ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม
ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับปฐมศึกษา
สอบในสนามหลวง
วันพฤหัสบดี ที่ ๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖
สอบเวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.




คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว ระบายในกระดาษใบตอบ
ให้เวลา ๕๐ นาที (๕๐ ข้อ ๑๐๐ คะแนน)
   
๑. ธรรมข้อใด กำจัดความประมาทได้ ?
  ก. สติ ข. หิริ
  ค. ขันติ ง. กตัญญู
 
๒. ธรรมมีอุปการะมาก ทำให้เกิดผลดีอย่างไร ?
  ก. ความรอบคอบ ข. ความขยัน
  ค. ความอดทน ง. ความเมตตา
 
๓. ความระลึกได้ เรียกว่าอะไร ?
  ก. กตัญญู ข. หิริ
  ค. สติ ง. สัมปชัญญะ
 
๔. ความรู้ตัว เรียกว่าอะไร ?
  ก. กตัญญู ข. หิริ
  ค. สติ ง. สัมปชัญญะ
 
๕. สติควรใช้เวลาใด ?
  ก. ข้ามถนน ข. ขับรถ
  ค. ขับเรือ ง. ถูกทุกข้อ
 
๖. ธรรมเป็นโลกบาล ได้แก่ข้อใด ?
  ก. สติ สัมปชัญญะ ข. ขันติ โสรัจจะ
  ค. หิริ โอตตัปปะ ง. กตัญญู กตเวที
 
๗. หิริ คืออะไร ?
  ก. ความละอาย ข. ความอดทน
  ค. ความลำบาก ง. ความเกรงกลัว
 
๘. โอตตัปปะ คืออะไร ?
  ก. ความอดทน ข. ความเกรงกลัว
  ค. ความละอาย ง. ความลำบาก
 
๙. รังเกียจอะไร จึงเรียกว่าเป็นคนมีหิริ ?
  ก. ความชั่ว ข. คนคดโกง
  ค. คนหลอกลวง ง. คนเห็นแก่ตัว
 
๑๐. คนมีโอตตัปปะ มีลักษณะเกรงกลัวผลของอะไร ?
  ก. ความลำบาก ข. ความยากจน
  ค. ความทุกข์ ง. ความชั่ว
 
๑๑. ขันติโสรัจจะ เป็นธรรมประเภทใด ?
  ก. มีอุปการะมาก ข. เป็นโลกบาล
  ค. ทำให้งาม ง. ถูกทุกข้อ
 
๑๒. ขันติ คืออะไร ?
  ก. ความเสงี่ยม ข. ความอดทน
  ค. ความพอเพียง ง. ความระลึกได้
 
๑๓. โสรัจจะ คืออะไร ?
  ก. ความอดทน ข. ความละอาย
  ค. ความสงบเสงี่ยม ง. ความรู้ตัว
 
๑๔. คนมีขันติ มีลักษณะอย่างไร ?
  ก. ขยัน ข. ซื่อสัตย์
  ค. ประหยัด ง. อดทน
 
๑๕. คนมีโสรัจจะ มีลักษณะอย่างไร ?
  ก. สุภาพเรียบร้อย ข. อดทน
  ค. กล้าหาญ ง. ซื่อสัตย์
 
๑๖. บุพพการีของบุตรธิดา หมายถึงใคร ?
  ก. ญาติ ข. เพื่อนสนิท
  ค. ครูอาจารย์ ง. บิดามารดา
 
๑๗. จะตอบแทนบุญคุณมารดาบิดาได้ด้วยวิธีใด ?
  ก. เชื่อฟัง ข. ช่วยงาน
  ค. ตั้งใจเรียน ง. ถูกทุกข้อ
 
๑๘. คนกตัญญูกตเวที มีลักษณะอย่างไร ?
  ก. รู้รักสามัคคี ข. รู้คุณและตอบแทน
  ค. รู้หน้าที่ ง. รู้สำนึกในบุญคุณ
 
๑๙. คนไม่ลืมบุญคุณของผู้มีพระคุณ ชื่อว่ามีธรรมใดประจำใจ ?
  ก. เมตตากรุณา ข. กตัญญูกตเวที
  ค. ขันติ ง. โสรัจจะ
 
๒๐. พระรัตนตรัย ได้แก่ข้อใด ?
  ก. พระพุทธ ข. พระธรรม
  ค. พระสงฆ์ ง. ถูกทุกข้อ
 
๒๑. ผู้สืบต่อพระพุทธศาสนา คือรัตนะใด ?
  ก. พระพุทธเจ้า ข. พระธรรม
  ค. พระสงฆ์ ง. ถูกทุกข้อ
 
