ปัญหาและเฉลย
วิชากรรมบถ (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วฝนลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
สัตว์ทั้งหลายล้วนเป็นไปตามกรรม เป็นคำสอนของศาสนาใด ?
ก.
คริสต์
ข.
ซิกข์
ค.
พุทธ
ง.
ฮินดู
๒.
วิชากรรมบถ พุทธศาสนิกชนต้องศึกษาเรื่องใด ?
ก.
กรรมฐาน
ข.
ไตรสิกขา
ค.
กรรม
ง.
ไตรลักษณ์
๓.
ข้อใด เป็นภพภูมิที่เกิดของสัตว์ทั้งหลายข้างฝ่ายดี ?
ก.
สัตว์เดรัจฉาน
ข.
อสูรกาย
ค.
มนุษย์
ง.
เปรต
๔.
ธรรมเป็นเหตุให้เกิดในทุคติ คืออะไร ?
ก.
กุศลกรรมบถ
ข.
อกุศลกรรมบถ
ค.
อนุสสติ
ง.
กสิณ
๕.
ผู้ปรารถนาเกิดในสุคติจะต้องทำกรรมใด ?
ก.
อกุศลกรรม
ข.
กุศลกรรม
ค.
บาปกรรม
ง.
เจตนากรรม
๖.
ข้อใด เป็นความหมายของอกุศลกรรมบถ ?
ก.
กรรมนำสัตว์ไปสู่สุคติภูมิ
ข.
กรรมนำสัตว์ไปสู่ทุคติภูมิ
ค.
กรรมนำสัตว์ไปสู่เทวภูมิ
ง.
กรรมนำสัตว์ไปสู่มนุษยภูมิ
๗.
ข้อใดไม่ใช่อกุศลกรรมบถทางกาย ?
ก.
ปาณาติบาต
ข.
อทินนาทาน
ค.
กาเมสุ มิจฉาจาร
ง.
มุสาวาท
๘.
มูลเหตุที่ทำให้สัตว์ประพฤติอกุศลกรรมบถ เรียกว่าอะไร ?
ก.
กุศลมูล
ข.
อกุศลมูล
ค.
กุศลกิจ
ง.
อกุศลจิต
๙.
ข้อใด จัดเป็นการทำความดีทางกาย ?
ก.
ไม่โลภอยากได้
ข.
ไม่พยาบาทปองร้าย
ค.
ไม่ลักของของคนอื่น
ง.
ไม่เห็นผิดจากคลองธรรม
๑๐.
การกระทำที่จัดเป็นบุญเป็นบาป ขึ้นอยู่กับอะไร ?
ก.
เวทนา
ข.
เจตนา
ค.
อารมณ์
ง.
กุศลมูล
๑๑.
ข้อใด จัดเป็นวจีกรรมในอกุศลกรรมบถ ?
ก.
ปาณาติบาต
ข.
อทินนาทาน
ค.
มุสาวาท
ง.
พยาบาท
๑๒.
อกุศลกรรมบถข้อใด ไม่ได้เกิดขึ้นทางกายทวาร ?
ก.
ปาณาติบาต
ข.
อทินนาทาน
ค.
สัมผัปปลาปะ
ง.
กาเมสุ มิจฉาจาร
๑๓.
องค์แห่งปาณาติบาตข้อใด ทำให้สำเร็จเป็นกรรมบถ ?
ก.
สัตว์มีชีวิต
ข.
รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
ค.
จิตคิดจะฆ่า
ง.
สัตว์ตายด้วยความพยายาม
๑๔.
ปาณะ โดยสมมติสัจจะ ได้แก่อะไร ?
ก.
ชีวิตินทรีย์
ข.
สัตว์
ค.
สังขาร
ง.
วิญญาณ
๑๕.
ปาณาติบาต มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.
โลภอยากได้
ข.
ทำให้เสียชีวิต
ค.
ลักของคนอื่น
ง.
ปองร้ายคนอื่น
๑๖.
ฆ่าช้างเอางา มีโทษมาก เพราะเหตุใด ?
ก.
เป็นสัตว์ใหญ่
ข.
เป็นสัตว์น่ารัก
ค.
เป็นสัตว์แสนรู้
ง.
เป็นสัตว์มีกำลัง
๑๗.
คนทำปาณาติบาต โดยมากมีจิตใจเช่นไร ?
ก.
เจ้าเล่ห์
ข.
มารยา
ค.
มักโอ้อวด
ง.
โหดเหี้ยม
๑๘.
