ปัญหาและเฉลย
วิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันอังคาร ที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
ธรรมะข้อใด อุปมาดุจหางเสือเรือ ?
ก.
สติ
ข.
สัมปชัญญะ
ค.
ขันติ
ง.
หิริ
๒.
สัมปชัญญะ มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.
ความระลึกได้
ข.
ความรู้ตัว
ค.
ความรอบรู้
ง.
ความจำได้
๓.
ผู้มีความรอบคอบ ทำงานไม่ผิดพลาด เพราะมีธรรมอะไร ?
ก.
สติ สัมปชัญญะ
ข.
หิริ โอตตัปปะ
ค.
ขันติ โสรัจจะ
ง.
วุฒิธรรม
๔.
ธรรมข้อใด คุ้มครองโลกให้สงบร่มเย็น ?
ก.
หิริ โอตตัปปะ
ข.
สติ สัมปชัญญะ
ค.
ขันติ โสรัจจะ
ง.
กตัญญู กตเวที
๕.
ความละอายต่อบาปทุจริต ตรงกับข้อใด ?
ก.
สติ
ข.
สัมปชัญญะ
ค.
หิริ
ง.
โอตตัปปะ
๖.
ผู้ไ้ม่ทำชั่วเพราะกลัวบาป ชื่อว่ามีคุณธรรมข้อใด ?
ก.
สติ
ข.
สัมปชัญญะ
ค.
หิริ
ง.
โอตตัปปะ
๗.
ผู้ประสงค์จะให้กายวาจาใจงาม ควรประพฤติธรรมอะไร ?
ก.
สติ สัมปชัญญะ
ข.
หิริ โอตตัปปะ
ค.
ขันติ โสรัจจะ
ง.
กตัญญู กตเวที
๘.
ข้อใด เป็นลักษณะของคนมีขันติธรรม ?
ก.
ทนดื่มเหล้า
ข.
ทนเล่นการพนัน
ค.
ทนลำบาก
ง.
ทนเล่นเกมส์
๙.
โสรัจจะ มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.
ความอดทน
ข.
ความไม่ประมาท
ค.
ความอ่อนน้อม
ง.
ความเสงี่ยม
๑๐.
บุพพการี หมายถึงใคร ?
ก.
ผู้ให้กำเนิด
ข.
ผู้ถือกำเนิด
ค.
ผู้คุมกำเนิด
ง.
ผู้ไปเกิด
๑๑.
กตัญญูกตเวที เป็นหน้าที่ของใคร ?
ก.
บิดามารดา
ข.
พระมหากษัตริย์
ค.
ครูอาจารย์
ง.
บุตรธิดา
๑๒.
คนทั่วไปเป็นบุพพการีไม่ได้เพราะเหตุใด ?
ก.
มักโกรธ
ข.
ริษยา
ค.
ไม่เสียสละ
ง.
หึงหวง
๑๓.
พระปัญญาคุณ เป็นคุณของใคร ?
ก.
พระพุทธ
ข.
พระธรรม
ค.
พระสงฆ์
ง.
พระอรหันต์
๑๔.
ข้อใด เป็นคุณของพระธรรม ?
ก.
แนะนำดี
ข.
ชี้ทางสวรรค์
ค.
ป้องกันอบาย
ง.
ให้หายยากจน
๑๕.
การฝึกสมาธิชื่อว่าปฏิบัติตามโอวาทของพระพุทธเจ้า้ ข้อใด ?
ก.
เว้นทุจริต
ข.
ประกอบสุจริต
ค.
ทำใจให้ผ่่องใส
ง.
เว้นอบายมุข
๑๖.
ข้อใด จัดเป็นกายทจุริต ?
ก.
ปองร้า้ย
ข.
ฆ่าสัตว์
ค.
ยุยงให้แตกกัน
ง.
ให้ร้ายผู้อื่น
๑๗.
ข้อใด จัดเป็นวจีทุจริต ?
ก.
โกหก
ข.
วิ่งราว
ค.
ลักขโมย
ง.
ทำร้ายผู้อื่น
๑๘.