๒๒. คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เรียกว่าอะไร ?
  ก. พระพุทธ ข. พระธรรม
  ค. พระสงฆ์ ง. พระรัตนตรัย
 
๒๓. รักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว เป็นคุณของรัตนะใด ?
  ก. พระพุทธ ข. พระธรรม
  ค. พระสงฆ์ ง. พระรัตนตรัย
 
๒๔. การถึง (นับถือ) รัตนะทั้ง ๓ เรียกว่าอะไร ?
  ก. ไตรสิกขา ข. ไตรภูมิ
  ค. ไตรสรณคมน์ ง. ไตรเพท
 
๒๕. ผู้ที่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยแล้วสอนผู้อื่น หมายถึงใคร ?
  ก. พระพุทธ ข. พระธรรม
  ค. พระสงฆ์ ง. พระรัตนตรัย
 
๒๖. โอวาทของพระพุทธเจ้า หมายถึงข้อใด ?
  ก. เว้นทุจริต ข. ประกอบสุจริต
  ค. ทำใจให้ผ่องใส ง. ถูกทุกข้อ
 
๒๗. ประพฤติชั่วทางกายวาจาใจ เรียกว่าอะไร ?
  ก. อบายมุข ข. ทุจริต
  ค. อคติ ง. อกุศล
 
๒๘. กายทุจริต การทำความชั่วทางกาย มีกี่อย่าง ?
  ก. ข.
  ค. ง.
 
๒๙. การกระทำในข้อใด จัดเป็นกายทุจริต ?
  ก. ลักทรัพย์ ข. พูดเท็จ
  ค. โลภมาก ง. ปองร้ายเขา
 
๓๐. ผรุสวาท หมายถึงการพูดเช่นใด ?
  ก. พูดส่อเสียด ข. พูดคำหยาบ
  ค. พูดเท็จ ง. พูดเพ้อเจ้อ
 
๓๑. การกระทำในข้อใด จัดเป็นมโนทุจริต ?
  ก. ฆ่าสัตว์ ข. ลักทรัพย์
  ค. เพ้อเจ้อ ง. โลภอยากได้ของผู้อื่น
 
๓๒. สุจริต หมายถึงการประพฤติชอบทางใด ?
  ก. กาย ข. วาจา
  ค. ใจ ง. ถูกทุกข้อ
 
๓๓. การกระทำในข้อใด จัดเป็นกายสุจริต ?
  ก. ไม่พูดเท็จ ข. ไม่ลักทรัพย์
  ค. ไม่โลภ ง. ไม่ปองร้ายใคร
 
๓๔. การกระทำในข้อใด จัดเป็นวจีสุจริต ?
  ก. ไม่พูดส่อเสียด ข. ไม่ฆ่าสัตว์
  ค. ไม่โลภ ง. ไม่ปองร้ายใคร
 
๓๕. การกระทำในข้อใด จัดเป็นมโนสุจริต ?
  ก. ไม่ฆ่าสัตว์ ข. ไม่ลักทรัพย์
  ค. ไม่เพ้อเจ้อ ง. ไม่โลภ
 
๓๖. กิเลสชนิดใด เรียกว่า อกุศลมูล ?
  ก. โลภะ ข. โทสะ
  ค. โมหะ ง. ถูกทุกข้อ
 
๓๗. การทุจริตคอรัปชั่น มีอกุศลใดเป็นมูล ?
  ก. โลภะ ข. โทสะ
  ค. โมหะ ง. ถูกทุกข้อ
 
๓๘. การใช้ความรุนแรง เกิดจากอกุศลมูลใด ?
  ก. โลภะ ข. โทสะ
  ค. โมหะ ง. โลภะและโมหะ
 
๓๙. คนเชื่ออะไรง่าย ๆ ไม่ไตร่ตรอง เกิดจากอกุศลมูลใด ?
  ก. โลภะ ข. โทสะ
  ค. โมหะ ง. โลภะและโทสะ
 
๔๐. ทาน คือการให้ กำจัดอกุศลมูลใดได้ ?
  ก. โลภะ ข. โทสะ
  ค. โมหะ ง. โมหะและโทสะ
 
๔๑. เมตตา คือความรัก กำจัดอกุศลมูลใดได้ ?
  ก. โลภะ ข. โทสะ
  ค. โมหะ ง. โลภะและโมหะ
 
