๑๔. อนิจฺจา  อทฺธุวา  กามา  พหุทุกฺขา  มหาวิสา
อโยคุโฬว  สนฺตตฺโต อฆมูลา  ทุกฺขปฺผลา.
กามทั้งหลาย  ไม่เที่ยง  ไม่ยั่งยืน  มีทุกข์มาก  มีพิษมาก 
ดังก้อนเหล็กที่ร้อนจัด  เป็นต้นเค้าแห่งความคับแค้น
มีทุกข์เป็นผล.
( สุเมธาเถรี ) ขุ.  เถรี.  ๒๖/๕๐๓.
     
๑๕.  อวิชฺชาย  นิวุโต  โลโก   เววิจฺฉา (ปมาทา) นปฺปกาสติ 
ชปฺปาภิเลปนํ  พฺรูมิ ทุกฺขมสฺส  มหพฺภยํ.
โลกถูกอวิชชาปิดบังแล้ว  ไม่ปรากฏ  เพราะความตระหนี่
(และความประมาท)  เรากล่าวความอยากว่า เป็นเครื่อง
ฉาบทาโลก ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น.
( พุทฺธ ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๓๐.
ขุ.  จู.  ๓๐/๙.
     
๑๖. อิจฺฉาย  พชฺฌตี  โลโก   อิจฺฉาวินยาย  มุจฺจติ
อิจฺฉาย  วิปฺปหาเนน   สพฺพํ  ฉินฺทติ  พนธนํ.
โลกถูกความอยากผูกมัดไว้ จะหลุดได้เพราะกำจัดความอยาก,
เพราะละความอยากเสียได้  จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกทั้งปวงได้.
( พุทฺธ )  สํ.  ส.  ๑๕/๕๖.
     
๑๗. อิจฺฉา  นรํ  ปริกสฺสติ  อิจฺฉา  โลกสฺมิ  ทุชฺชหา
อิจฺฉาพทฺธา  ปุถู  สตฺตา  ปาเสน  สกุณี  ยถา.
ความอยากย่อมชักลากนรชนไป  ความอยากละได้ยากในโลก,
สัตว์เป็นอันมากถูกความอยากผูกมัดไว้  ดุจนางนกถูกบ่วง
รัดไว้ฉะนั้น.
( พุทฺธ ) สํ.  ส.  ๑๕/๖๑.
     
๑๘.  อุเปกฺขโก  สทา  สโต  น  โลเก  มฺตี  สมํ 
น  วิเสสี  น  นีเจยฺโย   ตสฺส  โน  สนฺติ  อุสฺสทา.
ผู้วางเฉยมีสติทุกเมื่อ  ไม่สำคัญตนว่าเสมอเขา  ว่าดีกว่าเขา
ว่าต่ำกว่าเขาในโลก,  ผู้นั้นชื่อว่า  ไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้น.
( พุทฺธ ) ขุ.  มหา.  ๒๙/๒๗๙.
ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๐๑.
     
๑๙. อุจฺฉินฺนภวตณฺหสฺส   สนฺตจิตฺตสฺส  ภิกฺขุโน
วิกฺขีโร  ชาติสํสาโร นตฺถิ  ตสฺส  ปุนพฺภโว.
ภิกษุผู้ถอนภวตัณหาได้แล้ว  มีจิตสงบแล้ว  สิ้นความเวียน
เกิดแล้ว  ย่อมไม่มีภพอีก.
( พุทฺธ ) ขุ.  อุ.  ๒๕/๑๔๓. 
     
๒๐. เอวมาทีนวํ  ตฺวา  ตณฺหา  ทุกฺขสฺส  สมฺภวํ
วีตตณฺโห  อนาทาโน สโต  ภิกฺขุ  ปริพฺพเช.
ภิกษุรู้โทษอย่างนี้ว่า  ตัณหาเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์แล้ว  พึง
เป็นผู้ปราศจากตัณหา  ไม่ถือมั่น  มีสติอยู่ทุกอิริยาบถเถิด.
( พุทฺธ ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๔๗๘.
ขุ.  จู.  ๓๐/๓๒๐.
     
๒๑.
กามา  หิ  จิตฺรา  มธุรา  มโนรมา
วิรูปรูเปน  มเถนฺติ  จิตฺตํ
อาทีนวํ  กามคุเณสุ  ทิสฺวา
เอโก  จเร  ขคฺควิสาณกปฺโป.
กามทั้งหลาย  ตระการหวานชื่นใจ  ย่อมย่ำยีจิตโดยรูปร่างต่าง ๆ
กัน  บุคลพึงเห็นโทษในกามคุณแล้ว  เที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรด.
( พุทฺธ ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๓๔. 
     
๒๒. 
โกธํ  ชเห  วิปฺปชเหยฺย  มานํ
สฺโชนํ  สพฺพมติกฺกเมยฺย
ตํ  นามรูปสฺมิมสชฺชมานํ
อกิฺจนํ  นานุปตนฺติ  สงฺคา.
บุคคลพึงละความโกรธ  พึงเลิกถือตัว  พึงก้าวล่วงสังโยชน์
ทั้งปวง,  (เพราะ)  เครื่องข้องทั้งหลาย  ย่อมไม่ติดตามผู้ไม่ข้อง
ในนามรูป  ไม่มีกังวลนั้น
( พุทฺธ ) สํ.  ส.  ๑๕/๓๕๐.
     
