๘๗. |
อจินฺติตมฺปิ ภวติ |
จินฺติตมฺปิ วินสฺสติ |
|
น หิ จินฺตามยา โภคา |
อิตฺถิยา ปุริสสฺส วา. |
|
สิ่งที่ไม่ได้คิดไว้ ย่อมมีได้. สิ่งที่คิดไว้ ก็เสียหายได้, โภคะ
ของสตรีหรือบุรุษที่สำเร็จได้ด้วยนึกเอาไม่มีเลย. |
|
( มหาชนกโพธิสตฺต ) |
ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๖๗. |
|
|
|
๘๘. |
อชฺฌตฺตฺจ พหิทฺธา จ |
เวทนํ นาภินนฺทโต |
|
เอวํสตสฺส จรโต |
วิฺาณํ อุปรุชฺฌติ. |
|
บุคคลไม่เพลินเวทนา ทั้งภายในทั้งภายนอก มีสติดำเนินอยู่
อย่างนี้ วิญญาณย่อมดับ. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. สุ. ๒๕/๕๔๗.
ขุ. จู. ๓๐/๒๑๘. |
|
|
|
๘๙. |
อชฺฌตฺตเมว อุปสเม
นาฺโต ภิกฺขุ สนฺติเมเสยฺย
อชฺฌตฺตํ อุปสนฺตสฺส
นตฺถิ อตฺตํ กุโต นิรตฺตํ วา.
|
|
ภิกษุพึงสงบกิเลสและบาปธรรมที่เป็นภายในเสีย, ไม่พึงแสวง
หาความสงบจากที่อื่น, เมื่อระงับภายในได้แล้ว สิ่งที่จะพึง
ยึดถือใหม่ย่อมไม่มี สิ่งที่ยึดถือไว้จำจะสละจะมีแต่ไหน. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. สุ. ๒๕/๕๑๔.
ขุ. มหา. ๒๙/๔๒๕,๔๒๖. |
|
|
|
๙๐. |
อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา กามา |
นตฺถิ กามา ปรํ ทุกฺขํ. |
|
เย กาเม ปฏิเสวนฺติ |
นิรยนฺเต อุปปชฺชเร. |
|
กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ทุกข์อันยิ่งกว่ากาม
ไม่มี ผู้ใดส้องเสพกาม ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก. |
|
( โพธิสตฺต ) |
ขุ. ชา เอกาทสก. ๒๗/๓๑๕. |
|
|
|
๙๑. |
อพฺยาปชฺโฌ สิยา เอวํ |
สจฺจวาที จ มาณโว |
|
อสฺมา โลกา ปรํ โลกํ |
เอวํ เปจฺจ น โสจติ. |
|
พึงเป็นคนไม่เบียดเบียน ( ผู้อื่น ) และกล่าวคำสัตย์อย่างนี้
ละไปจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๓๓๒. |
|
|
|
๙๒. |
อลโส คิหี กามโภคี น สาธุ
อสฺโต ปพฺพชิโต น สาธุ
ราชา น สาธุ อนิสมฺมการี
โย ปญฺฑิโต โกธโน ตํ น สาธุ.
|
|
คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเป็นผู้เกียจคร้าน ไม่ดี, บรรพชิตไม่
สำรวม ก็ไม่ดี พระราชาไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วทำ ไม่ดี.