๔๒. ปัญญา คือความรอบรู้ กำจัดอกุศลมูลใดได้ ?
  ก. โลภะ ข. โทสะ
  ค. โมหะ ง. โลภะและโทสะ
 
๔๓. ต้นเหตุของความดี ได้แก่ข้อใด ?
  ก. อโลภะ ข. อโทสะ
  ค. อโมหะ ง. ถูกทุกข้อ
 
๔๔. ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เรียกว่าอะไร ?
  ก. ทุกข์ ข. สมุทัย
  ค. นิโรธ ง. มรรค
 
๔๕. สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เรียกว่าอะไร ?
  ก. ทุกข์ ข. สมุทัย
  ค. นิโรธ ง. มรรค
 
๔๖. ความดับทุกข์ เรียกว่าอะไร ?
  ก. ทุกข์ ข. สมุทัย
  ค. นิโรธ ง. มรรค
 
๔๗. ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกว่าอะไร ?
  ก. ทุกข์ ข. สมุทัย
  ค. นิโรธ ง. มรรค
 
๔๘. เมื่อเกิดความทุกข์ขึ้นแล้ว ในเบื้องต้นต้องทำอย่างไร ?
  ก. กำหนดรู้ทุกข์ ข. ละสมุทัย
  ค. ทำนิโรธให้เกิด ง. เจริญมรรค
 
๔๙. เส้นทางใดนำไปสู่ความดับทุกข์ได้ ?
  ก. ความเห็นชอบ ข. ทำงานสุจริต
  ค. เลี้ยงชีพชอบ ง. ถูกทุกข้อ
 
๕๐. สิ่งที่ควรทำให้เจริญ ได้แก่ข้อใด ?
  ก. ทุกข์ ข. สมุทัย
  ค. นิโรธ ง. มรรค
         
     
เอกสารอ้างอิง    
  เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๖๖.  หน้า
         

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม
ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับมัธยมศึกษา
สอบในสนามหลวง
วันพฤหัสบดี ที่ ๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖
สอบเวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.


a

คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว ระบายในกระดาษใบตอบ
ให้เวลา ๕๐ นาที (๕๐ ข้อ ๑๐๐ คะแนน)
   
๑. สมถกรรมฐาน เป็นอุบายทำให้อะไรสงบ ?
  ก. กาย ข. วาจา
  ค. ใจ ง. ปัญญา
 
๒. วิปัสสนากรรมฐาน เป็นอุบายให้เกิดอะไร ?
  ก. ศีล ข. สมาธิ
  ค. ปัญญา ง. ฌาน
 
๓. การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไร ?
  ก. จิตผ่องใส ข. ใจสงบ
  ค. รู้แจ้งเห็นจริง ง. ตัดความกังวล
 
๔. กิเลสกาม หมายถึงกิเลสใด ?
  ก. ราคะ ข. โลภะ
  ค. อิจฉา ง. ถูกทุกข้อ
 
๕. วัตถุกาม หมายถึงอะไร ?
  ก. รูปสวย ข. เสียงไพเราะ
  ค. กลิ่นหอม ง. ถูกทุกข้อ
 
๖. วัตถุกาม จัดเป็นอะไร ?
  ก. มาร ข. บ่วงแห่งมาร
  ค. เทวปุตตมาร ง. มัจจุมาร
 
๗. การบูชาด้วยเครื่องสักการะ เรียกว่าอะไร ?
  ก. อามิสบูชา ข. ปฏิปัตติบูชา
  ค. อามิสปฏิสันถาร ง. ธัมมปฏิสันถาร
 
๘. พระพุทธเจ้าสรรเสริญการบูชาประเภทใด ?
  ก. อามิสบูชา ข. ปฏิปัตติบูชา
  ค. มาฆบูชา ง. วิสาขบูชา
 
๙. การกล่าวสุนทรพจน์ จัดเข้าในหลักปฏิบัติข้อใด ?
  ก. อามิสบูชา ข. ปฏิบัติบูชา
  ค. อามิสปฏิสันถาร ง. ธัมมปฏิสันถาร
 
๑๐. การจัดเลี้ยงต้อนรับ จัดเข้าในหลักปฏิบัติข้อใด ?
  ก. อามิสบูชา ข. ปฏิบัติบูชา
  ค. อามิสปฏิสันถาร ง. ธัมมปฏิสันถาร
 
๑๑. คนมีสุขภาพดี ได้ชื่อว่ามีความสุขประเภทใด ?
  ก. อามิสสุข ข. นิรามิสสุข
  ค. กายิกสุข ง. เจตสิกสุข
 
