ปัญหาและเฉลย
วิชากรรมบถ (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.




คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
   
๑. พระพุทธศาสนาสอนให้เชื่อเรื่องใด ?
  ก. กรรมลิขิต ข. พรหมลิขิต
  ค. ฟ้าลิขิต ง. ดวงลิขิต
 
๒. ผลของการกระทำเรียกว่าอะไร ?
  ก. บุญกรรม ข. เวรกรรม
  ค. วิบากกรรม ง. เจตนากรรม
 
๓. พระพุทธศาสนากล่าวว่า สรรพสัตว์ล้วนตกอยู่ภายใต้อำนาจ
ของอะไร ?
  ก. กิเลส ข. กรรม
  ค. ดวงชะตา ง. เทพเจ้า
 
๔. กรรมบถ แปลว่าอะไร ?
  ก. ทางทำกรรม ข. ผลของกรรม
  ค. การทำกรรม ง. การชดใช้กรรม
 
๕. ข้อใด เป็นความหมายของกุศลกรรมบถ ?
  ก. ทางแห่งความดี ข. ทางแห่งกรรม
  ค. ทางแห่งอบาย ง. ทางก้าวหน้า
 
๖. การกระทำพร้อมทั้งเจตนา เรียกว่าอะไร ?
  ก. กรรมบถ ข. กรรมวิบาก
  ค. กรรมกิเลส ง. กรรมลิขิต
 
๗. มโนกรรม หมายถึงอะไร ?
  ก. การกระทำทางกาย ข. การกระทำทางวาจา
  ค. การกระทำทางใจ ง. การกระทำทุกวิถีทาง
 
๘. กาเมสุมิจฉาจาร จะสำเร็จความเป็นกรรมบถทางทวารใด ?
  ก. กายทวาร ข. วจีทวาร
  ค. มโนทวาร ง. ไตรทวาร
 
๙. ข้อใด เป็นวจีกรรมอย่างเดียว ?
  ก. อภิชฌา ข. พยาบาท
  ค. มิจฉาทิฏฐิ ง. สัมผัปปลาปะ
 
๑๐. มโนกรรม เกิดได้ทางทวารใด ?
  ก. กายทวาร ข. วจีทวาร
  ค. มโนทวาร ง. ถูกทุกข้อ
 
๑๑. พยาบาทปองร้ายเขา จัดเป็นกรรมชนิดใด ?
  ก. กายกรรม ข. วจีกรรม
  ค. มโนกรรม ง. ถูกทุกข้อ
 
๑๒. ข้อใด เป็นทั้งอกุศลกรรมบถ และอกุศลมูล ?
  ก. พยาบาท ข. ปาณาติบาต
  ค. มุสาวาท ง. สัมผัปปลาปะ
 
๑๓. วจีกรรมใด มีทุกขเวทนาอย่างเดียว ?
  ก. มุสาวาท ข. ปิสุณวาจา
  ค. ผรุสวาจา ง. สัมผัปปลาปะ
 
๑๔. ข้อใด เป็นอารมณ์ของพยาบาท ?
  ก. มนุษย์ ข. เปรต
  ค. เทวดา ง. พรหม
 
๑๕. กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ โดยสภาวธรรมได้แก่อะไร ?
  ก. เจตนา ข. โกฏฐาสะ
  ค. อารมณ์ ง. เวทนา
 
๑๖. อกุศลมูลใด มีอยู่ในอกุศลกรรมทุกข้อ ?
  ก. โลภะ ข. โทสะ
  ค. โมหะ ง. ถูกทุกข้อ
 
๑๗. ปาณาติบาต เกิดขึ้นจากอกุศลมูลใด ?
  ก. โทสะ โมหะ ข. โลภะ โทสะ
  ค. โลภะ โมหะ ง. โลภะ โทสะ โมหะ
 
๑๘. ข้อใด จัดเป็นมิจฉาทิฏฐิ ?
  ก. ทำดีมีความสุข ข. ทำชั่วได้ความทุกข์
  ค. ทำบุญได้บาป ง. ทำบาปเกิดในอบาย
 
๑๙. รูปชีวิตินทรีย์ เป็นธรรมชาติทำให้สิ่งใดมีชีวิตอยู่ได้ ?
  ก. รูป ข. เวทนา
  ค. สัญญา ง. สังขาร
 
