อัตตวรรค คือ หมวดตน

๑. อตฺตา  หเว  ชิตํ  เสยฺโย.
  ชนะตนนั่นแหละ  เป็นดี.
  ขุ. ธ. ๒๕/๒๙.
   
๒. อตฺตา  หิ  กิร  ทุทฺทโม.
  ได้ยินว่าตนแล  ฝึกได้ยาก.
  ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.
   
๓. อตฺตา  สุทนฺโต  ปุริสสฺส  โชติ.
  ตนที่ฝึกดีแล้ว  เป็นแสงสว่างของบุรุษ.
  สํ. ส. ๑๕/๒๔๘.
   
๔. อตฺตา  หิ  อตฺตโน  นาโถ.
  ตนแล  เป็นที่พึ่งของตน.
  ขุ. ธ. ๒๕/๓๖,๖๖.
   
๕.  อตฺตา  หิ  อตฺตโน  คติ.
  ตนเทียว  เป็นคติของตน.
  ขุ. ธ. ๒๕/๖๖.
   
๖. อตฺตา  หิ  ปรมํ  ปิโย.
  ตนแล  เป็นที่รักยิ่ง.
  องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.
   
๗. นตฺถิ  อตฺตสมํ  เปมํ.
  ความรัก  (อื่น)  เสมอด้วยตนไม่มี.
  สํ. ส. ๑๕/๙.
   
๘. อตฺตนา  ว  กตํ  ปาปํ    อตฺตนา  สงฺกิลิสฺสติ.
  ตนทำบาปเอง  ย่อมเศร้าหมองเอง.
  ขุ.ธ. ๒๕/๓๗.  ขุ. มหา. ๒๙/๓๗.  ขุ.จู. ๓๐/๑๑๖.
   
๙.  อตฺตนา  อกตํ  ปาปํ    อตฺตนา  ว  วิสุชฺฌติ.
  ตนไม่ทำบาปเอง  ย่อมหมดจดเอง.
  ขุ.ธ. ๒๕/๓๗.  ขุ.มหา. ๒๙/๓๗.  ขุ.จู. ๓๐/๑๑๖.
   
๑๐. อตฺตตฺถปญฺา  อสุจี  มนุสฺสา.
  มนุษย์ผู้เห็นแก่ประโยชน์ตน  เป็นคนไม่สะอาด.
  ขุ. สุ. ๒๕/๑๓๓๙.
   
๑๑. อตฺตานํ  ทมยนฺติ  ปณฺฑิตา.
  บัณฑิต  ย่อมฝึกตน.
  ม.ม. ๑๓/๔๘๗.  ขุ.ธ. ๒๕/๒๕. ขุ. เถร. ๒๖/๓๘๙.
   
๑๒. อตฺตานํ  ทมยนฺติ  สุพฺพตา.
  ผู้ประพฤติดี  ย่อมฝึกตน.
  ขุ. ธ. ๒๕/๓๔.
   
๑๓. อตฺตนา  หิ  สุทนฺเตน    นาถํ  ลภติ  ทุลฺลภํ.
  ผู้มีตนฝึกดีแล้ว  ย่อมได้ที่พึ่งซึ่งได้ยาก.
  ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.
   
๑๔. โย  รกฺขติ  อตฺตานํ    รกฺขิโต  ตสฺส  พาหิโร.
  ผู้ใดรักษาตนได้  ภายนอกของผู้นั้นก็เป็นอันรักษาด้วย.
  องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๔๑๗.
   
๑๕. อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺา  รกฺเขยฺย  นํ  สุรกฺขิตํ.
  ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก  ก็ควรรักษาตนนั้นให้ดี.
  ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.
   
๑๖. ปริโยทเปยฺย  อตฺตานํ  จิตฺตเกฺลเสหิ  ปณฺฑิโต.
  บัณฑิตพึงทำตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมองจิต.
  สํ. มหา. ๑๙/๒๙.  ขุ. ธ. ๒๕/๒๖.
   
๑๗. อตฺตานญฺเจ  ตถา  กยิรา    ยถญฺมนุสาสติ.
  ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นฉันใด  ก็ควรทำตนฉันนั้น.
  ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.
   
๑๘. อตฺตนา  โจทยตฺตานํ.
  จงเตือนตนด้วยตนเอง.
  ขุ. ธ. ๒๕/๖๖.
   
๑๙. ปฏิมํเสตมตฺตนา.
  จงพิจารณาตนด้วยตนเอง.
  ขุ. ธ. ๒๕/๖๖.
   
๒๐. ทุคฺคา  อุทฺธรถตฺตานํ    ปงฺเก  สนฺโนว  กุญฺชโร.
  จงถอนตนขึ้นจากหล่ม  เหมือนช้างตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น.
  ขุ. ธ. ๒๕/๕๘.
   
๒๑. อตฺตานุรกฺขี  ภว  มา  อฑยฺหิ.
  จงเป็นผู้ตามรักษาตน  อย่าได้เดือดร้อน.
  ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ๒๗/๓๗๒.
   
๒๒. อตฺตานญฺจ  น  ฆาเตสิ.
  อย่าฆ่าตนเสียเลย.
  ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๒๗๙.
   
๒๓. อตฺตานํ  น  ทเท  โปโส.
  บุรุษไม่พึงให้ซึ่งตน.
  สํ. ส. ๑๕/๖๐.
   
๒๔. อตฺตานํ  น  ปริจฺจเช.
  บุรุษไม่พึงสละเสียซึ่งตน.
  สํ. ส. ๑๕/๖๐.
   
๒๕. อตฺตานํ  นาติวตฺเตยฺย.
  บุคคลไม่ควรลืมตน.
  ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/๕๐๓.
   
๒๖. อตฺตทตฺถํ  ปรตฺเถน    พหุนาปิ  น  หาปเย.
  ไม่ควรพร่าประโยชน์ตน  เพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้มาก.
  ขุ. ธ. ๒๕/๓๗.
   
๒๗. อตฺตานญฺเจ  ปิยํ  ชญฺา    น  นํ  ปาเปน  สํยุเช.
  ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก  ก็ไม่ควรประกอบตนนั้นด้วยความชั่ว.
  สํ. ส. ๑๕/๑๐๔.
   
๒๘. ยทตฺตครหี  ตทกุพฺพมาโน.
  ติตนเองเพราะเหตุใด  ไม่ควรทำเหตุนั้น.
  ขุ. ส. ๒๕/๔๘๖.



พุทธศาสนสุภาษิต