บัณฑิตมักโกรธ ก็ไม่ดี. |
|
( โพธิสตฺต ) |
ขุ. ชา. วีส. ๒๗/๔๔๖. |
|
|
|
๙๓. |
อสาเร สารมติโน |
สาเร จาสารทสฺสิโน |
|
เต สารํ นาธิคจฺฉนฺติ |
มิีจฺฉาสงฺกปฺปโคจรา. |
|
ผู้เข้าใจสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นสิ่งที่เป็นสาระว่า
ไม่เป็นสาระ เขามีความดำริผิดเป็นโคจร จึงไม่ประสบ
สิ่งที่เป็นสาระ. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. ธ. ๒๕/๑๖. |
|
|
|
๙๔. |
อตีตํ นานุโสจนฺติ |
นปฺปชปฺปนฺติ นาคตํ |
|
ปจฺจุปฺปนฺเนน ยาเปนฺติ |
เตน วณฺโณ ปสีทติ. |
|
บุคคลไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ใฝ่หาสิ่งที่ยังมาไม่พึง,
ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพราะเหตุนั้น ผิวพรรณย่อมผ่องใส. |
|
( พุทฺธ ) |
สํ. ส. ๑๕/๗. |
|
|
|
๙๕. |
อนวฏฺิตจิตฺตสฺส |
ลหหุจิตฺตสฺส ทุพฺภิโน |
|
นิจฺจํ อทฺธุวสีลสฺส |
สุขภาโว น วิชฺชติ. |
|
เมื่อมีจิตใจไม่หนักแน่น เป็นคนใจเบา มักประทุษร้ายมิตร
มีความประพฤติกลับกลอกเป็นนิตย์ ย่อมไม่มีความสุข. |
|
( สิงฺคิลโพธิสตฺต ) |
ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๔๒. |
|
|
|
๙๖. |
อิตฺถีธุตฺโต สุราธุตฺโต |
อกฺขธุตฺโต จ โย นโร |
|
ลทฺธํ ลทฺธํ วินาเสติ |
ตํ ปราภวโต มุขํ. |
|
คนใดเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา และนักเลงการพนัน
ย่อมล้างผลาญทรัพย์ที่ตนได้แล้ว ๆ ข้อนั้นเป็นเหตุแห่ง
ผู้ฉิบหาย. |
|
( พุทฺธ ) |
สุ. ขุ. ๒๕/๓๔๗. |
|
|
|
๙๗. |
อิตฺถี มลํ พฺรหฺมจริยสฺส |
เอตฺถายํ สชฺชเต ปชา |
|
ตโป จ พฺรหฺมจริยฺจ |
ตํ สินานมโนทกํ. |
|
หญิงเป็นมลทินของพรหมจรรย์ ประชาชนนี้ข้องอยู่ในหญิงนี้
ตบะและพรหมจรรย์เป็นเครื่องอาบ ไม่ใช่น้ำ. |
|
( พุทฺธ ) |
สํ. ส. ๑๕/๕๒. |
|
|
|
๙๘. |
อุปนียติ ชีวิตมปฺปมายุํ
ชรูปนีตสฺส น สนฺติ ตาณา
เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโน
โลกามิสํ ปชเห สนฺติเปกฺโข.
|
|
ชีวิตคืออายุอันน้อยนี้ ถูกชรานำเข้าไป เมื่อสัตว์ถูกชรานำ
เข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีเครื่องต้านทาน ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น
มุ่งความสงบ พึงละโลกามิสเสีย. |
|
( พุทฺธ ) |
สํ. ส. ๑๕/๗๗. |
|
|
|
๙๙. |
อุปสนฺโต อุปรโต |
มนฺตภาณี อนุทฺธโต |
|
ธุนาติ ปาปเก ธมฺเม |
ทุมปตฺตํว มาลุโต. |
|
ผู้สงบ เว้นบาป ฉลาดพูด ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมขจัดบาปธรรม
เสียได้ เหมือนลมกำจัดใบไม้ฉะนั้น. |
|
( มหาโกฏฺิตเถร ) |
ขุ. เถร. ๒๖/๒๖๐. |
|
|
|
๑๐๐. |
เอวฺเจ สตฺตา ชาเนยฺยุ |
ทุกฺขายํ ชาติสมฺภโว |
|
น ปาโณ ปาณินํ หฺเ |
ปาณฆาตี หิ โสจติ. |
|
ถ้าสัตว์พึงรู้อย่างนี้ ' ชาติสมภพนี้เป็นทุกข์ ' สัตว์ก็ไม่ควร
ฆ่าสัตว์ เพราะผู้ฆ่าสัตว์ย่อมเศร้าโศก. |
|
( รุกฺขเทวตาโพธิสตฺต ) |
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๖. |
|
|
|
๑๐๑. |
กาเมสุ นาภิคิชฺเฌยฺย |
มนสานาวิโล สิยา |
|
กุสโล สพฺพธมฺมานํ |
สโต ภิกฺขุ ปริพฺพเช. |
|
ภิกษุไม่ควรติดในกามทั้งหลาย ควรมีใจไม่ขุ่นมัว ควรเป็น
ผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวง ควรมีสติอยู่ทุกอิริยาบถ. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. สุ. ๒๕/๕๓๑.
