กัมมวรรค คือ หมวดกรรม

๓๘. กมฺมํ  สตฺเต  วิภชติ    ยทิทํ  หีนปฺปณีตตาย.
  กรรมย่อมจำแนกสัตว์  คือให้ทรามและประณีต.
  ม. อุป. ๑๔/๓๘๕.
   
๓๙. ยงฺกิญฺจิ  สิถิลํ  กมฺมํ    น  ตํ  โหติ  มหปฺผลํ.
  การงานอะไร ๆ ที่ย่อหย่อน  ย่อมไม่มีผลมาก.
  นัย-สํ. ส. ๑๕/๖๘.
   
๔๐. สานิ  กมฺมานิ  นยนฺติ  ทุคฺคตึ.
  กรรมชั่วของตนเอง  ย่อมนำไปสู่ทุคติ.
  ขุ. ธ. ๒๕/๔๗.
   
๔๑. สุกรํ  สาธุนา  สาธุ.
  ความดี  อันคนดีทำง่าย.
  วิ. จุล. ๗/๑๙๕.  ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๗.
   
๔๒. สาธุ  ปาเปน  ทุกฺกรํ.
  ความดี  อันคนชั่วทำยาก.
  วิ. จุล. ๗/๑๙๕.  ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๗.
   
๔๓. อกตํ  ทุกฺกฏํ  เสยฺโย.
  ความชั่ว  ไม่ทำเสียเลยดีกว่า.
  สํ. ส. ๑๕/๖๘.  ขุ. ธ. ๒๕/๕๖.
   
๔๔. ปจฺฉา  ตปฺปติ  ทุกฺกฏํ.
  ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง.
  สํ. ส. ๑๕/๖๘.  ขุ. ธ. ๒๕/๕๖.
   
๔๕. กตญฺจ  สุกตํ  เสยฺโย.
  ความดี  ทำนั่นแล  ดีกว่า.
  สํ. ส. ๑๕/๖๘.  ขุ. ธ. ๒๕/๕๖.
   
๔๖. น  ตํ  กมฺมํ  กตํ  สาธุ    ยํ  กตฺวา  อนุตปฺปติ.
  ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง  กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี.
  สํ. ส. ๑๕/๘๑.  ขุ. ธ. ๒๕/๒๓.
   
๔๗. ตญฺจ  กมฺมํ  กตํ  สาธุ    ยํ  กตฺวา  นานุตปฺปติ.
  ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง  กรรมที่ทำแล้วนั้นแลเป็นดี.
  สํ. ส. ๑๕/๘๑.  ขุ. ธ. ๒๕/๒๓.
   
๔๘. สุกรานิ  อสาธูนิ    อตฺตโน  อหิตานิ  จ.
  การที่ไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่ตน  ทำได้ง่าย.
  ขุ. ธ. ๒๕/๓๗.
   
๔๙. ยํ  เว  หิตญฺจ  สาธุญฺจ    ตํ  เว  ปรมทุกฺกรํ.
  การใดแลเป็นประโยชน์ด้วย  ดีด้วย  การนั้นแลทำได้ยากยิ่ง.
  ขุ. ธ. ๒๕/๓๗.
   
๕๐. น  หิ  ตํ  สุลภํ  โหติ    สุขํ  ทุกฺกฏการินา.
  สุขไม่เป็นผลอันคนทำชั่วจะได้ง่ายเลย.
  สํ. ส. ๑๕/๑๐๔.
   
๕๑. กลฺยาณการี  กลฺยาณํ    ปาปการี  จ  ปาปกํ.
  ทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว.
  สํ. ส. ๑๕/๓๓๓.  ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๔.
   
๕๒. กมฺมุนา  วตฺตตี  โลโก.
  สัตวโลกย่อมเป็นไปตามกรรม.
  ม. ม. ๑๓/๖๔๘.  ขุ. สุ. ๒๕/๔๕๗.
   
๕๓. นิสมฺม  กรณํ  เสยฺโย.
  ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ  ดีกว่า.
  ว. ว.
   
๕๔. กตสฺส  นตฺถิ  ปฏิการํ.
  สิ่งที่ทำแล้ว  ทำคืนไม่ได้.
  ส. ส.
   
๕๕. ปฏิกจฺเจว  ตํ  กยิรา    ยํ  ชญฺา  หิตมตฺตโน.
  รู้ว่าการใดเป็นประโยชน์แก่ตน  พึงรีบทำการนั้นเทียว.
  สํ. ส. ๑๕/๘๑.
   
๕๖. กยิรา  เจ  กยิราเถนํ.
  ถ้าจะทำ  ก็พึงทำการนั้น  (จริง ๆ).
  สํ. ส. ๑๕/๖๗.  ขุ. ธ. ๒๕๑๕๖.
   
๕๗. กเรยฺย  วากฺยํ  อนุกมฺปกานํ.
  ควรทำตามถ้อยคำของผู้เอ็นดู.
  ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๗๒.
   
๕๘. กาลานุรูปํว  ธุรํ  นิยุญฺเช.
  พึงประกอบธุระให้เหมาะแก่กาลเทียว.
  ว. ว.
   
๕๙. รกฺเขยฺย  อตฺตโน  สาธุํ    ลวณํ  โลณตํ  ยถา.
  พึงรักษาความดีของตนไว้  ดังเกลือรักษาความเค็ม.
  ส. ส.
   
๖๐. กิจฺจานุกุพฺพสฺส  กเรยฺย  กิจฺจํ.
  พึงทำกิจแก่ผู้ช่วยทำกิจ.
  ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๘๔.
   
๖๑. นานตฺถกามสฺส  กเรยฺย  อตฺถํ.
  ไม่พึงทำประโยชน์แก่ผู้มุ่งความพินาศ.
  ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๘๔.
   
๖๒. มา  จ  สาวชฺชมาคมา.
  อย่ามาถึงกรรมอันมีโทษเลย.
  ส. ฉ.


พุทธศาสนสุภาษิต