๑๒. คนมีสุขภาพจิตดี ได้ชื่อว่ามีความสุขประเภทใด ?
  ก. อามิสสุข ข. นิรามิสสุข
  ค. กายิกสุข ง. เจตสิกสุข
 
๑๓. ข้อใด ไม่ใช่รัตนะ ๓ ?
  ก. พระพุทธ ข. พระธรรม
  ค. พระสงฆ์ ง. พระอินทร์
 
๑๔. พระมหากรุณาคุณ เป็นคุณสมบัติของรัตนะใด ?
  ก. พระพุทธ ข. พระธรรม
  ค. พระสงฆ์ ง. พระรัตนตรัย
 
๑๕. รักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว เป็นคุณของรัตนะใด ?
  ก. พระพุทธ ข. พระธรรม
  ค. พระสงฆ์ ง. พระรัตนตรัย
 
๑๖. ความนึกคิดไปในทางที่ไม่ดี เรียกว่าอะไร ?
  ก. กามวิตก ข. พยาบาทวิตก
  ค. วิหิงสาวิตก ง. อกุศลวิตก
 
๑๗. คนถูกกามวิตกครอบงำ มักมีพฤติกรรมเช่นไร ?
  ก. หมกมุ่นในกาม ข. โลภ
  ค. ปองร้าย ง. ชอบเบียดเบียน
 
๑๘. คนที่คิดจะประทุษร้ายร่างกายผู้อื่น ชื่อว่าถูกวิตกใดครอบงำ ?
  ก. กามวิตก ข. พยาบาทวิตก
  ค. วิหิงสาวิตก ง. อกุศลวิตก
 
๑๙. คนที่ชอบหาความสุขบนความทุกข์ผู้อื่น ชื่อว่าถูกวิตกใดครอบงำ ?
  ก. กามวิตก ข. พยาบาทวิตก
  ค. วิหิงสาวิตก ง. อกุศลวิตก
 
๒๐. ไฟนอกเผากาย ไฟในเผาใจ ข้อใดจัดเป็นไฟใน ?
  ก. ราคะ ข. โทสะ
  ค. โมหะ ง. ถูกทุกข้อ
 
๒๑. คนถูกไฟใดเผาลนจิต จึงประพฤติผิดในกาม ?
  ก. ไฟราคะ ข. ไฟโทสะ
  ค. ไฟโมหะ ง. ถูกทุกข้อ
 
๒๒. คนถูกไฟใดเผาลนจิต จึงหงุดหงิดโกรธง่าย ?
  ก. ไฟราคะ ข. ไฟโทสะ
  ค. ไฟโมหะ ง. ถูกทุกข้อ
 
๒๓. คนถูกไฟใดเผาลนจิต จึงหลงผิดเชื่อง่ายไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ ?
  ก. ไฟราคะ ข. ไฟโทสะ
  ค. ไฟโมหะ ง. ถูกทุกข้อ
 
๒๔. อธิปไตยใด ก่อให้เกิดความวุ่นวายแก่สังคมมากที่สุด ?
  ก. อัตตาธิปไตย ข. โลกาธิปไตย
  ค. ธัมมาธิปไตย ง. ประชาธิปไตย
 
๒๕. ประชาธิปไตย มีความหมายตรงกับอธิปไตยใด ?
  ก. อัตตาธิปไตย ข. โลกาธิปไตย
  ค. ธัมมาธิปไตย ง. ราชาธิปไตย
 
๒๖. ประชาธิปไตยล้มเหลว เพราะขาดอธิปไตยใด ?
  ก. อัตตาธิปไตย ข. โลกาธิปไตย
  ค. ธัมมาธิปไตย ง. คณาธิปไตย
 
๒๗. ปัญญาหยั่งรู้เหตุผลตามความเป็นจริง เรียกว่าอะไร ?
  ก. ฌาน ข. ญาณ
  ค. สมาบัติ ง. อภิญญา
 
๒๘. สัจจญาณ หมายถึงความรู้แจ้งในอะไร ?
  ก. ทุกข์ ข. สมุทัย
  ค. นิโรธ ง. อริยสัจ ๔
 
๒๙. สัมมาทิฏฐิ จัดเป็นอะไรในอริยสัจ ๔ ?
  ก. ทุกข์ ข. สมุทัย
  ค. นิโรธ ง. มรรค
 
๓๐. ผู้ที่จะบรรลุฌานได้ ต้องเจริญมรรคใด ?
  ก. สัมมาวาจา ข. สัมมากัมมันตะ
  ค. สัมมาวายามะ ง. สัมมาสมาธิ
 