ขุ. จู. ๓๐/๒๖. |
|
|
|
๑๐๒. |
ตานิ เอตานิ ทิฏฺานิ |
ภวเนตฺติ สมูหตา |
|
อุจฺฉินฺนํ มูลํ ทุกฺขสฺส |
นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว. |
|
เห็นอริยสัจแล้ว ถอนตัณหาผู้นำไปสู่ภพได้แล้ว ตัดมูลรก
แห่งทุกข์ขาดแล้ว ย่อมไม่มีภพอีกต่อไป. |
|
( พุทฺธ ) |
ที. มหา. ๑๐/๑๐๗. |
|
|
|
๑๐๓. |
ทาเนน สมจริยาย |
สํยเมน ทเมน จ |
|
ยํ กตฺวา สุขิโต โหติ |
น จ ปจฺฉานุตปฺปติ. |
|
คนทำกรรมใดด้วยทาน ด้วยความประพฤติสม่ำเสมอ
ด้วยความสำรวม และด้วยการฝึกตน ย่อมมีความสุข
เพราะกรรมนั้น
ย่อมไม่ตามเผาผลาญในภายหลัง. |
|
( โพธิสตฺต ) |
ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ๒๗/๓๙๘. |
|
|
|
๑๐๔. |
นิทฺทาสีลี สภาสีลี |
อนุฏฺาตา จ โย นโร |
|
อลโส โกธปฺาโณ |
ตํ ปราภวโต มุขํ. |
|
คนใดมักหลับ มักคุย และไม่ขยัน เกียจคร้าน มีความมุทะลุ
ข้อนั้นเป็นเหตุของผู้ฉิบหาย. |
|
( พุทฺธ ) ออกสอบ ๒๕๕๕ |
ขุ. สุ. ๒๕/๓๔๖. |
|
|
|
๑๐๕. |
ธโช รถสฺส ปฺาณํ |
ธูโม ปฺาณมคฺคิโน |
|
ราชา รฏฺสฺส ปฺาณํ |
ภตฺตา ปฺาณมิตฺถิยา. |
|
ธงเป็นเครื่องปรากฏของรถ ควันเป็นเครื่องปรากฏของไฟ
พระราชาเป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น สามีเป็นเครื่องปรากฏ
ของสตรี. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๓๘๖. |
|
|
|
๑๐๖. |
ธมฺมาราโม ธมฺมรโต |
ธมฺมํ อนุวิจินฺตยํ |
|
ธมฺมํ อนุสฺสรํ ภิกฺขุ |
สทฺธมฺมา น ปริหายติ. |
|
ภิกษุรื่นรมย์ยินดีในธรรม ใคร่ครวญธรรม และระลึกถึงธรรม
อยู่เนือง ๆ ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. ธ. ๒๕/๖๕. |
|
|
|
๑๐๗. |
ปตฺถิ โลเก รโห นาม |
ปาปกมฺมํ ปกุพฺพโต |
|
ปสฺสนฺติ วนภูตานิ |
ตํ พาโล มฺเต รโห. |
|
ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำความชั่วไม่มีอยู่ในโลก, คนทั้งหลาย
เห็นเป็นป่า แต่คนเขลาสำคัญที่นั้นว่าเป็นที่ลับ. |
|
( โพธิสตฺต ) |
ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๓๑. |
|
|
|
๑๐๘. |
น สานกามสฺส ทโม อิธตฺถิ
น โมนมตฺถิ อสมาหิตสฺส
เอโก อรฺเ วิหรมฺปมตฺโต
น มจฺจุเธยฺยสฺส ตเรยฺย ปารํ.