๒๓.
โกธํ  ชเห  วิปฺปชเหยฺย  มานํ   
สญฺโชนํ  สพฺพมติกฺกเมยฺย
ตนฺนามรูปสฺมึ  อสชฺชมานํ
อกิฺจนํ  นานุปตนฺติ  ทุกฺขา.
บุคคลพึงละความโกรธ  พึงเลิกถือตัว  พึงก้าวล่วงสังโยชน์
ทั้งปวง,  (เพราะ)  ทุกข์ทั้งหลายย่อมไม่ติดตามผู้ไม่ข้องอยู่
ในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น.
( พุทฺธ ) ขุ.  ธ .  ๒๕/๔๔.
     
๒๔. ตณฺหา  ชเนติ  ปุริสํ  จิตฺตมสฺส  วิธาวติ
สตฺโต  สํสารมาปาทิ  ทุกฺขา  น  ปริมุจฺจติ.
ตัณหายังคนให้เกิด  จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน  สัตว์ยังท่องเที่ยวไป
จึงไม่พ้นจากทุกข์.
( พุทฺธ ) สํ.  ส.  ๑๕/๕๑.
     
๒๕.  ตณฺหา  ชเนติ  ปุริสํ   จิตฺตมสฺส  วิธาวติ
สตฺโต  สํสารมาปาทิ  ทุกฺขมสฺส  มหพฺภยํ.
ตัณหายังคนให้เกิด  จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน  สัตว์ยัง
ท่องเที่ยวไป จึงมีทุกข์เป็นภัยใหญ่.
( พุทฺธ ) สํ.  ส.  ๑๕/๕๑.
     
๒๖. ตณฺหา  ชเนติ  ปุริสํ  จิตฺตมสฺส  วิธาวติ  
สตฺโต  สํสารมาปาทิ  กมฺมํ  ตสฺส  ปรายนํ.
ตัณหายังคนให้เกิด  จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน  สัตว์ยังท่องเที่ยวไป
จึงยังมีกรรมนำหน้า.
( พุทฺธ ) สํ.  ส.  ๑๕/๕๒.
     
๒๗. ตณฺหาย  อุฑฺฑิโต  โลโก ชราย  ปริวาริโต
มจฺจุนา  ปิหิโต  โลโก ทุกฺเข  โลโก  ปติฏฺิโต.
โลกถูกตัณหาก่อขึ้น  ถูกชราล้อมไว้  ถูกมฤตยูปิดไว้  จึงตั้งอยู่
ในทุกข์.
( พุทฺธ ) สํ.  ส.  ๑๕/๕๕.
     
๒๘. นนฺทิสมฺพนฺธโน  โลโก วิตกฺกสฺส  วิจารณํ
ตณฺหาย  วิปฺปหาเนน   สพฺพํ  ฉินฺทติ  พนฺธนํ.
โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูก  มีวิตกเป็นเครื่องเที่ยวไป
เพราะละตัณหาเสียได้  จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกไว้ทั้งหมด.
( พุทฺธ ) สํ.  ส. ๑๕/๕๕.
     
๒๙. นิทฺทํ  ตนฺทึ  สเห  ถีนํ  ปมาเทน  น  สํวเส  
อติมาเน  น  ติฏฺเยฺย  นิพฺพานมนโส  นโร.
คนที่นึกถึงพระนิพพาน  พึงครอบงำความหลับ  ความ
เกียจคร้าน  ความท้อแท้,  ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท  ไม่พึงตั้ง
อยู่ในความทะนงตัว.
( พุทฺธ ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๑๘.
     
๓๐. นิราสตฺตี  อนาคเต  อตีตํ  นานุโสจติ
วิเวกทสฺสี  ผสฺเสสุ   ทิฏฺีสุ จ  น  นิยฺยติ.
ผู้ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง  ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไป
แล้ว,  ผู้เห็นความสงัดในผัสสะทั้งหลาย  ย่อมไม่ถูกชักนำไป
ในทิฏฐิทั้งหลาย.
( พุทฺธ ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๐๐. 
ขุ.  มหา.  ๒๙/๒๖๔,๒๖๒.  
     
๓๑. ปุราณํ  นาภินนฺเทยฺย  นเว  ขนฺติมกุพฺพเย
หิยฺยมาเน  น  โสเจยฺย  อากาสํ  น  สิโต  สิยา.
ไม่พึงเพลิดเพลินของเก่า  ไม่พึงทำความพอใจในของใหม่ 
เมื่อสิ่งนั้นเสื่อมไป  ก็ไม่พึงเศร้าโศก  ไม่พึงอาศัยตัณหา.
( พุทฺธ ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๑๘.
     