ผลจากการล่วงละเมิดปาณาติบาตมีโทษเบาที่สุด ตรงกับข้อใด ?
ก.
เป็นสัตว์เดรัจฉาน
ข.
เป็นผู้มีอายุสั้น
ค.
เกิดเป็นสัตว์นรก
ง.
เกิดในอบายภูมิ
๑๙.
นายนันทะมีอาชีพฆ่าโคนำเนื้อไปขาย ได้รับผลกรรมใด ?
ก.
เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน
ข.
เกิดในนรกอเวจี
ค.
เกิดเป็นอสูรกาย
ง.
เกิดเป็นเปรต
๒๐.
ข้อใด จัดเป็นวัตถุแห่งอทินนาทาน ?
ก.
ของที่เจ้าของลืมไว้
ข.
ของที่เจ้าของโยนทิ้ง
ค.
ของที่เจ้าของยกให้
ง.
ของที่เจ้าของเสียสละ
๒๑.
ฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นการประพฤติล่วงอกุศลกรรมบถใด ?
ก.
อทินนาทาน
ข.
กาเมสุมิจฉาจาร
ค.
พยาบาท
ง.
มิจฉาทิฏฐิ
๒๒.
ข้อใด จัดเป็นองค์แห่งอทินนาทาน ?
ก.
จิตคิดจะฆ่า
ข.
จิตคิดจะลัก
ค.
จิตคิดจะเสพ
ง.
จิตคิดจะพูดส่อเสียด
๒๓.
สั่งให้คนอื่นลักทรัพย์ เป็นอทินนาทานเกิดทางทวารใด ?
ก.
กายทวาร
ข.
วจีทวาร
ค.
มโนทวาร
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๔.
ข้อใด เป็นผลกรรมเกิดจากการล่วงละเมิดอทินนาทาน ?
ก.
ทรัพย์สินสูญหาย
ข.
รายได้เพิ่มพูน
ค.
ตระกูลมั่งคั่ง
ง.
อายุยั่งยืน
๒๕.
การประพฤติผิดในกาม ตรงกับสุภาษิตใด ?
ก.
ขี้ช้างจับตั๊กแตน
ข.
พูดไปสองไพเบี้ย
ค.
เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน
ง.
เจ้าชู้ไก่แจ้
๒๖.
กาเมสุมิจฉาจาร เกิดขึ้นทางทวารใด ?
ก.
ไตรทวาร
ข.
กายทวาร
ค.
วจีทวาร
ง.
มโนทวาร
๒๗.
ปรทานคมนะ หมายถึง การล่วงละเมิดในบุคคลใด ?
ก.
คู่ครองตนเอง
ข.
คู่ครองคนอื่น
ค.
หญิงที่ญาติรักษา
ง.
หญิงที่มารดารักษา
๒๘.
สทารสันโดษ มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.
มากรักหลายใจ
ข.
รักง่ายหน่ายเร็ว
ค.
รักเดียวใจเดียว
ง.
รักสามเส้า
๒๙.
การล่วงละเมิด กาเมสุ มิจฉาจาร ส่งผลในชาติหน้าอย่างไร ?
ก.
เกิดในสุคติ
ข.
เกิดในทุคติ
ค.
เกิดในพรหมโลก
ง.
เกิดในเทวโลก
๓๐.
เจตนาเช่นไร เรียกว่ามุสาวาท ?
ก.
เจตนาพูดเท็จ
ข.
เจตนาพูดหยาบ
ค.
เจตนาพูดส่อเสียด
ง.
เจตนาพูดเพ้อเจ้อ
๓๑.
เจตนาเช่นไร เรียกว่า ผรุสวาจา ?
ก.
เจตนาพูดเท็จ
ข.
เจตนาพูดหยาบ
ค.
เจตนาพูดส่อเสียด
ง.
เจตนาพูดเพ้อเจ้อ
๓๒.
ปิสุณวาจา เป็นสาเหตุของปัญหาสังคมด้านใด ?
ก.
หย่าร้าง
ข.
เห็นแก่ตัว
ค.
โหดร้าย
ง.
แตกแยก
๓๓.
คนที่พูดมุสาเป็นอาจิณ ย่อมได้รับผลกรรมอย่างไร ?
ก.
เกิดในนรก
ข.
ถูกใส่ความ
ค.
คนไม่เชื่อถือ
ง.
ถูกทุกข้อ
๓๔.
คำพูดที่เป็นผรุสวาจา ผู้พูดมีเจตนาเช่นไร ?