|
|
ในโลกนี้ ผู้ที่ชอบถือตัว ย่อมไม่มีการฝึกตน, ตนมีใจไม่
มั่นคง ย่อมไม่มีความรู้, ผู้ประมาทแม้อยู่ในป่าคนเดียว
ก็ข้ามฝั่งแห่งแดนมฤตยูไม่ได้. |
|
( เทวตา ) |
สํ. ส. ๑๕/๖. |
|
|
|
๑๐๙. |
น ปเรสํ วิโลมานิ |
น ปเรสํ กตากตํ |
|
อตฺตโน ว อเวกฺเขยฺย |
กตานิ อกตานิ จ. |
|
ไม่ควรฟังคำก้าวร้าวของคนอื่น, ไม่ควรมองดูการงานของคนอื่น
ที่เขาทำแล้วยังไม่ได้ทำ, ควรพิจารณาดูแต่การงานของตนที่ตน
ทำแล้วและยังไม่ได้ทำเท่านั้น. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. ธ. ๒๕/๒๑. |
|
|
|
๑๑๐. |
ปมาทํ ภยโต ทิสฺวา |
อปฺปมาทฺจ เขมโต |
|
ภาเวถฏฺงฺคิกํ มคฺคํ |
เอสา พุทฺธานุสาสนี. |
|
เห็นความประมาทเป็นภัย และเห็นความไม่ประมาทเป็นความ
ปลอดภัยแล้ว พึงเจริญมรรคมีองค์ ๘ นี้เป็นพุทธานุศาสนี. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. จริยา. ๓๓/๕๙๕. |
|
|
|
๑๑๑. |
ปิยานํ อทสฺสนํ ทุกฺขํ |
อปฺปิยานฺจ ทสฺสนํ |
|
ตสฺมา ปิยํ น กยิราถ |
ปิยาปาโย หิ ปาปโก. |
|
การไม่เห็นสิ่งที่รักเป็นทุกข์ และการเห็นสิ่งที่ไม่รักก็เป็นทุกข์
เหตุนั้น จึงไม่ควรทำอะไรให้เป็นที่รัก เพราะความพรากจาก
สิ่งที่รัก เป็นการทราม. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. ธ. ๒๕/๔๓. |
|
|
|
๑๑๒. |
มจฺจุนพฺภาหโต โลโก |
ปริกฺขิตฺโต ชราย จ |
|
หฺติ นิจฺจมตฺตาโณ |
ปตฺตหณฺโฑว ตกฺกโร. |
|
โลกถูกมฤตยูกำจัด ถูกชราล้อมไว้ ไม่มีผู้ต้านทาน ย่อม
เดือดร้อนเป็นนิตย์ ดุจคนต้องโทษต้องทำตามอาชญาฉะนั้น. |
|
( สิริมณฺฑเถร ) |
ขุ. เถร. ๒๖/๓๓๕. |
|
|
|
๑๑๓. |
ยํ ลภติ น เตน ตุสฺสติ
ยํ ปตฺเถติ ลทฺธํ หีเฬติ
อิจฺฉา หิ อนนฺตโคจรา
วิคติจฺฉานํ นโม กโรม เส.
|
|
บุคคลได้สิ่งใด ไม่ยินดีด้วยสิ่งนั้น, ปรารถนาสิ่งใด ดูหมิ่น
สิ่งที่ได้แล้วนั้น, เพราะความต้องการไม่มีที่สุด, พวกเราจงทำ
ความนอบน้อมผู้ปราศจากความต้องการเถิด. |
|
( โพธิสตฺต ) |
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๙๔. |
|
|
|
๑๑๔. |
ยถาหิ องฺคสมฺภารา |
โหติ สทฺโท รโถ อิติ |
|
เอวํ ขนฺเธสุ สนฺเตสุ |
โหติ สตฺโตติ สมฺมติ. |
|
เหมือนอย่างว่า เพราะคุมส่วนทั้งหลายเข้า เสียงว่ารถย่อมมี
ฉันใด เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่ การสมมติว่าสัตว์ ย่อมมี
ฉันนั้น. |
|
( วชิราภิกฺขุนี ) |
สํ. ส. ๑๕/๑๙๘.
