๔. อปฺปมตฺตา  สตีมนฺโต สุสีลา  โหถ  ภิกฺขโว
  สุสมาหิตสงฺกปฺปา สจิตฺตมนุรกฺขถ.
  ภิกษุทั้งหลาย !  พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท  มีสติ  มีศีลดีงาม
ตั้งความดำริไว้ให้ดี  คอยรักษาจิตของตน.
  ( พุทฺธ )  ที.  มหา  ๑๐/๑๔๒.
     
๕. อปฺปมาทรตา  โหถ สจิตฺตมนุกฺขถ
  ทุคฺคา  อุทฺธรถตฺตานํ  ปงฺเก  สนฺโนว  กุฺชโร.
  ท่านทั้งหลาย  จงยินดีในความไม่ประมาท  คอยรักษาจิต
ของตน,  จงถอนตนขึ้นจากหล่ม  เหมือนช้างที่ตกหล่มถอนตนขึ้น
ฉะนั้น.
  ( พุทฺธ ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๕๘.
     
๖. อปฺปมาทรโต  ภิกฺขุ ปมาเท  ภยทสฺสิ  วา
  สฺโชนํ  อณุํ  ถูลํ ฑหํ  อคฺคีว  คจฺฉติ.
  ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท  หรือเห็นภัยในความประมาท
ย่อมเผาสังโยชน์น้อยใหญ่ไป  เหมือนไฟไหม้เชื้อน้อยใหญ่ไปฉะนั้น.
  ( พุทฺธ ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๙.
     
 ๗. อปฺปมาทรโต  ภิกฺขุ ปมาเท  ภยทสฺสิ  วา
  อภพฺโพ  ปริหานาย นิพฺพานสฺเสว  สนฺติเก.
  ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท  หรือเห็นภัยในความประมาท
เป็นผู้ไม่ควรเพือจะเสื่อม  ( ชื่อว่า )  อยู่ใกล้พระนิพพานทีเดียว.
  ( พุทฺธ ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๙.
     
๘.
เอวํวิหารี     สโต   อปฺปมตฺโต
ภิกฺขุ  จรํ  หิตฺวา  มมายิตานิ
ชาติชรํ     โสกปริทฺทวฺจ
อิเธว  วิทฺวา  ปชเหยฺย  ทุกฺขํ.
  ภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้  มีสติ  ไม่ประมาท  ละความ
ถือมั่นว่าของเราได้แล้วเที่ยวไป  เป็นผู้รู้  พึงละชาติ  ชรา  โสกะ
ปริเทวะ  และทุกข์  ในโลกนี้ได้.
  ( พุทฺธ ) ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๓๕.  
ขุ. จู.  ๓๐/๙๒.
     
๙. อุฏฺาเนนปฺปมาเทน สฺเมน  ทเมน  จ
  ทีปํ  กยิราถ  เมธาวี ยํ  โอโฆ  นาภิกีรติ.
  คนมีปัญญา  พึงสร้างเกาะ  ที่น้ำหลากมาท่วมไม่ได้  ด้วยความ
หมั่น  ความไม่ประมาท  ความสำรวม  และความข่มใจ.
  ( พุทฺธ ) ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๘.
     
 

อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท
พุทธศาสนสุภาษิต