๓๑. กิจจญาณ หมายถึงความหยั่งรู้อะไรในอริยสัจ ๔ ?
  ก. กิจควรทำ ข. กิจที่ทำแล้ว
  ค. กิจไม่ควรทำ ง. ถูกทุกข้อ
 
๓๒. กตญาณ หมายถึงความหยั่งรู้อะไรในอริยสัจ ๔ ?
  ก. กิจควรทำ ข. กิจที่ทำแล้ว
  ค. กิจไม่ควรทำ ง. ถูกทุกข้อ
 
๓๓. รูปเสียงกลิ่นรสอันน่าใคร่น่าปรารถนา จัดเป็นตัณหาประเภทใด ?
  ก. กามตัณหา ข. ภวตัณหา
  ค. วิภวตัณหา ง. ถูกทุกข้อ
 
๓๔. ความยึดติดในตำแหน่ง จัดเข้าในตัณหาประเภทใด ?
  ก. กามตัณหา ข. ภวตัณหา
  ค. วิภวตัณหา ง. ถูกทุกข้อ
 
๓๕. ความเศร้าโศก จัดเป็นอริยสัจใด ?
  ก. ทุกข์ ข. สมุทัย
  ค. นิโรธ ง. มรรค
 
๓๖. นักเรียนจะประสบความสำเร็จในการศึกษา ต้องมีหลักธรรมใด ?
  ก. จักร ๔ ข. วุฑฒิ ๔
  ค. พรหมวิหาร ๔ ง. อิทธิบาท ๔
 
๓๗. จะทำอะไรให้ประสบความสำเร็จ ควรเริ่มต้นด้วยอิทธิบาทข้อใด?
  ก. ฉันทะ ข. วิริยะ
  ค. จิตตะ ง. วิมังสา
 
๓๘. ความบากบั่นใจสู้ไม่ย่อท้อในกิจการ จัดเป็นอิทธิบาทข้อใด ?
  ก. ฉันทะ ข. วิริยะ
  ค. จิตตะ ง. วิมังสา
 
๓๙. การใช้ปัญญาพิจารณาหาเหตุผลในกิจที่ทำ จัดเป็นอิทธิบาทข้อใด ?
  ก. ฉันทะ ข. วิริยะ
  ค. จิตตะ ง. วิมังสา
 
๔๐. ความรักเมตตาไม่เลือกชาติชั้นวรรณะ จัดเข้าในหลักธรรมใด ?
  ก. เบญจศีล ข. เบญจธรรม
  ค. พรหมวิหาร ง. อัปปมัญญา
 
๔๑. ความปรารถนาให้คนอื่นเป็นสุข จัดเป็นคุณธรรมใด ?
  ก. เมตตา ข. กรุณา
  ค. มุทิตา ง. อุเบกขา
 
๔๒. ความสงสารคิดจะช่วยคนอื่นให้พ้นทุกข์ จัดเป็นคุณธรรมใด ?
  ก. เมตตา ข. กรุณา
  ค. มุทิตา ง. อุเบกขา
 
๔๓. การแสดงความยินดี เมื่อเห็นคนอื่นได้ดี ชื่อว่ามีคุณธรรมใด ?
  ก. เมตตา ข. กรุณา
  ค. มุทิตา ง. อุเบกขา
 
๔๔. มิตรปฏิรูป มีกี่ประเภท ?
  ก. ข.
  ค. ง.
 
๔๕. คนที่คบเพื่อนเพื่อหวังผลประโยชน์ จัดเป็นมิตรประเภทใด ?
  ก. ดีแต่พูด ข. ปอกลอก
  ค. หัวประจบ ง. ชักชวนในทางชั่ว
 
๔๖. ชักชวนดื่มน้ำเมา เป็นลักษณะของมิตรประเภทใด ?
  ก. ดีแต่พูด ข. ปอกลอก
  ค. ชักชวนในทางฉิบหาย ง. หัวประจบ
 
๔๗. มิตรแท้ มีกี่ประเภท ?
  ก. ข.
  ค. ง.
 