ขุ. มหา. ๒๙/๕๓๖. |
|
|
|
๑๑๕. |
ยถาปิ มูเล อนุปทฺทเว ทฬฺเห
ฉินฺโนปิ รุกฺโข ปุนเรว รูหติ
เอวมฺปิ ตณฺหานุสเย อนูหเต
นิพฺพตฺตติ ทุกฺขมิทํ ปุนปฺปุนํ.
|
|
เมื่อรากยังมั่นคงไม่มีอันตราย ต้นไม้แม้ถูกตัดแล้วย่อมงอกได้
อีกฉันใด, เมื่อตัณหานุสัยยังไม่ถูกกำจัดแล้ว ทุกข์นี้ย่อมเกิด
ร่ำไป
ฉันนั้น. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. ธ. ๒๕/๖๐. |
|
|
|
๑๑๖. |
ยสฺส ราโค จ โสโส จ |
อวิชฺชา จ วิราชิตา |
|
โส อิมํ สมุทฺทํ สคาหํ สรกฺขสํ
สอุมฺมิภยํ สุทิตฺตรํ อจฺจตริ.
|
|
ผู้สำรอกราคะโทสะและอวิชชาได้แล้ว ชื่อว่าได้ข้ามทะเลที่
มีสัตว์ร้าย มีผู้ร้าย มีภัยจากคลื่น อันข้ามไปได้ยากนักนี้. |
|
( พุทฺธ ) |
สํ. สฬ. ๑๘/๑๙๗. |
|
|
|
๑๑๗. |
ยสฺมึ กามา น วสนฺติ |
ตณฺหา ยสฺส น วิชฺชติ |
|
กถงฺกถา จ โย ติณฺโณ |
วิโมกฺโข ตสฺส นาปโร. |
|
ผู้ใดไม่มีกามอยู่ ผู้ใดไม่มีตัณหา และผู้ใดข้ามความสงสัย
ได้, ผู้นั้นย่อมมีความพ้น ที่ไม่แปรผันเป็นอย่างอื่นอีก. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. สุ. ๒๕/๕๔๓.
ขุ. จู. ๓๐/๑๗๐. |
|
|
|
๑๑๘. |
โย ทุกฺขมทฺทกฺขิ ยโตนิทานํ
กาเมสุ โส ชนฺตุ กถํ นเมยฺย
อุปธึ วิทิตฺวาน สงฺโคติ โลเก
ตสฺเสว ชนฺตุ วินยาย สิกฺเข.
|
|
ผู้ใดเป็นทุกข์ว่าเกิดเพราะกาม, ผู้นั้นจะพึงน้อม (จิต) ไปในกาม
ได้อย่างไร, ผู้รู้จักอุปธิว่าเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว พึงศึกษา
เพื่อกำจัดอุปธิเสีย. |
|
( พุทฺธ ) |
สํ. ส. ๑๕/๑๗๐. |
|
|
|
๑๑๙. |
โย เว ตํ สหตี ชมฺมี |
ตณฺหํ โลเก ทุรจฺจยํ |
|
โสกา ตมฺหา ปปตนฺติ |
อุทพินฺทุว โปกฺขรา. |
|
ผู้ใดครอบงำตัณหาลามก อันล่วงได้ยากในโลก ความโศก
ทั้งหลายย่อมตกไปจากผู้นั้น เหมือนหยาดน้ำตกจากใบบัว
ฉะนั้น. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. ธ. ๒๕/๖๐. |
|
|
|
๑๒๐. |
รเสสุ เคธํ อกรํ อโลโล
อนฺโปสี สปทานจารี
กุเล กุเล อปฺปฏิพทฺธจิตฺโต
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
|
|
ผู้ไม่โลเล ไม่ทำความติดในรส ไม่เลี้ยงผู้อื่น เที่ยว
บิณฑบาตตามลำดับ มีจิตไม่ติดในสกุล พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรด. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. สุ. ๒๕/๓๓๗.
ขุ. จู. ๓๐/๔๐๖. |
|
|
|
๑๒๑. |
ริตฺตสฺส มุนิโน จรโต |
กาเมสุ อนเปกฺขิโน |
|
โอฆติณฺณสฺส ปิหยนฺติ |
กาเมสุ คธิตา ปชา. |
|
มุนีผู้ประพฤติตนเป็นคนว่าง ไม่เยื้อใยในกรม ข้ามโอฆะได้ ประชาชนผู้ยังติดในกามก็ชอบ. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. สุ. ๒๕/๔๙๔. |
|
|
|
๑๒๒. |
วิทฺวา จ โย เวทคู นโร อิธ
ภวาภเว สงฺคมิมํ วิสชฺช
โส วีตตณฺโห อนีโฆ นิราโส
อตาริ โส ชาติชรนฺติ พฺรูมิ.
|
|
ผู้ใดรู้จบพระเวทในโลกนี้ สละเครื่องข้องในภพน้อยใหญ่ได้
แล้ว, ผู้นั้นปราศจากตัณหา ไม่มีทุกข์ ไม่มีความทะเยอทะยาน,
เรากล่าวว่า เขาข้ามชาติและชราได้. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. สุ. ๒๕/๕๓๖.
