ปัญหาและเฉลย
วิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันพฤหัสบดี ที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
ผู้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีธรรมอะไร ?
ก.
ธรรมมีอุปการะมาก
ข.
ธรรมอันทำให้งาม
ค.
ธรรมเป็นโลกบาล
ง.
ธรรมเป็นเครื่องเจริญ
๒.
การรณรงค์เรื่องเมาไม่ขับ ส่งเสริมให้มีธรรมข้อใด ?
ก.
สติ
ข.
สัมปชัญญะ
ค.
ขันติ
ง.
โสรัจจะ
๓.
ถ้าสติเปรียบเหมือนดวงไฟ สัมปชัญญะจะเปรียบเหมือนอะไร ?
ก.
ควันไฟ
ข.
แสงไฟ
ค.
คนจุดไฟ
ง.
เชื้อไฟ
๔.
คนขาดศีลธรรม เพราะ
ไม่มี
ธรรมใดเป็นพื้นฐาน ?
ก.
สติ สัมปชัญญะ
ข.
ขันติ โสรัจจะ
ค.
หิริ โอตตัปปะ
ง.
ถูกทุกข้อ
๕.
คนมีโอตตัปปะมีลักษณะเช่นไร ?
ก.
กลัวถูกลงโทษ
ข.
กลัวเสียชื่อเสียง
ค.
กลัวตกนรก
ง.
ถูกทุกข้อ
๖.
ผู้มุ่งให้กาย วาจา ใจงดงาม ควรประพฤติธรรมอะไร ?
ก.
สติ สัมปชัญญะ
ข.
ขันติ โสรัจจะ
ค.
หิริ โอตตัปปะ
ง.
กตัญญู กตเวที
๗.
ความงามอะไร
ไม่ขึ้น
อยู่กับกาลเวลา ?
ก.
งามเสื้อผ้าอาภรณ์
ข.
งามรูปร่างหน้าตา
ค.
งามกิริยามารยาท
ง.
งามคุณธรรม
๘.
เป็นเรืออย่าทิ้งท่า เป็นเสืออย่าทิ้งป่า
สอนให้มีธรรมอะไร ?
ก.
สติ สัมปชัญญะ
ข.
กตัญญู กตเวที
ค.
หิริ โอตตัปปะ
ง.
ขันติ โสรัจจะ
๙.
บุพพการี ชื่อว่าหาได้ยาก เพราะถูกอะไรครอบงำ ?
ก.
ความไม่รู้
ข.
ความตระหนี่
ค.
ความโกรธ
ง.
ตัณหา
๑๐.
ชาวพุทธควรยึดถืออะไรเป็นที่พึ่งที่ระลึก ?
ก.
ไตรปิฎก
ข.
ไตรลักษณ์
ค.
ไตรรัตน์
ง.
ไตรสิกขา
๑๑.
ที่เรียกว่าพระพุทธศาสนานั้น หมายถึงอะไร ?
ก.
พระรัตนตรัย
ข.
พระธรรมวินัย
ค.
ไตรสิกขา
ง.
พระปาติโมกข์
๑๒.
พระธรรม คืออะไร ?
ก.
ระเบียบข้อบังคับ
ข.
ธรรมชาติ
ค.
คำสั่งสอน
ง.
คำตักเตือน
๑๓.
คำสอนที่เป็นหลักการในพระพุทธศาสนา ตรงกับข้อใด ?
ก.
โอวาท ๓
ข.
สิกขา ๓
ค.
สุจริต ๓
ง.
ปิฎก ๓
๑๔.
การเว้นจากทุจริตทั้งปวง เป็นคำสอนในลักษณะใด ?
ก.
ทาน
ข.
ศีล
ค.
ภาวนา
ง.
ปัญญา
๑๕.
คำพูดที่ทำให้ผู้ฟังเจ็บช้ำใจหรือบันดาลโทสะ ตรงกับข้อใด ?
ก.
คำเท็จ
ข.
คำหยาบ
ค.
คำส่อเสียด
ง.
คำเพ้อเจ้อ
๑๖.
วจีสุจริตข้อใด ส่งเสริมให้เกิดความสมานฉันท์ ?
ก.
ไม่พูดเท็จ
ข.
ไม่พูดคำหยาบ
ค.
ไม่พูดส่อเสียด
ง.
ไม่พูดเพ้อเจ้อ
๑๗.
เห็นอย่างไร ชื่อว่าเห็นไม่ผิดจากคลองธรรม ?
