ปัญหาและเฉลย
วิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันอังคาร ที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.




คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว ในช่องที่ต้องการ
ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
   
๑. ข้อใด เป็นธรรมมีอุปการะมาก ?
  ก. สติ สัมปชัญญะ ข. หิริ โอตตัปปะ
  ค. ขันติ โสรัจจะ ง. กตัญญู กตเวที
 
๒. เราควรใช้สัมปชัญญะเมื่อใด ?
  ก. ขณะทำพูดคิด ข. ก่อนทำพูดคิด
  ค. หลังทำพูดคิด ง. ก่อนทำขณะพูดคิด
 
๓. ข้อใด เป็นลักษณะของคนมีสติสัมปชัญญะ ?
  ก. กล้าหาญอดทน ข. ซื่อสัตย์สุจริต
  ค. ไม่ประมาท ง. อายชั่วกลัวบาป
 
๔. ธรรมข้อใด คุ้มครองโลกให้สงบสุข ?
  ก. สติ สัมปชัญญะ ข. ขันติ โสรัจจะ
  ค. หิริ โอตตัปปะ ง. กตัญญู กตเวที
 
๕. คนมีหิริ มีลักษณะเช่นใด ?
  ก. รังเกียจคนชั่ว ข. ละอายบาป
  ค. เกรงกลัวบาป ง. เกรงกลัวคนชั่ว
 
๖. ธรรมข้อใด ทำให้งดงามทั้งภายในภายนอก ?
  ก. หิริ โอตตัปปะ ข. สติ สัมปชัญญะ
  ค. ขันติ โสรัจจะ ง. กตัญญู กตเวที
 
๗. ผู้ถูกดูหมิ่นได้รับความเจ็บใจ แต่ยิ้มแย้มได้ เพราะมีธรรมข้อใด ?
  ก. หิริ ข. สติ
  ค. โสรัจจะ ง. ขันติ
 
๘. ข้อใด เป็นความหมายของกตเวที ?
  ก. ทดแทนบุญคุณ ข. เกื้อกูลผู้อื่น
  ค. รู้จักบุญคุณ ง. ทำคุณไว้ก่อน
 
๙. ไม้เท้าผู้เฒ่าดีกว่าลูกเต้าอกตัญญู แสดงถึงลูกประเภทใด ?
  ก. เนรคุณ ข. ตอบแทนคุณ
  ค. รู้บุญคุณ ง. ทำบุญคุณ
 
๑๐. ชาวพุทธมีอะไรเป็นที่พึ่ง ?
  ก. พระรัตนตรัย ข. ไตรสิกขา
  ค. บุญกิริยาวัตถุ ง. บุญกุศล
 
๑๑. องค์ประกอบสำคัญของพระพุทธศาสนาคืออะไร ?
  ก. พระรัตนตรัย ข. พุทธบริษัท
  ค. ไตรสิกขา ง. ไตรปิฎก
 
๑๒. ข้อใด เป็นคุณของพระธรรม ?
  ก. ทำให้เป็นคนเจริญ ข. ทำให้เป็นคนมั่งมี
  ค. ทำให้เป็นคนร่ำรวย ง. ทำให้ไม่เป็นคนชั่ว
 
๑๓. ข้อใด เป็นคุณของพระสงฆ์ ?
  ก. สอนให้รู้ตาม ข. รักษาผู้ปฏิบัติ
  ค. สอนให้ทำตาม ง. รู้แจ้งเอง
 
๑๔. หลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา คือข้อใด ?
  ก. ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส ข. ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา
  ค. เชื่อกรรม ผลของกรรม ง. ประพฤติสุจริต ๓
 
๑๕. ทุจริต หมายถึงอะไร ?
  ก. ทำดี ข. ทำชั่ว
  ค. ทำทาน ง. ทำสมาธิ
 
๑๖. ข้อใด จัดเป็นกายทุจริต ?
  ก. ประพฤตินอกใจ ข. พยาบาทปองร้าย
  ค. ใส่ร้ายป้ายสี ง. ยุยงให้แตกแยก
 
๑๗. ข้อใด จัดเป็นวจีทุจริต ?
  ก. เห็นบอกว่าไม่เห็น ข. รู้บอกว่าไม่รู้
  ค. ทำบอกว่าไม่ทำ ง. ถูกทุกข้อ
 