ขุ. จู. ๓๐/๑๐๔,๑๐๗ |
|
|
|
๑๒๓. |
วิเวกฺเว สิกฺเขถ |
เอตทริยานมุตฺตมํ |
|
เตน เสฏฺโ น มฺเถ |
ส เว นิพฺพานสนฺติเก. |
|
พึงศึกษาวิเวก ซึ่งเป็นคุณอันสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย,
ไม่ถือตัวว่าเป็นผู้ประเสริฐเพราะวิเวกนั้น ผู้นั้นแล ชื่อว่า
ปฏิบัติใกล้พระนิพพาน. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. สุ. ๒๕/๔๙๔.
ขุ. มหา. ๒๙/๑๙๑. |
|
|
|
๑๒๔. |
สงฺเกยฺย สงฺกิตพฺพานิ |
รกฺเขยฺยานาคตํ ภยํ |
|
อนาคตภยา ธีโร |
อุโภ โลเก อเวกฺขติ. |
|
พึงระแวงภัยที่ควรระแวง พึงระวังภัยที่ยังไม่มาถึง ผู้ฉลาด
ย่อมมองดูโลกทั้ง ๒ เพราะกลัวต่ออนาคต. |
|
( อสฺสตฺถเทวตา ) |
ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๓๖. |
|
|
|
๑๒๕. |
สฺํ ปริฺา วิตเรยฺย โอฆํ
ปริคฺคเหสุ มุนิ โนปลิตฺโต
อพฺพูฬฺหสลฺโล จรมปฺปมตฺโต
นาสึสติ โลกมิมํ ปรฺจ.
|
|
กำหนดรู้สัญญาแล้วพึงข้ามโอฆะได้ เป็นมุนีไม่ติดในสิ่งที่
หวงแหน ถอนลูกศรแล้วเที่ยวไป ไม่ประมาท ชื่อว่าไม่หวัง
โลกนี้และโลกหน้า. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. สุ. ๒๕/๔๘๖.
ขุ. มหา. ๒๙/๗๑. |
|
|
|
๑๒๖. |
สนฺตํ ตสฺส มนํ โหติ |
สนฺตา วาจา จ กมฺม จ |
|
สมฺมทฺา วิมุตฺตสฺส |
อุปสนฺตสฺส ตาทิโน. |
|
เมื่อพ้นเพราะรู้ชอบ สงบคงที่แล้ว ใจคอของเขาก็สงบ
คำพูดและการกระทำก็สงบ. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. ธ. ๒๕/๒๘. |
|
|
|
๑๒๗. |
สพฺพปาปสฺส อกรณํ |
กุสลสฺสูปสมฺปทา |
|
สจิตฺตปริโยทปนํ |
เอตํ พุทฺธานาสนํ. |
|
การไม่ทำบาปทั้งปวง การยังกุศลให้ถึงพร้อม การทำจิตของ
ตนให้ผ่องแผ้ว, ๓ ข้อนี้เป็นคำสั่งสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลาย. |
|
( พุทฺธ ) |
ขุ. ธ. ๒๕/๓๙. |
|
|
|
๑๒๘. |
สาธุ ธมฺมรุจี ราชา |
สาธุ ปฺาณวา นโร |
|
สาธุ มิตฺตานมทฺทุพฺโภ |
ปาปสฺสากรณํ สุขํ. |
|
พระราชาดี ที่ทรงยินดีในธรรม, คนดี ที่มีปัญญา, เพื่อดี
ที่ไม่ประทุษร้ายมิตร, สุข อยู่ที่ไม่ทำบาป. |
|
( โพธิสตฺต ) |
ขุ. ชา. ปฺาส. ๒๘/๒๐. |
|
|
|