ก.
ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ
ข.
บุญบาปไม่มี
ค.
พ่อแม่ไม่มีคุณ
ง.
ดีเองชั่วเอง
๑๘.
คนขายยาบ้า เพราะมีอะไรเป็นมูล ?
ก.
โลภะ
ข.
โทสะ
ค.
โมหะ
ง.
ราคะ
๑๙.
ข้อใด
ไม่ใช่
ลักษณะของโทสะ ?
ก.
กลุ้มใจ เสียใจ
ข.
รำคาญ หงุดหงิด
ค.
โกรธ เกลียด
ง.
อยากได้ งมงาย
๒๐.
มีโทษมากและคลายช้า คือข้อใด ?
ก.
โลภะ
ข.
โทสะ
ค.
โมหะ
ง.
ราคะ
๒๑.
อโลภะ เป็นมูลของอะไร ?
ก.
ทาน
ข.
ศีล
ค.
ภาวนา
ง.
เมตตา
๒๒.
คนเช่นไร ชื่อว่าสัตบุรุษ ?
ก.
รู้จักทำมาหากิน
ข.
ขยันไม่เกียจคร้าน
ค.
มีน้ำใจแบ่งปัน
ง.
ทำดี พูดดี คิดดี
๒๓.
เสียสละ ถือบวช ดูแลบิดามารดา เป็นธรรมหมวดใด ?
ก.
อปัณณกปฏิปทา
ข.
สัปปุริสบัญญัติ
ค.
บุญกิริยาวัตถุ
ง.
สามัญลักษณะ
๒๔.
ความสุขกายสุขใจ เกิดจากการบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุข้อใด ?
ก.
ให้ทาน
ข.
รักษาศีล
ค.
เจริญภาวนา
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๕.
ข้อใด เป็นเหตุให้เกิดสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ?
ก.
สั่งสมความสุข
ข.
สั่งสมบุญ
ค.
สั่งสมความรู้
ง.
สั่งสมทรัพย์
๒๖.
ความเจริญและความเสื่อมของบุคคล ขึ้นอยู่กับอะไร ?
ก.
การศึกษา
ข.
การปฏิบัติ
ค.
การมีบริวาร
ง.
การมีทรัพย์
๒๗.
คนเช่นไร
ไม่สามารถ
จะทรงความเที่ยงธรรมไว้ได้ ?
ก.
มีเมตตากรุณา
ข.
กล้าได้กล้าเสีย
ค.
มีใจเด็ดเดี่ยว
ง.
มีความลำเอียง
๒๘.
ให้รางวัลแก่คนไม่ควรให้เพราะเสน่หา จัดเป็นอคติข้อใด ?
ก.
ฉันทาคติ
ข.
โทสาคติ
ค.
โมหาคติ
ง.
ภยาคติ
๒๙.
ผิดพลาดไปแล้ว พยายามกลับตัวเป็นคนดี ตรงกับข้อใด ?
ก.
สังวรปธาน
ข.
ปหานปธาน
ค.
ภาวนาปธาน
ง.
อนุรักขนาปธาน
๓๐.
จงรักษาความดี ดุจเกลือรักษาความเค็ม ตรงกับข้อใด ?
ก.
สังวรปธาน
ข.
ปหานปธาน
ค.
ภาวนาปธาน
ง.
อนุรักขนาปธาน
๓๑.
จาคะ ในอธิษฐานธรรม มีความหมายว่าอย่างไร ?
ก.
แบ่งปันสิ่งของแก่ผู้ประสบภัย
ข.
สละทรัพย์สร้างสวนสาธารณะ
ค.
สละสิ่งเป็นข้าศึกความจริงใจ
ง.
บริจาคโลหิตช่วยเหลือผู้ป่วย
๓๒.
จะประสบความสำเร็จในชีวิตได้ เพราะมีธรรมหมวดใด ?
ก.
จักร ๔
ข.
อิทธิบาท ๔
ค.
วุฒิ ๔
ง.
ปธาน ๔
๓๓.
หมั่นทบทวนหาเหตุผลในสิ่งที่ทำ ตรงกับข้อใด ?
ก.
ฉันทะ
ข.
วิริยะ
ค.
จิตตะ
ง.
วิมังสา
๓๔.
ควรแผ่พรหมวิหารข้อใด ไปยังสัตว์ผู้มีทุกข์ ?
ก.
เมตตา
ข.