๔๘. เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งได้ เป็นลักษณะของมิตรใด ?
  ก. มีอุปการะ ข. ร่วมสุขร่วมทุกข์
  ค. แนะประโยชน์ ง. มีความรักใคร่
 
๔๙. เพื่อนที่ไม่ทิ้งเพื่อนในยามวิบัติ จัดเป็นมิตรประเภทใด ?
  ก. มีอุปการะ ข. ร่วมสุขร่วมทุกข์
  ค. แนะประโยชน์ ง. มีความรักใคร่
 
๕๐. ยามทุกข์ก็ทุกข์ด้วย ยามสุขก็สุขด้วย จัดเป็นมิตรประเภทใด ?
  ก. มีอุปการะ ข. ร่วมสุขร่วมทุกข์
  ค. แนะประโยชน์ ง. มีความรักใคร่
         
     
เอกสารอ้างอิง    
  เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๖๖.  หน้า
         

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม
ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับอุดมศึกษา
สอบในสนามหลวง
วันพฤหัสบดี ที่ ๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖
สอบเวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.


a

คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว ระบายในกระดาษใบตอบ
ให้เวลา ๕๐ นาที (๕๐ ข้อ ๑๐๐ คะแนน)
   
๑. ข้อใด เป็นธรรมมีอุปการะมาก ?
  ก. สติ สัมปชัญญะ ข. หิริ โอตตัปปะ
  ค. ขันติ โสรัจจะ ง. กตัญญู กตเวที
 
๒. ความรู้ตัว เป็นความหมายของธรรมข้อใด ?
  ก. สติ ข. สัมปชัญญะ
  ค. โอตตัปปะ ง. โสรัจจะ
 
๓. คุณธรรมที่ป้องกันไม่ให้ทำความชั่ว คือข้อใด ?
  ก. สติ สัมปชัญญะ ข. ขันติ โสรัจจะ
  ค. หิริ โอตตัปปะ ง. กตัญญู กตเวที
 
๔. ลักษณะของผู้มีหิริ คือข้อใด ?
  ก. รังเกียจคนชั่ว ข. ละอายใจไม่ทำชั่ว
  ค. กลัวผลบาป ง. กลัวคนชั่ว
 
๕. ไม่กล้าทำความชั่วเพราะกลัวบาป เป็นลักษณะของผู้มีธรรมใด ?
  ก. สติ ข. ขันติ
  ค. หิริ ง. โอตตัปปะ
 
๖. เมื่อถูกด่าว่าดูหมิ่น ควรประพฤติธรรมใด ?
  ก. โอตตัปปะ ข. สัมปชัญญะ
  ค. ขันติ ง. โสรัจจะ
 
๗. ข้อใด เป็นความหมายของคำว่า บุพพการี ?
  ก. ผู้มีพระคุณ ข. ผู้รู้พระคุณ
  ค. ผู้เกิดก่อน ง. ผู้ทำอุปการะก่อน
 
๘. ข้อใด เป็นความหมายของคำว่า กตัญญูกตเวที ?
  ก. ผู้มีพระคุณ ข. ผู้รู้บุญคุณแล้วตอบแทน
  ค. ผู้เกิดก่อน ง. ผู้ให้
 
๙. เกิดเป็นคนไทย ควรกตัญญูกตเวทีต่อใคร ?
  ก. มารดาบิดา ข. ชาติศาสนา
  ค. พระมหากษัตริย์ ง. ถูกทุกข้อ
 
๑๐. อาศัยพระคุณใดเป็นที่ตั้ง พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรม ?
  ก. พระปัญญาคุณ ข. พระบริสุทธิคุณ
  ค. พระกรุณาคุณ ง. ถูกทุกข้อ
 
๑๑. คำว่า ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอก เป็นการให้ความสำคัญกับรัตนะใด ?
  ก. พระพุทธ ข. พระธรรม
  ค. พระสงฆ์ ง. พระรัตนตรัย
 
๑๒. มรรค ผล นิพพาน เป็นธรรมรัตนะประเภทใด ?
  ก. ปริยัติ ข. ปฏิบัติ
  ค. ปฏิเวธ ง. ปาติโมกข์
 
๑๓. บุคคลที่ล่วงละเมิดศีลข้ออทินนาทาน จัดได้ว่ามีอกุศลใดเป็นมูล ?
  ก. โลภะ ข. โทสะ
  ค. โมหะ ง. ราคะ
 
๑๔. บุคคลที่ล่วงละเมิดศีลข้อปาณาติบาต จัดได้ว่ามีอกุศลใดเป็นมูล ?
  ก. โลภะ ข. โทสะ
  ค. โมหะ ง. ตัณหา
 
๑๕. คนมีปัญญาไม่เชื่อง่าย จัดได้ว่ามีกุศลใดเป็นมูล ?
  ก. อโลภะ ข. อโทสะ
  ค. อโมหะ ง. ถูกทุกข้อ
 
