ปัญหาและเฉลย
วิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
ข้อใด เป็นธรรมมีอุปการะมาก ?
ก.
หิริ โอตตัปปะ
ข.
สติ สัมปชัญญะ
ค.
กตัญญู กตเวที
ง.
ขันติ โสรัจจะ
๒.
เราควรใช้สติเมื่อใด ?
ก.
ก่อนทำ พูด คิด
ข.
ขณะทำ พูด คิด
ค.
ทำ พูด คิดเสร็จแล้ว
ง.
ข้อ ก. ข้อ ข. ถูก
๓.
เราควรใช้สัมปชัญญะเมื่อใด ?
ก.
ก่อนทำ พูด คิด
ข.
ขณะทำ พูด คิด
ค.
ทำ พูด คิดเสร็จแล้ว
ง.
ใช้ได้ตลอดกาล
๔.
ข้อใด เรียกว่าเทวธรรม ?
ก.
สติ สัมปชัญญะ
ข.
ขันติ โสรัจจะ
ค.
หิริ โอตตัปปะ
ง.
กตัญญู กตเวที
๕.
ผู้มีเทวธรรม มีลักษณะอย่างไร ?
ก.
ไม่ทำชั่วในที่ลับ
ข.
ไม่ทำชั่วในที่แจ้ง
ค.
ไม่ทำชั่ว ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง
ง.
ไม่ทำชั่ว เพราะกลัวถูกประณาม
๖.
ข้อใด เป็นลักษณะของโอตตัปปะ ?
ก.
ละอายความชั่ว
ข.
กลัวถูกลงโทษ
ค.
ละอายตนเอง
ง.
กลัวผลของความชั่ว
๗.
ผู้งดงามทั้งนอกทั้งใน เพราะมีคุณธรรมข้อใด ?
ก.
หิริ โอตตัปปะ
ข.
สติ สัมปชัญญะ
ค.
ขันติ โสรัจจะ
ง.
กตัญญู กตเวที
๘.
นาย ก. ถูกนาย ข. ทำร้าย อดกลั้นไว้ได้ เพราะมีคุณธรรมอะไร ?
ก.
หิริ
ข.
โอตตัปปะ
ค.
ขันติ
ง.
สติ
๙.
ความทนต่อความหนาวร้อน มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.
ทนต่อความเจ็บใจ
ข.
ทนต่อความตรากตรำ
ค.
ทนต่อความอยาก
ง.
ทนต่อความทุกข์ทรมาน
๑๐.
ข้อใด เป็นความหมายของคำว่า
“ กตเวที ”
?
ก.
ทำอุปการะก่อน
ข.
รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว
ค.
ตอบแทนคุณท่าน
ง.
รู้อุปการะและตอบแทนคุณ
๑๑.
ผู้ใดไม่ชื่อว่า บุพพการี ?
ก.
บิดา มารดา
ข.
พระมหากษัตริย์
ค.
บุตร ธิดา
ง.
ครู อาจารย์
๑๒.
ชาวพุทธมีอะไร เป็นสรณะ ?
ก.
ไตรสิกขา
ข.
ไตรมาส
ค.
ไตรลักษณ์
ง.
ไตรรัตน์
๑๓.
พระธรรม คืออะไร ?
ก.
หนังสือธรรมะ
ข.
คัมภีร์เทศน์
ค.
คำสุภาษิต
ง.
คำสั่งสอน
๑๔.
ข้อใด เป็นคุณของพระธรรม ?
ก.
รักษาผู้ปฏิบัติให้ร่ำรวย
ข.
รักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว
ค.
รักษาผู้ปฏิบัติให้มีความสุข
ง.
รักษาผู้ปฏิบัติให้เจริญ
๑๕.
สงฆ์ในคำว่า “
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ”
หมายถึงใคร ?
ก.
ภิกษุสงฆ์
ข.
ภิกษุณีสงฆ์
ค.
อริยสงฆ์
ง.
สมมติสงฆ์
๑๖.
โอวาทของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักการ คืออะไร ?
ก.
ไม่คบคนชั่ว คบคนดี มีเมตตา
ข.
ไม่ทำชั่ว ทำดี กตัญญู
ค.
ไม่ทำชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส
ง.
ทำดี ทำใจให้ผ่องใส มีสัตย์
๑๗.
ทุจริต หมายถึงการประพฤติเช่นไร ?
ก.