วจีทุจริตใด ทำให้เ้กิดความเจ็บใจ ?
ก.
พูดเท็จ
ข.
พูดส่อเสียด
ค.
พูดคำหยาบ
ง.
พูดเพ้อเจ้อ
๑๙.
พูดยุยงให้แตกกัน จัดเป็นวจีทุจริต ข้อใด ?
ก.
พูดเท็จ
ข.
พูดส่อเสียด
ค.
พูดคำหยาบ
ง.
พูดเพ้อเจ้อ
๒๐.
สำนวนว่า แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย สอดคล้องกับวจีสุจริตข้อใด ?
ก.
ไม่พูดเท็จ
ข.
ไม่พูดส่อเสียด
ค.
ไม่พูดคำหยาบ
ง.
ไม่พูดเพ้อเจ้อ
๒๑.
ข้อใด จัดเป็นมโนสุจริต ?
ก.
เห็นตามพวก
ข.
เห็นตามเพื่อน
ค.
เห็นตามธรรม
ง.
เห็นตามกระแส
๒๒.
รากเหง้าของอกุศล ตรงกับข้อใด ?
ก.
โลภะ
ข.
ตัณหา
ค.
ราคะ
ง.
ทิฏฐิ
๒๓.
ไหว้พระสวดมนต์ จัดเข้าในบุญกิริยาวัตถุใด ?
ก.
ทานมัย
ข.
สีลมัย
ค.
ภาวนามัย
ง.
อปจายนมัย
๒๔.
โยนิโสมนสิการ มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.
คิดไตร่ตรอง
ข.
คิดวางแผน
ค.
คิดเผื่อแผ่
ง.
คิดจดจำ
๒๕.
ธรรมเป็นเครื่องนำไปสู่ความเจริญ เรียกว่าอะไร ?
ก.
วุฒิธรรม
ข.
สังคหวัตถุ
ค.
จักรธรรม
ง.
อิทธิบาทธรรม
๒๖.
ผู้ตกอยู่ในอำนาจโมหาคติ ชื่อว่าลำเอียงเพราะอะไร ?
ก.
เพราะรัก
ข.
เพราะไม่ชอบกัน
ค.
เพราะหลง
ง.
เพราะกลัว
๒๗.
ผู้พิพากษาไม่กล้าตัดสินลงโทษเพราะกลัว ตรงกับข้อใด ?
ก.
ฉันทาคติ
ข.
โทสาคติ
ค.
โมหาคติ
ง.
ภยาคติ
๒๘.
ภาวนาปธาน มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.
เพียรระวัง
ข.
เพียรละ
ค.
เพียรเจริญ
ง.
เพียรรักษา
๒๙.
อยากเลิกเสพยาบ้าควรเจริญอธิษฐานธรรมข้อใด ?
ก.
ปัญญา
ข.
สัจจะ
ค.
จาคะ
ง.
อุปสมะ
๓๐.
บุคคลจะบรรลุความสำเร็จได้ควรบำเพ็ญธรรมข้อใด ?
ก.
วุฒิ
ข.
จักร ๔
ค.
อธิษฐาน ๔
ง.
อิทธิบาท ๔
๓๑.
ขยันเรียนหนังสือ ตรงกับอิทธิบาทข้อใด ?
ก.
ฉันทะ
ข.
วิริยะ
ค.
จิตตะ
ง.
วิมังสา
๓๒.
อุเบกขาในพรหมวิหาร ตรงกับข้อใด ?
ก.
ไม่รับผิดชอบ
ข.
ไม่สนใจ
ค.
ทอดธุระ
ง.
วางใจเป็นกลาง
๓๓.
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกว่าอะไร ?
ก.
ทุกข์
ข.
สมุทัย
ค.
นิโรธ
ง.
มรรค
๓๔.
กรรมที่ห้ามสวรรค์นิพพาน ตรงกับข้อใด ?
ก.
อนันตริยกรรม
ข.
อกุศลกรรม
ค.
อาสันนกรรม
ง.
ชนกกรรม
๓๕.
การพิจารณาความแก่ ช่วยบรรเทาความเมาในเรื่องใด ?
ก.
