๑๙๑. อกกฺกสํ  วิฺาปนึ  คิรํ  สจฺจํ  อุทีรเย
  ยาย  นาภิสเช  กฺจิ ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ.
  ผู้ใด  พึงกล่าวถ้อยคำอันไม่เป็นเหตุให้ใคร ๆ  ขัดใจ  ไม่
หยาบคาย  เป็นเครื่องให้รู้ความได้และเป็นคำจริง,  เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์.
  ( พุทฺธ )  ขุ.  ธ.  ๒๕/๗๐.
๑๙๒. อกฺโกธโน  อสนฺตาสี  อวิกตฺถี อกุกฺกุจฺโจ
  มนฺตาภาณี  อนุทฺธโต ส  เว  วาจายโต  มุนิ.
  ผู้ใด  ไม่โกรธ  ไม่สะดุ้ง  ไม่โอ้อวด  ไม่รำคาญ  พูดด้วยปัญญา
ไม่ฟุ้งซ่าน  ผู้นั้นแลชื่อว่า  เป็นมุนี  มีวาจาสำรวมแล้ว.
  ( พุทฺธ )  ขุ.  สุ.  ๒๕/๕๐๐.
ขุ.  มหา.  ๒๙/๒๕๗.
๑๙๓. อพทฺธา  ตตฺถ  พชฺฌนฺติ  ยตฺถ  พาลา  ปภาสเร;
  พทฺธาปิ  ตตฺถ  มุจฺจนติ ยตฺถ  ธรีรา  ปภาสเร.
  คนเขลา  ย่อมกล่าวในเรื่องใด  ไม่ถูกผูกก็ติดในเรื่องนั้น,
คนฉลาดย่อมกล่าวในเรื่องใด  แม้ถูกผูก  ก็หลุดในเรื่องนั้น.
  ( โพธิสตฺต ) ขุ.  ชา.  เอก.  ๒๗/๓๙. 
๑๙๔.
ปรสฺส  วา  อตฺตโน  วาปิ  เหตุ
น  ภาสติ  อลิกํ  ภูริปฺโ
โส  ปูชิโต  โหติ  สภาย  มชฺเฌ
ปจฺฉาปิ  โส  สุคติคามิ  โหติ.
  ผู้มีภูมิปัญญา  ย่อมไม่พูดพล่อย ๆ  เพราะเหตุแห่งคนอื่น
หรือตนเอง  ผู้นั้นย่อมมีผู้บูชาในท่ามกลางชุมชน  แม้ภายหลัง
เขาย่อมไปสู่สุคติ.
  ( มโหสธโพธิสตฺต ) ขุ.  ชา.  วีสติ.  ๒๗/๔๒๗.
๑๙๕. ยํ  พุทฺโธ  ภาสตี  วาจํ  เขมํ  นิพฺพานปตฺติยา 
  ทุกฺขสฺสนฺตกิริยาย  สา  เว  วาจานมุตฺตมา.
  พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด  เป็นคำปลอดภัย  เพื่อบรรลุพระ
นิพพาน  และเพื่อทำที่สุดทุกข์,  พระวาจานั้นแล  เป็นสูงสุด
แห่งวาจาทั้งหลาย.
  ( วงฺคีสเถร ) ขุ.  เถร.  ๒๖/๔๓๔.
๑๙๖. สจฺจํ  เว  อมตา  วาจา  เอส  ธมฺโธ  สนนฺตโน
  สจฺเจ  อตฺเถ  จ  ธมฺเม  จ อหุ  สนฺโต  ปติฏฺิตา.
  คำสัตย์แล  เป็นวาจาไม่ตาย  นั่นเป็นธรรมเก่า  สัตบุรุษทั้งหลาย
เป็นผู้ตั้งมั่นในคำสัตย์ที่เป็นอรรถและเป็นธรรม.
  ( วงฺคีสเถร ) ขุ.  เถร.  ๒๖/๔๓๔.
     
     

วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
พุทธศาสนสุภาษิต