กาย วาจา ชอบ
ข.
กาย วาจา มิชอบ
ค.
กาย วาจา ใจ ชอบ
ง.
กาย วาจา ใจ มิชอบ
๑๘.
นักเรียนสั่งซื้อยาบ้าเพื่อจะเสพ จัดเป็นทุจริตข้อใด ?
ก.
กายทุจริต
ข.
วจีทุจริต
ค.
มโนทุจริต
ง.
ถูกทุกข้อ
๑๙.
“ ยุให้รำ ตำให้รั่ว ”
เป็นลักษณะของคำพูดในข้อใด ?
ก.
พูดเท็จ
ข.
พูดคำหยาบ
ค.
พูดส่อเสียด
ง.
พูดเพ้อเจ้อ
๒๐.
ทุจริต ๓ อย่าง เป็นธรรมประเภทใด ?
ก.
ธรรมที่ควรศึกษา
ข.
ธรรมที่ควรละ
ค.
ธรรมที่ควรรู้
ง.
ธรรมที่ควรเห็น
๒๑.
มูลเหตุแห่งความผิดของคน คืออะไร ?
ก.
โลภะ โทสะ โมหะ
ข.
มานะ โทสะ โมหะ
ค.
ราคะ โทสะ โมหะ
ง.
ตัณหา ราคะ ทิฏฐิ
๒๒.
ฉ้อราษฎร์บังหลวง มีอะไรเป็นมูลเหตุ ?
ก.
โลภะ โทสะ
ข.
โลภะ ตัณหา
ค.
โลภะ ทิฏฐิ
ง.
โลภะ โมหะ
๒๓.
คำว่า
“ อารมณ์เสีย อารมณ์เน่า ”
เทียบได้กับข้อใด ?
ก.
มานะ
ข.
โกธะ
ค.
โลภะ
ง.
พยาบาท
๒๔.
ข้อใด ไม่จัดเข้าในสัปปุริสบัญญัติ ?
ก.
ทาน
ข.
ศีล
ค.
ปัพพัชชา
ง.
มาตาปิตุอุปัฏฐาน
๒๕.
สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ เรียกว่าอะไร ?
ก.
บุญกิริยา
ข.
บุญวัตถุ
ค.
สังคหวัตถุ
ง.
บุญกิริยาวัตถุ
๒๖.
การสวดมนต์ จัดเข้าในการทำบุญประเภทใด ?
ก.
ทานมัย
ข.
สีลมัย
ค.
ภาวนามัย
ง.
ธัมมเทสนามัย
๒๗.
คนมีบุญ คือคนเช่นไร ?
ก.
มีลาภ มียศ
ข.
มีคนสรรเสริญ
ค.
ไม่มีคนนินทา
ง.
สุขกาย สุขใจ
๒๘.
คบคนดี ฟังวจีโดยเคารพ นอบนบด้วยพินิจ ทำกิจด้วยปฏิบัติ
ตรงกับข้อใด ?
ก.
วุฒิธรรม
ข.
จักรธรรม
ค.
อิทธิบาทธรรม
ง.
พรหมวิหารธรรม
๒๙.
คำว่า
“ บุญใหม่ ”
ตรงกับข้อใด ?
ก.
อยู่ในประเทศสมควร
ข.
คบสัตบุรุษ
ค.
ตั้งตนไว้ชอบ
ง.
ได้ทำความดีไว้ในปางก่อน
๓๐.
ค่าของคนอยู่ที่คนของใคร เป็นลักษณะของอคติข้อใด ?
ก.
ฉันทาคติ
ข.
โทสาคติ
ค.
โมหาคติ
ง.
ภยาคติ
๓๑.
“ ผมเป็นลูกนายตำรวจครับ ”
การโอ้อวดเช่นนี้ เป็นเหตุให้เกิดอคติ
ข้อใด ?
ก.
ฉันทาคติ
ข.
โทสาคติ
ค.
ภยาคติ
ง.
โมหาคติ
๓๒.
ข้อใด ตรงกับสังวรปธาน ?
ก.
เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
ข.
เพียรระวังมิให้บาปเกิดขึ้น
ค.
เพียรให้กุศลเกิดขึ้น
ง.
เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นไม่ให้เสื่อม
๓๓.
อิทธิบาทข้อใด เป็นพื้นฐานนำไปสู่ความสำเร็จของงาน ?
ก.
ฉันทะ
ข.