๒๐. เมื่อรูปชีวิตินทรีย์ขาด ทำให้สิ่งใดขาดไปด้วย ?
  ก. เวทนา ข. สัญญา
  ค. สังขาร ง. ถูกทุกข้อ
 
๒๑. คำว่า ปาณะ ในปาณาติบาต โดยสมมติสัจจะ ได้แก่อะไร ?
  ก. สัตว์ ข. รูปชีวิตินทรีย์
  ค. อรูปชีวิตินทรีย์ ง. นามธรรม
 
๒๒. ข้อใด จัดเป็นองค์ของปาณาติบาต ?
  ก. จิตคิดจะฆ่า ข. จิตคิดจะลัก
  ค. จิตคิดจะเสพ ง. จิตคิดจะพูดส่อเสียด
 
๒๓. สั่งให้คนอื่นฆ่าสัตว์ เป็นกายกรรมเกิดขึ้นทางทวารใด ?
  ก. กายทวาร ข. วจีทวาร
  ค. มโนทวาร ง. ไตรทวาร
 
๒๔. คำว่า อทินนะ ในอทินนาทาน หมายถึงอะไร ?
  ก. ของที่เจ้าของหวงแหน ข. ของที่เจ้าของแบ่งให้
  ค. ของที่ไม่มีเจ้าของ ง. ของที่เจ้าของทิ้งแล้ว
 
๒๕. กาเมสุมิจฉาจารอาศัยอะไร จึงจะสำเร็จเป็นกรรมบถได้ ?
  ก. สัมผัสทางกาย ข. สัมผัสทางใจ
  ค. สัมผัสทางวัตถุ ง. สัมผัสทางใน
 
๒๖. สำนวนใด มีความหมายตรงกับกาเมสุมิจฉาจาร ?
  ก. น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า ข. น้ำนิ่งไหลลึก
  ค. จับปลาสองมือ ง. น้ำขึ้นให้รีบตัก
 
๒๗. องค์แห่งมุสาวาทข้อใด เป็นเหตุให้ถึงความเป็นกรรมบถ ?
  ก. เรื่องไม่จริง ข. จิตคิดจะพูดให้ผิด
  ค. พยายามจะพูด ง. คนอื่นเข้าใจเรื่องนั้น
 
๒๘. กรรมที่ส่งผลในปฏิสนธิกาล ตรงกับข้อใด ?
  ก. เกิดเป็นมนุษย์ ข. เกิดเป็นกษัตริย์นักรบ
  ค. เกิดเป็นหัวหน้าเทวดา ง. เกิดเป็นผู้หญิงสวยงาม
 
๒๙. กรรมที่ส่งผลในปวัตติกาล หมายถึงให้ผลในกาลใด ?
  ก. อดีตกาล ข. อนาคตกาล
  ค. ปัจจุบันกาล ง. ไม่กำหนดกาล
 
๓๐. กายกรรม ๓ จะสำเร็จความเป็นกรรมบถได้เพราะอะไร ?
  ก. เจตนา ข. อารมณ์
  ค. เวทนา ง. มูลเหตุ
 
๓๑. ข้อใด เป็นสัมผัปปลาปะที่ถึงความเป็นกรรมบถ ?
  ก. เชื่อเรื่องไร้สาระว่าเป็นจริง ข. เชื่อเรื่องไร้สาระว่าไม่จริง
  ค. เชื่อเรื่องไร้สาระว่าไม่
ถูกต้อง
ง. เชื่อเรื่องไร้สาระว่าไม่มี
เหตุผล
 
๓๒. เจตนาเป็นเหตุละโมบ อยากได้สิ่งของผู้อื่น เรียกว่าอะไร ?
  ก. อภิชฌา ข. พยาบาท
  ค. มิจฉาทิฏฐิ ง. กรรมบถ
 
๓๓. ข้อใด เป็นองค์แห่งอภิชฌา ?
  ก. ของมีเจ้าของ ข. รู้ว่ามีเจ้าของ
  ค. จิตคิดจะลัก ง. การน้อมมาเพื่อตน
 
๓๔. พยาบาทในข้อใด เป็นเพียงกรรมยังไม่ถึงความเป็นกรรมบถ ?
  ก. คิดให้พินาศ ข. คิดให้เสียหาย
  ค. คิดปองร้าย ง. คิดเรื่องโกรธ
 
๓๕. ความพยาบาท เป็นเหตุให้บุคคลประพฤติผิดเรื่องใด ?
  ก. ฆ่าสัตว์ ข. ลักทรัพย์
  ค. เห็นผิด ง. ประพฤติผิดในกาม
 