ก.
เจตนาหลอกลวง
ข.
เจตนาร้าย
ค.
เจตนาอยากได้
ง.
เจตนาดี
๓๕.
เจตนาพูดเผาผลาญจิตของผู้ฟัง เรียกว่าอะไร ?
ก.
มุสาวาท
ข.
ปิสุณวาจา
ค.
ผรุสวาจา
ง.
สัมผัปปลาปะ
๓๖.
พูดผรุสวาทเป็นนิตย์ ย่อมได้รับผลกรรมในข้อใด ?
ก.
ได้ยินคำระคายหู
ข.
ได้ยินคำไร้สาระ
ค.
ได้ยินคำหลอกลวง
ง.
ได้ยินคำเพ้อเจ้อ
๓๗.
คำพูดเช่นไร เรียกว่า สัมผัปปลาปะ ?
ก.
คำพูดโกหก
ข.
คำพูดส่อเสียด
ค.
คำพูดเพ้อเจ้อ
ง.
คำพูดหยาบคาย
๓๘.
การเพ่งเล็กทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อน้อมเข้ามาหาตน เรียกว่าอะไร ?
ก.
อภิชฌา
ข.
พยาบาท
ค.
มิจฉาทิฏฐิ
ง.
อนภิชฌา
๓๙.
ความคิดทำให้ผู้อื่นถึงความพินาศ เรียกว่าอะไร ?
ก.
อภิชฌา
ข.
พยาบาท
ค.
มิจฉาทิฏฐิ
ง.
อนภิชฌา
๔๐.
ข้อใด จัดเป็นองค์ของอภิชฌา ?
ก.
คิดน้อมมาเป็นของตน
ข.
ของที่เพ่งเล็งมีค่ามาก
ค.
เจ้าของมีคุณมาก
ง.
ผู้เพ่งเล็งมีกิเลสกล้า
๔๑.
โทษอันเกิดจากพยาบาทปองร้ายคนอื่น ตรงกับข้อใด ?
ก.
เสียของรัก
ข.
เสียอวัยวะ
ค.
เสียทรัพย์สิน
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๒.
ความเห็นในข้อใด จัดเป็นมิจฉาทิฏฐิ ?
ก.
ทำชั่วได้ชั่ว
ข.
ทำบุญได้บุญ
ค.
ทำชั่วได้ดี
ง.
ทำชั่วได้ดี
๔๓.
อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ โดยมากเกิดขึ้นทางทวารใด ?
ก.
กายทวาร
ข.
วจีทวาร
ค.
มโนทวาร
ง.
ไตรทวาร
๔๔.
ข้อใด จัดเป็นธรรมจริยาและสมจริยาทางวาจา ?
ก.
ละปาณาติบาต
ข.
ละอทินนาทาน
ค.
ละพยาบาท
ง.
ละสัมผัปปลาปะ
๔๕.
หลักธรรมใด เป็นอุปนิสัยให้บรรลุเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ ?
ก.
กุศลกรรมบถ
ข.
อกุศลกรรมบถ
ค.
กุศลมูล
ง.
อกุศลมูล
๔๖.
ข้อใด เป็นความหมายของคำว่า อารมณ์ ?
ก.
ส่วนแห่งธรรม
ข.
สิ่งที่ใจเข้าไปยึดถือ
ค.
การเสวยอารมณ์
ง.
สิ่งที่เป็นรากเง้า
๔๗.
บาลีข้อใด เป็นเครื่องรับรองผู้รักษาศีลว่า จะได้ไปสุคติ ?
ก.
สีเลน สุคตึ ยนฺติ
ข.
สีเลน โภคสมฺปทา
ค.
สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ
ง.
ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
๔๘.
อุปนิสัยใด เป็นคุณลักษณะของผู้มีจิตใจเสียสละ ?
ก.
ทานูปนิสัย
ข.
สีลูปนิสัย
ค.
ภาวนูปนิสัย
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๙.
การประพฤติกุศลกรรมบถจะสำเร็จผลได้ ต้องมีเจตนาเช่นไร ?
ก.
เจตนาก้าวล่วง
ข.
เจตนาละเมิด
ค.
เจตนาเพ่งเล็ง
ง.
เจตนางดเว้น
๕๐.
กุศลกรรมบถ 10 ประการ จัดเข้าในหลักธรรมใด ?
ก.
ศีล
ข.
สมาธิ
ค.
ปัญญา
ง.
วิมุตติ
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๕. หน้า ๒๙๘-๓๐๘.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