จิตตะ
ค.
วิริยะ
ง.
วิมังสา
๓๔.
การเอาใจฝักใฝ่ในการศึกษาไม่วางธุระ คือข้อใด ?
ก.
ฉันทะ
ข.
วิริยะ
ค.
จิตตะ
ง.
วิมังสา
๓๕.
การช่วยคนประสบทุกข์ จัดเป็นพรหมวิหารข้อใด ?
ก.
เมตตา
ข.
กรุณา
ค.
มุทิตา
ง.
อุเบกขา
๓๖.
ความดับตัณหาได้สิ้นเชิง ทุกข์ดับไปหมด ชื่อว่าอะไร ?
ก.
ทุกข์
ข.
สมุทัย
ค.
นิโรธ
ง.
มรรค
๓๗.
สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ คืออะไร ?
ก.
เห็นอริยสัจ
ข.
เห็นอริยทรัพย์
ค.
เห็นอริยสงฆ์
ง.
เห็นอริยสาวก
๓๘.
การพิจารณาความตายเนือง ๆ มีประโยชน์อย่างไร ?
ก.
บรรเทาความเมาในวัย
ข.
บรรเทาความเมาในชีวิต
ค.
บรรเทาความยึดมั่น
ง.
บรรเทาความเห็นแก่ตัว
๓๙.
ข้อใด เป็นอานิสงส์ของการฟังธรรมโดยตรง ?
ก.
ทำให้ได้บุญ
ข.
ทำให้เกิดสมาธิ
ค.
ทำให้ละกิเลส
ง.
ทำให้เกิดปัญญา
๔๐.
ปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าเคารพในการศึกษา ?
ก.
ขยันไปโรงเรียน
ข.
ขยันอ่านหนังสือ
ค.
ขยันหาความรู้
ง.
ขยันทำการบ้าน
๔๑.
สาราณิยธรรม คือธรรมเช่นไร ?
ก.
ธรรมที่เป็นแก่นสาร
ข.
ธรรมของผู้ทรงศีล
ค.
ธรรมเป็นเหตุบริจาค
ง.
ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน
๔๒.
“ อย่าชิงสุกก่อนห่าม ”
ตรงกับหลักธรรมข้อใด ?
ก.
กาลัญญุตา
ข.
อัตตัญญุตา
ค.
ปริสัญญุตา
ง.
ธัมมัญญุตา
๔๓.
ข้อใด เป็นอิฏฐารมณ์ทั้งหมด ?
ก.
ลาภ เสื่อมลาภ สุข ทุกข์
ข.
ยศ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์
ค.
สุข ทุกข์ สรรเสริญ นินทา
ง.
ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
๔๔.
ทำอย่างไร จึงจะตั้งตัวได้ในโลกนี้ ?
ก.
เว้นจากอบายมุข
ข.
บำเพ็ญสังคหวัตถุ
ค.
คบกัลยาณมิตร
ง.
บำเพ็ญทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์
๔๕.
ข้อใด เป็นลักษณะของคนดีแต่พูด ?
ก.
คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์
ข.
สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้
ค.
ต่อหน้าว่าสรรเสริญ
ง.
คิดแต่ได้ฝ่ายเดียว
๔๖.
คนเทียมมิตรเช่นไร ที่ควรหลีกเลี่ยงให้ไกลที่สุด ?
ก.
มิตรชักชวนในทางฉิบหาย
ข.
มิตรหัวประจบ
ค.
มิตรดีแต่พูด
ง.
มิตรปอกลอก
๔๗.
อัตถจริยาในสังคหวัตถุ หมายความว่าอย่างไร ?
ก.
โอบอ้อมอารีย์
ข.
วจีไพเราะ
ค.
สงเคราะห์ชุมชน
ง.
วางตนพอดี
๔๘.
ฆราวาสธรรม คือข้อใด ?
ก.
สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ
ข.
สัทธา สีล จาคะ ปัญญา
ค.
ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
ง.
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
๔๙.
“ งบประมาณขาดดุล ”
ชื่อว่าขาดธรรมข้อใด ?
ก.
อัตถจริยา
ข.
สมชีวิตา
ค.
สมานัตตตา
ง.
กัลยาณมิตตตา
๕๐.
ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ข้อใด ?
ก.
สมณะ
ข.
อาจารย์
ค.
มารดาบิดา
ง.
มิตร
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๔๖. หน้า ๑๑๕-๑๒๕.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