กรุณา
ค.
มุทิตา
ง.
อุเบกขา
๓๕.
ในการพิจารณาคดีความ ควรยึดธรรมข้อใดเป็นหลัก ?
ก.
เมตตา
ข.
กรุณา
ค.
มุทิตา
ง.
อุเบกขา
๓๖.
อริยทรัพย์ หมายถึงทรัพย์ในข้อใด ?
ก.
ทรัพย์ภายนอก
ข.
ทรัพย์ภายใน
ค.
ทรัพย์สิน
ง.
ทรัพย์มรดก
๓๗.
ข้อใด เป็นอนันตริยกรรม ?
ก.
เผาโรงเรียน
ข.
ทำลายทรัพย์สิน
ค.
ทำร้ายร่างกาย
ง.
ทำสงฆ์ให้แตกกัน
๓๘.
ข้อใด
ไม่นับ
เข้าในอานิสงส์ของการฟังธรรม ?
ก.
ได้ความเพลิดเพลิน
ข.
ได้ฟังเรื่องใหม่ ๆ
ค.
มีจิตใจผ่องใส
ง.
บรรเทาความสงสัย
๓๙.
สติในพละ ๕ เปรียบเทียบได้กับข้อใด ?
ก.
เรือ
ข.
หางเสือเรือ
ค.
คนพายเรือ
ง.
ท่าจอดเรือ
๔๐.
สังขารในขันธ์ ๕ ตรงกับข้อใด ?
ก.
การรับรู้อารมณ์
ข.
ความคิดปรุงแต่ง
ค.
สิ่งที่มีใจครอง
ง.
สิ่งที่มองเห็นได้
๔๑.
รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา ภายหน้าเติบใหญ่ได้งานทำ ตรงกับข้อใด ?
ก.
เคารพในพระพุทธเจ้า
ข.
เคารพในพระสงฆ์
ค.
เคารพในการศึกษา
ง.
เคารพในหน้าที่
๔๒.
คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ จัดเข้าในสัปปุริสธรรมข้อใด ?
ก.
รู้จักตน
ข.
รู้จักประมาณ
ค.
รู้จักชุมชน
ง.
รู้จักบุคคล
๔๓.
ช้าเสียการ นานเสียกิจ จัดเข้าในสัปปุริสธรรมข้อใด ?
ก.
รู้จักเหตุ
ข.
รู้จักผล
ค.
รู้จักกาล
ง.
รู้จักประมาณ
๔๔.
จน เครียด กินเหล้า แล้วไม่ทำงาน จัดเป็นคนเช่นไร ?
ก.
เกียจคร้าน
ข.
เจ็บป่วย
ค.
ตกงาน
ง.
สิ้นหวัง
๔๕.
ต่อหน้าสรรเสริญ ลับหลังนินทา เป็นลักษณะของมิตรเทียม ประเภทใด ?
ก.
คนปอกลอก
ข.
คนดีแต่พูด
ค.
คนหัวประจบ
ง.
คนชักชวนให้ฉิบหาย
๔๖.
มิตรเทียมเช่นไร ควรหลีกหนีให้ไกลสุด ?
ก.
คนปอกลอก
ข.
คนหัวประจบ
ค.
คนดีแต่พูด
ง.
คนชักชวนให้ฉิบหาย
๔๗.
ห้ามชั่ว แนะดี ชี้ทางสวรรค์ เป็นมิตรประเภทใด ?
ก.
มิตรมีอุปการะ
ข.
มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
ค.
มิตรแนะประโยชน์
ง.
มิตรมีความรักใคร่
๔๘.
การช่วยเหลือประโยชน์ส่วนรวม ตรงกับสังคหวัตถุข้อใด ?
ก.
ทาน
ข.
ปิยวาจา
ค.
อัตถจริยา
ง.
สมานัตตตา
๔๙.
ครูอาจารย์ ได้แก่บุคคลในทิศใด ?
ก.
ทิศเบื้องขวา
ข.
ทิศเบื้องซ้าย
ค.
ทิศเบื้องหน้า
ง.
ทิศเบื้องหลัง
๕๐.
อยู่เลี้ยงกาย ตายเลี้ยงวิญญาณ เป็นหน้าที่ของใคร ?
ก.
บิดามารดา
ข.
บุตรธิดา
ค.
ครูอาจารย์
ง.
มิตรสหาย
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๐. หน้า ๑๔๖-๑๕๔.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