๓๒. มจฺจุนาพฺภาหโต  โลโก  ชราย  ปริวาริโต 
ตณฺหาสลฺเลน  โอติณฺโณ อิจฺฉาธูปายิโต  สทา.
สัตว์โลกถูกมฤตยูขจัดแล้ว  ถูกชราล้อมไว้  ถูกลูกศรคือตัณหา
เสียบแล้ว  ถูกอิจฉาคุกรุ่นแล้วทุกเมื่อ.
( พุทฺธ )  สํ.  ส.  ๑๕/๕๕.  
     
๓๓. มานุเปตา  อยํ  ปชา มานคนฺถา  มานวินิพฺพทฺธา
ทิฏฺีสุ  พฺยารมฺภกตา สํสารํ  นาติวตฺตติ.
หมู่สัตว์นี้ประกอบด้วยมานะ  มีมานะเป็นเครื่องร้อยรัด  ถูก
มานะมัดไว้  ทำความแข่งดีเพราะทิฏฐิ  ย่อมล่วงสงสารไปไม่ได้.
( พุทฺธ ) ขุ.  อุ.  ๒๕/๑๙๓.
     
๓๔. มูฬฺโห  อตฺถํ  น  ชานาติ มูฬฺโห  ธมฺมํ  น  ปสฺสติ
อนฺธตมํ  ตทา  โหติ   ยํ  โมโห  สหเต  นรํ.
ผู้หลงย่อมไม่รู้อรรถ  ผู้หลงย่อมไม่เห็นธรรม  ความหลง
ครอบงำคนใดเมื่อใด  ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น.
( พุทฺธ ) ขุ.  อิติ.  ๒๕/๒๙๖.
ขุ.  มหา.  ๒๙/๑๘.
     
๓๕. ยสฺส  นตฺถิ  อิทํ  เมติ  ปเรสํ  วาปิ  กิฺจนํ  
มมตฺตํ  โส  อสํวินฺทํ   นตฺถิ  เมติ  น  โสจติ.
ผู้ใดไม่มีกังวลว่า  นี้ของเรา  นี้ของผู้อื่น  ผู้นั้นเมื่อไม่ถือว่า
เป็นของเรา  จึงไม่เศร้าโศกว่าของเราไม่มี  ดังนี้.
( พุทฺธ ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๑๙.
ขุ.  มหา.  ๒๙/๕๓๔. 
     
๓๖. โยธ  กาเม  อจฺจุตฺตริ  สงฺคํ  โลเก  ทุรจฺจยํ
น  โส  โสจติ  นาชฺเฌติ  ฉินฺนโสโต  อพนฺธโน.
ผู้ใดข้ามพ้นกามในโลกและเครื่องข้องที่ข้ามได้ยากในโลก, 
ผู้นั้นตัดกระแสตัณหาได้แล้ว  ไม่มีเครื่องผูก, ชื่อว่าไม่เศร้าโศก
ไม่ยินดี.
( พุทฺธ ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๑๙.
ขุ.  มหา.  ๒๙/๕๒๗.  
     
๓๗.
โย  เว  อวิทฺวา  อุปธึ  กโรติ
ปุนปฺปุนํ  ทุกฺขมุเปติ  มนฺโท
ตสฺมา  ปชานํ  อุปธึ  น  กยิรา
ทุกฺขสฺส  ชาติปฺปภวานุปสฺสี.
ผู้ใดไม่รู้  ย่อมก่ออุปธิ  ผู้นั้นเป็นคนเขลา  เข้าถึงทุกข์บ่อย ๆ
เพราะฉะนั้น  ผู้รู้เห็นแดนเกิดแห่งทุกข์  จึงไม่ควรก่ออุปธิ.
( พุทฺธ ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๓๔. 
ขุ.  จู.  ๓๐/๘๐,๘๑
     
๓๘. ลุทฺโธ  อตฺถํ  น  ชานาติ  ลุทฺโธ  ธมฺมํ  น  ปสฺสติ 
อนฺธตมํ  ตทา  โหติ   ยํ  โลโภ  สหเต  นรํ.
ผู้โลภ  ย่อมไม่รู้อรรถ  ผู้โลภย่อมไม่เห็นธรรม,  ความโลภเข้า
ครอบงำคนใดเมื่อใด  ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น.
( พุทฺธ ) ขุ.  อิติ.  ๒๕/๒๙๕.
ขุ.  มหา.  ๒๙/๑๗.
     
๓๙. วนํ  ฉินฺทถ  มา  รุกฺขํ  วนโต  ชายตี  ภยํ
เฉตฺวา  วนฺจ  วนถฺจ นิพฺพนา  โหถ  ภิกฺขโว.
ท่านทั้งหลายจงตัดป่า  ( กิเลส )  อย่าตัดต้นไม้,  ภัยย่อมเกิด
จากป่า  ภิกษุทั้งหลาย !  พวกท่านจงตัดป่า  และสิ่งที่ตั้งอยู่
ในป่าแล้ว เป็นผู้ไม่มีป่า  เถิด.
( พุทฺธ ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๕๒.
     
   

กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส
พุทธศาสนสุภาษิต