ชีวิต
ข.
วัย
ค.
ความไม่มีโรค
ง.
ความหลงผิด
๓๖.
ได้รู้เรื่องใหม่ เข้าใจเรื่องเก่า บรรเทาความสงสัย เป็นอานิสงส์ของอะไร ?
ก.
คบสัตบุรุษ
ข.
ฟังธรรม
ค.
ทำบุญ
ง.
เจริญภาวนา
๓๗.
คนมีความกล้าที่จะละชั่วทำดี จัดว่ามีพลธรรมข้อใด ?
ก.
สัทธา
ข.
วิริยะ
ค.
สติ
ง.
ปัญญา
๓๘.
รูปขันธ์ ได้แก่อะไร ?
ก.
ร่างกาย
ข.
เวทนา
ค.
สัญญา
ง.
วิญญาณ
๓๙.
การกราบไหว้สังเวชนียสถาน จัดว่ามีความเคารพในเรื่องใด ?
ก.
พระพุทธ
ข.
พระธรรม
ค.
พระสงฆ์
ง.
พระรัตนตรัย
๔๐.
หลักธรรมใด ส่งเสริมให้เกิดความสามัคคีปรองดอง ?
ก.
สาราณิยธรรม
ข.
พรหมวิหาร
ค.
สัปปุริสธรรม
ง.
คารวะ
๔๑.
วิธีการเปลี่ยนสินทรัพย์ให้เป็นอริยทรัพย์ ตรงกับข้อใด ?
ก.
สัทธา
ข.
สีล
ค.
หิริ
ง.
จาคะ
๔๒.
ชี้คนได้ใช้คนเป็น มีความหมายตรงกับสัปปุริสธรรมข้อใด ?
ก.
ธัมมัญญุตา
ข.
อัตตัญญุตา
ค.
ปริสัญญุตา
ง.
ปุคคลปโรปรัญญุตา
๔๓.
ผู้ใด ชื่อว่ามีอารักขสัมปทา คือถึงพร้อมด้วยการรักษา ?
ก.
รู้จักเก็บ
ข.
รู้จักหาทรัพย์
ค.
รู้จักใช้จ่าย
ง.
รู้จักเลี้ยงชีพ
๔๔.
ผู้ใด ชื่อว่ามีจาคสัมปทา ?
ก.
ให้ทาน
ข.
รักษาศีล
ค.
เจริญภาวนา
ง.
เชื่อกฎแห่งกรรม
๔๕.
ต่อหน้าว่าสรรเสริญ ลับหลังตั้งนินทา เป็นลักษณะของมิตรประเภทใด ?
ก.
ปอกลอก
ข.
ดีแต่พูด
ค.
ชักชวนในทางฉิบหาย
ง.
หัวประจบ
๔๖.
ห้ามไม่ให้ทำชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี เป็นลักษณะของมิตรประเภทใด ?
ก.
มีอุปการะ
ข.
ร่วมสุขร่วมทุกข์
ค.
แนะประโยชน์
ง.
มีความรักใคร่
๔๗.
การประพฤติสังคหวัตถุธรรม ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ?
ก.
ความสามัคคี
ข.
ความสำเร็จ
ค.
ความเจริญ
ง.
ความยุติธรรม
๔๘.
บรรดาทิศทั้ง ๖ ทิศเบื้องบน หมายถึงใคร
ก.
มารดาบิดา
ข.
ครูอาจารย์
ค.
พระมหากษัตริย์
ง.
สมณพราหมณ์
๔๙.
ก่อการทะเลาะวิวาท เป็นโทษของอบายมุขใด ?
ก.
ดื่มน้ำเมา
ข.
เที่ยวกลางคืน
ค.
ดูการเล่น
ง.
เล่นการพนัน
๕๐.
ข้อใด เป็นโทษของการคบคนชั่วเป็นมิตร ?
ก.
ไม่มีใครเชื่อถือ
ข.
ถูกหวาดระแวง
ค.
ถูกติเตียน
ง.
เป็นนักเลงหัวไม้
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๘. หน้า .
สำเนาข้อสอบจริง ปี ๒๕๕๘.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