ปัญหาและเฉลย
วิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
ธรรมสำหรับป้องกันความผิดพลาดในการทำงาน ได้แก่ข้อใด ?
ก.
สติ - สัมปชัญญะ
ข.
หิริ - โอตตัปปะ
ค.
ขันติ - โสรัจจะ
ง.
ฉันทะ - วิริยะ
๒.
ข้อใด ชื่อว่ามีสติสัมปชัญญะในการทำงาน ?
ก.
ทำด้วยความขยัน
ข.
ทำด้วยความพอใจ
ค.
ทำด้วยความตั้งใจ
ง.
ทำด้วยความไม่ประมาท
๓.
ข้อความรณรงค์ว่า เมาไม่ขับ สอนให้มีธรรมข้อใด ?
ก.
สติ
ข.
ประหยัด
ค.
ซื่อสัตย์
ง.
กตัญญู
๔.
คำว่า พระในบ้าน หมายถึงข้อใด ?
ก.
พระพุทธรูป
ข.
พระภูมิเจ้าที่
ค.
พ่อแม่
ง.
ปู่ ย่า ตา ยาย
๕.
ข้อใด เป็นลักษณะของคนมีขันติ-โสรัจจะ ?
ก.
ปิดทองหลังพระ
ข.
ทำเป็นทองไม่รู้ร้อน
ค.
ยิ้มได้เมื่อภัยมา
ง.
น้ำนิ่งไหลลึก
๖.
ชาวพุทธควรยึดถือสิ่งใดเป็นที่พึ่งสูงสุด ?
ก.
พระอินทร์
ข.
พระพิฆเณศวร์
ค.
พระพรหม
ง.
พระรัตนตรัย
๗.
คำพูดเช่นใด มีผลทำลายความสามัคคี ?
ก.
พูดปด
ข.
พูดคำหยาบ
ค.
พูดส่อเสียด
ง.
พูดเพ้อเจ้อ
๘.
เด็กติดเกมส์ เพราะมีอกุศลมูลข้อใด ?
ก.
โลภะ
ข.
โทสะ
ค.
โมหะ
ง.
ราคะ
๙.
ธรรมเป็นเครื่องนำไปสู่ความเจริญ เรียกว่าอะไร ?
ก.
สังคหวัตถุ ๔
ข.
จักร ๔
ค.
อิทธิบาท ๔
ง.
ปธาน ๔
๑๐.
ผู้ปฏิบัติตามหลักจักร ๔ จะได้รับประโยชน์อย่างไร ?
ก.
มีความเจริญ
ข.
มีความยินดี
ค.
มีความยินร้าย
ง.
มีความยุติธรรม
๑๑.
การตั้งตนไว้ชอบ หมายถึงประพฤติเช่นไร ?
ก.
ถูกใจเขา
ข.
ถูกกาลเทศะ
ค.
ถูกใจเรา
ง.
ถูกศีลธรรม
๑๒.
ความอยุติธรรมอันเกิดจากไม่รู้ข้อมูลที่แท้จริง ตรงกับข้อใด ?
ก.
ภยาคติ
ข.
ฉันทาคติ
ค.
โทสาคติ
ง.
โมหาคติ
๑๓.
หมั่นสร้างความดีให้เกิดมีขึ้นในตน ตรงกับปธาน ๔ ข้อใด ?
ก.
สังวรปธาน
ข.
ปหานปธาน
ค.
ภาวนาปธาน
ง.
อนุรักขนาปธาน
๑๔.
ปัญญา สัจจะ จาคะ อุปสมะ อยู่ในหมวดใด ?
ก.
อธิษฐาน ๔
ข.
อิทธิบาท ๔
ค.
พรหมวิหาร ๔
ง.
ปธาน ๔
๑๕.
ชาดกเรื่องพระมหาชนก เน้นคุณธรรมข้อใด ?
ก.
ฉันทะ
ข.
วิริยะ
ค.
จิตตะ
ง.
วิมังสา
๑๖.
เห็นคนอื่นได้ดีมีความสุข เราก็ยินดีด้วย ตรงกับธรรมข้อใด ?
ก.
เมตตา
ข.
กรุณา
ค.
มุทิตา
ง.
อุเบกขา
๑๗.
อะไรเป็นสมุทัยคือเหตุให้เกิดทุกข์ ?
ก.
ความเกิด
ข.
ความอยาก
ค.
ความจน
ง.
ความเจ็บ
๑๘.
เมตตามีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.
ปรารถนาให้เป็นสุข
ข.
คิดช่วยให้พ้นทุกข์
ค.
พลอยยินดี
ง.
ไม่ยินดียินร้าย
๑๙.
ธรรมข้อใด เป็นคู่ปรับกับความเกียจคร้าน ?
ก.
สัทธา
ข.
วิริยะ
ค.
ขันติ
ง.
สมาธิ
๒๐.
ขันธ์ ๕ ย่อลงเป็น ๒ อย่าง ตรงกับข้อใด ?
ก.
รูปกับนาม
ข.
สัญญากับสังขาร
ค.
นามกับสัญญา
ง.
สังขารกับวิญญาณ
๒๑.
ระวังตัวไม่ทำความชั่ว จัดเข้าในคารวธรรมข้อใด ?
ก.
พระพุทธ
ข.
พระธรรม
ค.
พระสงฆ์
ง.
ความไม่ประมาท
๒๒.
ตั้งใจศึกษา ปฏิบัติตามศีล สมาธิ ปัญญา ตรงกับคารวะใด ?
ก.
พระพุทธ
ข.
พระธรรม
ค.
พระสงฆ์
ง.
การศึกษา
๒๓.
ข้อใด มีความหมายตรงกับคำว่า สาราณิยธรรม ?
ก.
อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย
ข.
อยู่ให้เขารักจากให้เขาคิดถึง
ค.
คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย
ง.
น้ำขึ้นให้รีบตัก
๒๔.
สาราณิยธรรม สอนให้คนเป็นเช่นไร ?
ก.
มีความพอเพียง
ข.
เลี้ยงตนโดยชอบ
ค.
ไม่ประกอบอกุศล
ง.
รู้รักสามัคคี
๒๕.
ข้อใด ชื่อว่ารักษาศีลบริสุทธิ์เสมอกัน ?
ก.
มีอะไรก็แบ่งปัน
ข.
มีอะไรก็ช่วยกัน
ค.
ว่าอะไรก็ว่าตามกัน
ง.
รักษาระเบียบร่วมกัน
๒๖.
อริยทรัพย์ หมายถึงทรัพย์เช่นไร ?
ก.
ทรัพย์ภายใน
ข.
ทรัพย์ภายนอก
ค.
ทรัพย์มรดก
ง.
อสังหาริมทรัพย์
๒๗.
นกน้อยทำรังแต่พอตัว ตรงกับสัปปุริสธรรมข้อใด ?
ก.
อัตตัญญุตา
ข.
มัตตัญญุตา
ค.
กาลัญญุตา
ง.
ปริสัญญุตา
๒๘.
เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม ตรงกับข้อใด ?
ก.
อัตตัญญุตา
ข.
กาลัญญุตา
ค.
ปริสัญญุตา
ง.
มัตตัญญุตา
๒๙.
โลกธรรม หมายถึงธรรมข้อใด ?
ก.
ธรรมรักษาโลก
ข.
ธรรมเหนือโลก
ค.
ธรรมที่อยู่คู่โลก
ง.
ธรรมที่สร้างโลก
๓๐.
โลกธรรม จะเกิดขึ้นแก่ใคร ?
ก.
ข้าราชการ
ข.
คนใช้แรงงาน
ค.
คนค้าขาย
ง.
คนทุกคน
๓๑.
โลกธรรมข้อใด จัดเป็นอนิฏฐารมณ์ ?
ก.
มีลาภ
ข.
มียศ
ค.
มีสุข
ง.
มีทุกข์
๓๒.
ตามหลักโลกธรรม เมื่อถูกนินทาให้ทำอย่างไร ?
ก.
หาทางนินทาตอบ
ข.
ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา
ค.
ทำเป็นไม่สนใจ
ง.
พยายามปรับปรุงตัวเอง
๓๓.
ข้อใด จัดเป็นการทำบุญทางวาจา ?
ก.
ดูรายการธรรมทางทีวี
ข.
พูดเพื่อเอาตัวรอด
ค.
ร้องเพลงธรรมชิงรางวัล
ง.
บอกทางแก่คนหลงทาง
๓๔.
การไหว้พระสงฆ์ จัดเป็นบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ข้อใด ?
ก.
ภาวนามัย
ข.
อปจายนมัย
ค.
เวยยาวัจจมัย
ง.
ปัตติทานมัย
๓๕.
