๑๙๗.
โกสชฺชํ ภยโต ทิสฺวา
วิริยารมฺภญฺจ เขมโต
อารทฺธวิริยา โหถ
เอสา พุทฺธานสาสนี
.
ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านเป็นภัย และเห็นการปรารภ
ความเพียรเป็นความปลอดภัย แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็น
พุทธานุศาสนี.
( พุทฺธ )
ขุ. จริยา. ๒๒/๕๙๕.
๑๙๘.
ตุมฺเหหิ กิจฺจํ อาตปฺปํ
อกฺขาตาโร ตถาคตา
ปฏิปนฺนา ปโมกฺขนฺติ
ฌายิโน มารพนฺธนา
.
ท่านทั้งหลายต้องทำความเพียรเอง ตถาคตเป็นแต่ผู้บอก
ผู้มีปกติเพ่งพินิจดำเนินไปแล้ว จักพ้นจากเครื่องผูกของมาร.
( พุทฺธ )
ขุ. ธ. ๒๕/๕๑.
๑๙๙.
นิทฺทํ ตนฺทึ วิชิมฺหิตํ
อรตึ ภตฺตสมฺมทํ
วิริเยน นํ ปณาเมตฺวา
อริยมคฺโค วิสุชฺฌติ
.
อริยมรรคย่อมบริสุทธิ์ เพราะขับไล่ความหลับ ความเกียจคร้าน
ความบิดขี้เกียจ ความไม่ยินดี และความเมาอาหารนั้นได้ด้วย
ความเพียร.
( พุทฺธ )
สํ. ส. ๑๕/๑๐.
๒๐๐.
โย จ วสฺสสตํ ชีเว
กุสีโต หีนวีริโย
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย
วิริยํ อารภโต ทฬฺหํ
.
ผู้ใดเกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี แต่ผู้
ปรารภความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่า
ผู้นั้น.
( พุทฺธ )
ขุ. ธ. ๒๕/๓๐.
๒๐๑.
สพฺพทา สีลสมฺปนฺโน
ปญฺวา สุสมาหิโต
อารทฺธวิริโย ปหิตตฺโต
โอฆํ ตรติ ทุตฺตรํ
.
ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้ว ปรารภความ
เพียร ตั้งตนไว้ในกาลทุกเมื่อ ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก.
( พุทฺธ )
สํ. ส. ๑๕/๗๔.
วิริยวรรค คือ หมวดความเพียร
พุทธศาสนสุภาษิต
๑. หมวดตน
๒. หมวดไม่ประมาท
๓. หมวดกรรม
๔. หมวดกิเลส
๕. หมวดอดทน
๖. หมวดจิต
๗. หมวดทาน
๘. หมวดธรรม
๙. หมวดเบ็ดเตล็ด
๑๐. หมวดปัญญา
๑๑. หมวดบุคคล
๑๒. หมวดความตาย
๑๓. หมวดวาจา
๑๔. หมวดความเพียร
๑๕. หมวดสามัคคี
๑๖. หมวดศีล
๑๗. หมวดคบหา
อักษรย่อนามคัมภีร์