๑๘. ยุยงให้แตกแยกกัน จัดเป็นวจีทุจริตข้อใด ?
  ก. พูดเท็จ ข. พูดส่อเสียด
  ค. พูดคำหยาบ ง. พูดเพ้อเจ้อ
 
๑๙. เห็นคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ตรงกับข้อใด ?
  ก. กายทุจริต ข. วจีทุจริต
  ค. มโนทุจริต ง. ถูกทุกข้อ
 
๒๐. เห็นไม่ผิดจากคลองธรรม คือเห็นเช่นไร ?
  ก. ทำดีได้ดี ข. ทำดีได้ชั่ว
  ค. ดีชั่วอยู่ที่ผู้อื่น ง. ทำชั่วได้ดี
 
๒๑. วจีสุจริตข้อใด ส่งเสริมความปรองดอง ?
  ก. ไม่พูดส่อเสียด ข. ไม่พูดเท็จ
  ค. ไม่พูดคำหยาบ ง. ไม่พูดเพ้อเจ้อ
 
๒๒. ข้อใด จัดเป็นผลของวจีสุจริต ?
  ก. มีคนเชื่อถือ ข. มีคนเห็นใจ
  ค. มีทรัพย์มาก ง. มีบริวารมาก
 
๒๓. ข้อใด จัดเป็นโลภะ ?
  ก. อยากไปสวรรค์ ข. อยากเป็นหมอ
  ค. อยากร่ำรวย ง. อยากได้โดยทุจริต
 
๒๔. ข้อใด จัดเป็นโทสะ ?
  ก. คิดประทุษร้าย ข. คิดริษยา
  ค. คิดจองเวร ง. คิดอาฆาต
 
๒๕. การลบหลู่บุญคุณท่าน เกิดจากอกุศลมูลข้อใด ?
  ก. โลภะ ข. โทสะ
  ค. โมหะ ง. ถูกทุกข้อ
 
๒๖. อโลภะ เป็นมูลเหตุแก้ปัญหาเรื่องใด ?
  ก. ใส่ร้ายป้ายสี ข. ทุจริตคอรัปชั่น
  ค. หลงงมงาย ง. ทะเลาะวิวาท
 
๒๗. ข้อใด เป็นมูลเหตุให้เกิดเมตตากรุณา ?
  ก. ก.อโลภะ ข. อโทสะ
  ค. อโมหะ ง. อวิชชา
 
๒๘. การให้ทานในสัปปุริสบัญญัติ ตรงกับข้อใด ?
  ก. ให้วัตถุสิ่งของ ข. ให้ความรู้
  ค. ให้ธรรมะ ง. ให้อภัย
 
๒๙. บุคคลเช่นไร จัดเป็นสัตบุรุษ ?
  ก. คนมีความรู้ ข. คนขยัน
  ค. คนมีคุณธรรม ง. คนฉลาด
 
๓๐. ผลบุญย่อมติดตามผู้กระทำ เปรียบเหมือนอะไร ?
  ก. มิตรสหาย ข. เจ้าหนี้
  ค. เงา ง. ลูกหนี้
 
๓๑. อยากสวยงาม ต้องบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุข้อใด ?
  ก. ให้ทาน ข. รักษาศีล
  ค. เจริญภาวนา ง. ฟังธรรม
 
๓๒. วุฒิธรรมข้อใด ทำให้เป็นคนมีความคิดรอบครอบ ?
  ก. สัปปุริสสังเสวะ ข. สัทธัมมัสสวนะ
  ค. โยนิโสมนสิการ ง. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ
 
๓๓. การอยู่ในถิ่นฐานอันสมควรเป็นเหตุให้เจริญ ตรงกับข้อใด ?
  ก. ปฏิรูปเทสวาสะ ข. สัปปุริสูปัสสยะ
  ค. อัตตสัมมาปณิธิ ง. ปุพเพกตปุญญตา
 
๓๔. ปุพเพกตปุญญตา มีความหมายตรงกับข้อใด ?
  ก. ตั้งใจจะทำบุญ ข. ทำบุญไว้ปางก่อน
  ค. ทำบุญในปัจจุบัน ง. เห็นผลบุญทันตา
 