๑๖. วิธีการทำบุญในพระพุทธศาสนา เรียกว่าอะไร ?
  ก. ทานมัย ข. สีลมัย
  ค. ภาวนามัย ง. บุญกิริยาวัตถุ
 
๑๗. วิธีทำบุญที่มีอานิสงส์มากที่สุด คือข้อใด ?
  ก. ทานมัย ข. สีลมัย
  ค. ภาวนามัย ง. ปัตติทานมัย
 
๑๘. ประชาธิปไตยล้มเหลว เพราะขาดอธิปไตยใด ?
  ก. อัตตาธิปไตย ข. โลกาธิปไตย
  ค. ธัมมาธิปไตย ง. คณาธิปไตย
 
๑๙. อธิปไตยใด ก่อให้เกิดความวุ่นวายแก่สังคมมากที่สุด ?
  ก. อัตตาธิปไตย ข. โลกาธิปไตย
  ค. ธัมมาธิปไตย ง. ประชาธิปไตย
 
๒๐. สามัญญลักษณะ ได้แก่ข้อใด ?
  ก. อนิจจตา ข. ทุกขตา
  ค. อนัตตตา ง. ถูกทุกข้อ
 
๒๑. จะอยู่กับความทุกข์ได้โดยไม่เดือดร้อน ต้องรู้ความจริงในเรื่องใด ?
  ก. กฎธรรมชาติ ข. กฎหมาย
  ค. กฎแห่งกรรม ง. กฎกติกา
 
๒๒. ลำเอียงเพราะเกลียดชัง เรียกว่าอะไร ?
  ก. ฉันทาคติ ข. โทสาคติ
  ค. โมหาคติ ง. ภยาคติ
 
๒๓. ตำรวจไม่กล้าจับผู้ร้าย เพราะเกรงกลัวผู้มีอิทธิพล ชื่อว่ามีอคติใด ?
  ก. ฉันทาคติ ข. โทสาคติ
  ค. โมหาคติ ง. ภยาคติ
 
๒๔. เพียรกำจัดบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วในจิต เรียกว่าอะไร ?
  ก. สังวรปธาน ข. ปหานปธาน
  ค. ภาวนาปธาน ง. อนุรักขนาปธาน
 
๒๕. จะรักษาความดี ให้เหมือนเกลือรักษาความเค็ม ต้องมีปธานใด ?
  ก. สังวรปธาน ข. ปหานปธาน
  ค. ภาวนาปธาน ง. อนุรักขนาปธาน
 
๒๖. นักธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน ต้องมีหลักธรรมใด ?
  ก. อิทธิบาท ๔ ข. พรหมวิหาร ๔
  ค. ปธาน ๔ ง. อคติ ๔
 
๒๗. นักกีฬาที่ชนะได้ในสถานการณ์ที่เป็นรอง จัดได้ว่ามีอิทธิบาทข้อใด ?
  ก. ฉันทะ ข. วิริยะ
  ค. จิตตะ ง. วิมังสา
 
๒๘. เราควรปฏิบัติพรหมวิหารข้อใดต่อมนุษย์ทุกชาติชั้นวรรณะ ?
  ก. เมตตา ข. กรุณา
  ค. มุทิตา ง. อุเบกขา
 
๒๙. เราควรปฏิบัติพรหมวิหารข้อใดต่อบุคคลที่ทำชื่อเสียงให้ประเทศชาติ ?
  ก. เมตตา ข. กรุณา
  ค. มุทิตา ง. อุเบกขา
 
๓๐. เมื่อเกิดทุกข์ขึ้นแล้ว จะละก็ผิดวิธี ทำอย่างไรจึงจะถูกวิธี ?
  ก. กำหนดรู้ ข. ควรละ
  ค. ทำให้ประจักษ์แจ้ง ง. ทำให้มีขึ้น
 
๓๑. คนเป็นทุกข์ มีสาเหตุมาจากอะไร ?
  ก. กามตัณหา ข. ภวตัณหา
  ค. วิภวตัณหา ง. ถูกทุกข้อ
 
๓๒. ไม่อยากจะเป็นทุกข์ ต้องทำอย่างไร ?
  ก. กำหนดรู้ทุกข์ ข. ละสมุทัย
  ค. หาเงินไว้มาก ๆ ง. ทำประกันชีวิต
 
๓๓. ทานกถา ควรแสดงแก่คนประเภทใด ?
  ก. คนริษยา ข. คนโหดร้าย
  ค. คนลุ่มหลง ง. คนตระหนี่
 
