน์ที่สัตบุรุษผู้มีขันติพึงได้, (เพราะว่า) เวรทั้งหลาย ของผู้มีขันติเป็นกำลัง ย่อมสงบระงับ. |
|
( โพธิสตฺต ) |
ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/๕๓๘. |
|
|
|
|
|