๓๕. ความลำเอียงเป็นสิ่งไม่ควรประพฤติ ตรงกับข้อใด ?
  ก. อคติ ข. สุคติ
  ค. ทุคติ ง. คติภูมิ
 
๓๖. คนประพฤติเช่นไร ชื่อว่าตกอยู่ในอำนาจโมหาคติ ?
  ก. เชื่อง่าย ข. โกรธง่าย
  ค. กลัวง่าย ง. รักง่าย
 
๓๗. ความขยันในเรื่องใด จัดเป็นภาวนาปธาน ?
  ก. ขยันเล่นกีฬา ข. ขยันทำงาน
  ค. ขยันทำบุญ ง. ขยันทำกิจกรรม
 
๓๘. เพียรระวังบาปไม่ให้เกิดขึ้น เรียกว่าอะไร ?
  ก. สังวรปธาน ข. ปหานปธาน
  ค. ภาวนาปธาน ง. อนุรักขนาปธาน
 
๓๙. อธิษฐานธรรม แปลว่าอะไร ?
  ก. ธรรมควรตั้งไว้ในใจ ข. ธรรมควรประพฤติ
  ค. ธรรมที่สำเร็จผล ง. คำอธิษฐานขอพร
 
๔๐. อิทธิบาทข้อใด เป็นเครื่องพยุงใจมิให้ท้อถอยในการทำงาน ?
  ก. ฉันทะ ข. วิริยะ
  ค. จิตตะ ง. วิมังสา
 
๔๑. เมตตาพรหมวิหาร ควรเจริญเมื่อใด ?
  ก. ในยามปกติ ข. เห็นเขาประสบทุกข์
  ค. เห็นเขาได้ดีมีสุข ง. เห็นเขารับผลกรรม
 
๔๒. ทุกข์ในอริยสัจ เกิดจากอะไร ?
  ก. กิเลส ข. กรรม
  ค. วิบาก ง. ตัณหา
 
๔๓. ข้อใด ไม่ใช่อานิสงส์การฟังธรรม ?
  ก. เกิดความสงสัย ข. บรรเทาความสงสัย
  ค. เข้าใจเนื้อหาชัดเจน ง. จิตใจผ่องใส
 
๔๔. ข้อใด จัดเป็นสัทธาในพละ ๕ ?
  ก. เชื่อว่าโลกกลม ข. เชื่อว่าบาปไม่มีจริง
  ค. เชื่อว่าโลกหน้าไม่มี ง. เชื่อการตรัสรู้
 
๔๕. วิญญาณในขันธ์ ๕ มีความหมายตรงกับข้อใด ?
  ก. ความรู้สึกว่าสุข ข. ความจำได้หมายรู้
  ค. อารมณ์ที่เกิดกับใจ ง. ความรู้อารมณ์
 
๔๖. สาราณิยธรรม มีความหมายตรงกับข้อใด ?
  ก. ธรรมเป็นเครื่องระลึกถึง ข. ธรรมให้เกิดความสุข
  ค. ธรรมให้เกิดสามัคคี ง. ธรรมให้เกิดความเจริญ
 
๔๗. สังคหวัตถุ ทำให้เกิดประโยชน์อะไร ?
  ก. ความสำเร็จ ข. ความเจริญ
  ค. ความสามัคคี ง. ความงาม
 
๔๘. หลักธรรมสำหรับผู้ครองเรือน ตรงกับข้อใด ?
  ก. ฆราวาสธรรม ข. ข.สังคหวัตถุธรรม
  ค. วุฒิธรรม ง. อธิษฐานธรรม
 
๔๙. ในทิศ ๖ ศิษย์พึงปฏิบัติต่ออาจารย์อย่างไร ?
  ก. ดำรงวงศ์สกุล ข. เลี้ยงท่านตอบ
  ค. เชื่อฟังคำสอน ง. ไม่ดูหมิ่น
 
๕๐. เล่นการพนันมีโทษอย่างไร ?
  ก. คนไม่เชื่อถือ ข. ทะเลาะวิวาท
  ค. มักถูกใส่ความ ง. ถูกนินทา
         
     
เอกสารอ้างอิง    
  เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๖. หน้า ๑๗๔-๑๘๔.
ข้อสอบจริง สอบวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๖. เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.
 

ข้อสอบสนามหลวง