สุขวรรค คือ หมวดความสุข
๔๖๗.
สพฺพตฺถ ทุกฺขสฺส สุขํ ปหานํ
.
ละเหตุทุกข์ได้ เป็นสุขในที่ทั้งปวง.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.
๔๖๘.
อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก
.
ความไม่เบียดเบียน เป็นสุขในโลก.
วิ. มหา. ๔/๖. ขุ. อุ. ๒๕/๘๖.
๔๖๙.
เตสํ วูปสโม สุโข
.
ความสงบระงับแห่งสังขารนั้น เป็นสุข.
สํ. ส. ๑๕/๘. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๑.
๔๗๐.
นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ
.
ความสุข (อื่น) ยิ่งกว่าความสงบ ไม่มี.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.
๔๗๑.
นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ
.
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง.
ม. ม. ๑๓/๒๘๑. ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.
๔๗๒.
สุโข พุทฺธานํ อุปฺปาโท
.
ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ทั้งหลาย นำสุขมาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๑.
๔๗๓.
สุขา สทฺธมฺมเทสนา
.
การแสดงสัทธรรม นำความสุขมาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๑.
๔๗๔.
อทสฺสเนน พาลานํ
นิจฺจเมว สุขี สิยา
.
จะพึงมีความสุขเป็นนิตย์ ก็เพราะไม่พบเห็นคนพาล.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.
๔๗๕.
สุขํ สุปติ พุทฺโธ จ
เยน เมตฺตา สุภาวิตา
.
ผู้เจริญเมตตาดีแล้ว ย่อมหลับและตื่นเป็นสุข.
ว. ว.
๔๗๖.
น เว อนตฺถกุสเลน
อตฺถจริยา สุขาวหา
.
การประพฤติประโยชน์กับคนไม่ฉลาดในประโยชน์ ไม่นำสุขมาให้เลย.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๕.
พุทธศาสนสุภาษิต
๑๘. หมวดมฤตยู
๑๙. หมวดมิตร
๒๐. หมวดขอ
๒๑. หมวดพระราชา
๒๒. หมวดวาจา
๒๓. หมวดความเพียร
๒๔. หมวดเวร
๒๕. หมวดความสัตย์
๒๖. หมวดสติ
๒๗. หมวดศรัทธา
๒๘. หมวดสันโดษ
๒๙. หมวดสมณะ
๓๐. หมวดสามัคคี
๓๑. หมวดศีล
๓๒. หมวดสุข
๓๓. หมวดคบหา
๓๔. อักษรย่อนามคัมภีร์
๑. หมวดตน
๒. หมวดไม่ประมาท
๓. หมวดกรรม
๔. หมวดกิเลส
๕. หมวดโกรธ
๖. หมวดอดทน
๗. หมวดจิต
๘. หมวดชนะ
๙. หมวดทาน
๑๐. หมวดทุกข์
๑๑. หมวดธรรม
๑๒. หมวดเบ็ดเตล็ด
๑๓. หมวดปัญญา
๑๔. หมวดประมาท
๑๕. หมวดบาป
๑๖. หมวดบุคคล
๑๗. หมวดบุญ