๓๖. นิยตมิจฉาทิฏฐิทั้ง ๓ ปฏิเสธเรื่องใด ?
  ก. กรรมและผลกรรม ข. โลกนี้และโลกหน้า
  ค. นรกสวรรค์ ง. ถูกทุกข้อ
 
๓๗. พระพุทธศาสนาปฏิเสธนิยตมิจฉาทิฏฐิ ข้อใด ?
  ก. นัตถิกทิฏฐิ ข. อเหตุกทิฏฐิ
  ค. อกิริยทิฏฐิ ง. ถูกทุกข้อ
 
๓๘. มิจฉาทิฏฐิข้อใด มีโทษเบากว่าทิฏฐิอื่น ?
  ก. นัตถิกทิฏฐิ ข. อเหตุกทิฏฐิ
  ค. อกิริยทิฏฐิ ง. สักกายทิฏฐิ
 
๓๙. อกุศลกรรมบถใด เพียงแต่คิดในใจก็สำเร็จเป็นกรรมบถ ?
  ก. ปาณาติบาต ข. อทินนาทาน
  ค. สัมผัปปลาปะ ง. มิจฉาทิฏฐิ
 
๔๐. คิดว่า ผลของกรรมดีกรรมชั่วไม่มี จัดเป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศล
เกิดขึ้น ทางทวารใด ?
  ก. กายทวาร ข. วจีทวาร
  ค. มโนทวาร ง. ถูกทุกข้อ
 
๔๑. อกุศลกรรมบถข้อใด เกิดขึ้นได้ทั้ง ๓ ทวาร ?
  ก. ปาณาติบาต ข. กาเมสุมิจฉาจาร
  ค. มุสาวาท ง. อภิชฌา
 
๔๒. กรรมบถใด จัดเป็นมโนกรรมฝ่ายกุศล ?
  ก. ปาณาติบาต ข. อทินนาทาน
  ค. อภิชฌา ง. อพยาบาท
 
๔๓. การประพฤติธรรมจริยาและสมจริยา เป็นเหตุได้สวรรค์สมบัติ
ิตรงกับข้อใด ?
  ก. เกิดเป็นกษัตริย์ ข. เกิดเป็นพราหมณ์
  ค. เกิดเป็นแพศย์ ง. เกิดเป็นเทวดา
 
๔๔. ข้อใด จัดเป็นธรรมจริยาและสมจริยาทางวาจา ?
  ก. เว้นจากปาณาติบาต ข. เว้นจากอทินนาทาน
  ค. เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ง. เว้นจากสัมผัปปลาปะ
 
๔๕. พูดถ้อยคำที่มีหลักฐานและเหตุผล ชื่อว่าประพฤติกุศลกรรมบถ
ใด ?
  ก. เว้นจากพูดเท็จ ข. เว้นจากพูดคำหยาบ
  ค. เว้นจากพูดส่อเสียด ง. เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ
 
๔๖. ข้อใด ไม่เป็นรากเหง้าของกุศลกรรมบถ ?
  ก. อภิชฌา ข. อนภิชฌา
  ค. อพยาบาท ง. สัมมาทิฏฐิ
 
๔๗. ความปรองดอง เกิดขึ้นได้เพราะประพฤติกุศลกรรมบถใด ?
  ก. เว้นจากพูดเท็จ ข. เว้นจากพูดส่อเสียด
  ค. เว้นจากพูดคำหยาบ ง. เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ
 
๔๘. ความเห็นแจ้งอริยสัจ ๔ จัดเป็นกุศลกรรมบถใด ?
  ก. อนภิชฌา ข. อพยาบาท
  ค. สัมมาทิฏฐิ ง. ถูกทุกข้อ
 
๔๙. ข้อใด เป็นอานิสงส์แห่งกุศลกรรมบถที่นำไปสู่สุคติ ?
  ก. เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ข. เกิดเป็นมนุษย์
  ค. เกิดเป็นเปรต ง. เกิดเป็นอสุรกาย
 
๕๐. ข้อใด เป็นเหตุให้ไปเกิดในพรหมโลก ?
  ก. อกุศลกรรมบถ ข. กุศลกรรมบถ
  ค. อกุศลเจตนา ง. อกุศลมูล
         
     
เอกสารอ้างอิง    
  เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๔. หน้า ๓๐๔-๓๑๔.
         

ข้อสอบสนามหลวง