๓๔. สีลกถา ควรแสดงแก่คนประเภทใด ?
  ก. คนริษยา ข. คนโหดร้าย
  ค. คนลุ่มหลง ง. คนตระหนี่
 
๓๕. อนุปุพพีกถาใดมีผลทำให้คนเป็นอิสระจากกามคุณ ?
  ก. ทานกถา ข. สีลกถา
  ค. สัคคกถา ง. เนกขัมมานิสังสกถา
 
๓๖. ข้อปฏิบัติของฆราวาส เรียกว่าอะไร ?;
  ก. คิหิปฏิบัติ ข. เบญจศีล
  ค. เบญจธรรม ง. กฎหมาย
 
๓๗. เอาแต่ได้ฝ่ายเดียว เป็นลักษณะของมิตรประเภทใด ?
  ก. มิตรดีแต่พูด ข. มิตรปอกลอก
  ค. มิตรหัวประจบ ง. มิตรชวนทำชั่ว
 
๓๘. พูดให้ความหวังแต่ไม่ทำตามที่พูด เป็นลักษณะของมิตรประเภทใด ?
  ก. มิตรดีแต่พูด ข. มิตรปอกลอก
  ค. มิตรหัวประจบ ง. มิตรชวนทำชั่ว
 
๓๙. มิตรที่ชอบชักชวนในเรื่องใด ชื่อว่าชักชวนในทางฉิบหาย ?
  ก. ดื่มน้ำเมา ข. เที่ยวกลางคืน
  ค. เล่นการพนัน ง. ถูกทุกข้อ
 
๔๐. พึ่งพาได้เมื่อมีภัย เป็นลักษณะของมิตรประเภทใด ?
  ก. มีอุปการะ ข. ร่วมสุขร่วมทุกข์
  ค. แนะประโยชน์ ง. มีความรักใคร่
 
๔๑. เสี่ยงตายแทนเพื่อน เป็นลักษณะของมิตรประเภทใด ?
  ก. มีอุปการะ ข. ร่วมสุขร่วมทุกข์
  ค. แนะประโยชน์ ง. มีความรักใคร่
 
๔๒. เส้นทางนำไปสู่ความเสื่อมพินาศหายนะ เรียกว่าอะไร ?
  ก. อบายมุข ข. อกุศลมูล
  ค. อคติ ง. อกุศลกรรมบถ
 
๔๓. เที่ยวกลางคืน มีโทษอย่างไร ?
  ก. ถูกระแวงสงสัย ข. มักถูกใส่ร้าย
  ค. เสียทรัพย์ ง. ถูกทุกข้อ
 
๔๔. ติดการพนัน มีโทษอย่างไร ?
  ก. เสียทรัพย์ ข. ไม่มีคนเชื่อถือ
  ค. เพื่อนดูหมิ่น ง. ถูกทุกข้อ
 
๔๕. ปุรัตถิมทิศ คือทิศเบื้องหน้า หมายถึงบุคคลในข้อใด ?
  ก. มารดาบิดา ข. ครูอาจารย์
  ค. สมณพราหมณ์ ง. มิตรสหาย
 
๔๖. ควรตอบแทนทิศเบื้องหน้าด้วยวิธีใด ?
  ก. เลี้ยงดูท่าน ข. ช่วยงานท่าน
  ค. ทำบุญอุทิศให้ ง. ถูกทุกข้อ
 
๔๗. ทักขิณทิศ คือทิศเบื้องขวา หมายถึงบุคคลในข้อใด ?
  ก. มารดาบิดา ข. มิตรสหาย
  ค. สมณพราหมณ์ ง. ครูอาจารย์
 
๔๘. ควรแสดงความเคารพต่อทิศเบื้องขวา ด้วยวิธีใด ?
  ก. ยืนต้อนรับ ข. เชื่อฟัง
  ค. ตั้งใจศึกษา ง. ถูกทุกข้อ
 
๔๙. อุปริมทิศ คือทิศเบื้องบน หมายถึงบุคคลในข้อใด ?
  ก. มารดาบิดา ข. มิตรสหาย
  ค. สมณพราหมณ์ ง. ครูอาจารย์
 
๕๐. ควรแสดงความเคารพต่อทิศเบื้องบน ด้วยวิธีใด ?
  ก. ทำดีกับท่าน ข. เต็มใจต้อนรับ
  ค. ให้ความอุปถัมภ์ ง. ถูกทุกข้อ
         
b
     
เอกสารอ้างอิง    
  เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๖๖.  หน้า
         

 

 


ข้อสอบสนามหลวง