ใช้อย่างพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ตรงกับข้อใด ?
ก.
อุฏฐานสัมปทา
ข.
อารักขสัมปทา
ค.
กัลยาณมิตตตา
ง.
สมชีวิตา
๓๖.
ข้อใด จัดเป็นอุฏฐานสัมปทา ?
ก.
ขยันตื่นแต่เช้า
ข.
ขยันออกกำลังกาย
ค.
ขยันทำงาน
ง.
ขยันออกงานสังคม
๓๗.
มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท ตรงกับธรรมข้อใด ?
ก.
อุฏฐานสัมปทา
ข.
อารักขสัมปทา
ค.
กัลยาณมิตตตา
ง.
สมชีวิตา
๓๘.
อันเพื่อนดีมีหนึ่งถึงจะน้อยดีกว่าร้อยเพื่อนคิดริษยา ตรงกับข้อใด ?
ก.
อุฏฐานสัมปทา
ข.
อารักขสัมปทา
ค.
กัลยาณมิตตตา
ง.
สมชีวิตา
๓๙.
เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ตรงกับสัมปทาข้อใด ?
ก.
สัทธาสัมปทา
ข.
สีลสัมปทา
ค.
จาคสัมปทา
ง.
ปัญญาสัมปทา
๔๐.
ผู้ถือมงคลตื่นข่าว จะมีลักษณะตามข้อใด ?
ก.
ชวนกันปฏิบัติธรรม
ข.
ไหว้พระศักดิ์สิทธิ์
ค.
ไหว้เสาไม้ตะเคียน
ง.
ไหว้พระธาตุ
๔๑.
มีเงินนับเป็นน้อง มีทองนับเป็นพี่ ตรงกับคนเทียมมิตรข้อใด ?
ก.
คนปอกลอก
ข.
คนดีแต่พูด
ค.
คนหัวประจบ
ง.
คนชักชวนในทางฉิบหาย
๔๒.
ต่อหน้าว่าสรรเสริญ ลับหลังตั้งนินทา ตรงกับคนเทียมมิตรข้อใด ?
ก.
คนดีแต่พูด
ข.
คนหัวประจบ
ค.
คนปอกลอก
ง.
คนชักชวนในทางฉิบหาย
๔๓.
ลูกผู้ชายไม่ทิ้งกันในยามมีภัย จัดอยู่ในมิตรแท้ประเภทใด ?
ก.
มิตรมีอุปการะ
ข.
มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
ค.
มิตรแนะประโยชน์
ง.
มิตรมีความรักใคร่
๔๔.
เขาเป็นคนดีคงเส้นคงวา แสดงถึงคุณธรรมข้อใด ?
ก.
ทาน
ข.
ปิยวาจา
ค.
อัตถจริยา
ง.
สมานัตตตา
๔๕.
พูดแล้วต้องทำให้ได้อย่างที่พูด ตรงกับธรรมข้อใด ?
ก.
สัจจะ
ข.
ทมะ
ค.
ขันติ
ง.
จาคะ
๔๖.
งานหนักไม่เอา งานเบาไม่สู้ เพราะขาดธรรมข้อใด ?
ก.
สัจจะ
ข.
ทมะ
ค.
ขันติ
ง.
จาคะ
๔๗.
ตื่นก่อน นอนทีหลัง เป็นหน้าที่ใครปฏิบัติต่อใคร ?
ก.
ลูก-พ่อแม่
ข.
ภรรยา-สามี
ค.
ศิษย์-ครู
ง.
บ่าว-นาย
๔๘.
ข้อใด จัดเป็นมิจฉาวณิชชา ?
ก.
ขายวัตถุโบราณ
ข.
ขายสังฆภัณฑ์
ค.
ขายพระพุทธรูป
ง.
ขายอาวุธ
๔๙.
ห้ามมิให้ทำความชั่ว ให้ทำแต่ความดี เป็นความอนุเคราะห์
ของใคร ?
ก.
มารดา-บิดา
ข.
ครู-อาจารย์
ค.
ภรรยา-สามี
ง.
บุตร-ธิดา
๕๐.
ไม่มีใครเชื่อถือถ้อยคำ เป็นโทษของอบายมุขข้อใด ?
ก.
ดื่มน้ำเมา
ข.
เที่ยวกลางคืน
ค.
เล่นการพนัน
ง.
คบคนชั่วเป็นมิตร
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๓. หน้า ๑๘๔-๑๙๔.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