ปัญหาและเฉลย
วิชากรรมบถ (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันอังคาร ที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.




คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
   
๑. ชีวิตสรรพสัตว์จะสุขหรือทุกข์ มีอะไรเป็นเครื่องกำหนด ?
  ก. เทวดา ข. กรรม
  ค. มาร ง. พรหม
 
๒. วิชากรรมบถ เน้นหลักคำสอนว่าด้วยเรื่องอะไร ?
  ก. อำนาจแห่งวิบากกรรม ข. อำนาจแห่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์
  ค. อำนาจแห่งดาวเคราะห์ ง. อำนาจจิตอันประภัสสร
 
๓. กรรมบถจัดเป็นศีล แต่ไม่เหมือนศีล ๕ เพราะไม่มีสิกขาบทใด ?
  ก. ข้อ ๑ ข. ข้อ ๒
  ค. ข้อ ๔ ง. ข้อ ๕
 
๔. กรรมบถนั้น ว่าโดยการกระทำมี ๓ อย่าง ยกเว้นข้อใด ?
  ก. กายกรรม ข. วจีกรรม
  ค. มโนกรรม ง. เวรกรรม
 
๕. เชื้อโรคเข้าทางร่างกาย ส่วนกิเลสจะเข้าสู่ตัวเราทางใด ?
  ก. ทางกาย ข. ทางวาจา
  ค. ทางใจ ง. ถูกทุกข้อ
 
๖. อะไรเป็นมูลเหตุให้บุคคลกระทำกรรมชั่ว ?
  ก. กุศลมูล ข. อกุศลมูล
  ค. กุศลจิต ง. อกุศลจิต
 
๗. สิ่งที่ใจเข้าไปยึดเหนี่ยว เป็นเหตุให้กระทำกรรม เรียกว่าอะไร ?
  ก. เจตนา ข. เวทนา
  ค. อารมณ์ ง. สัญญา
 
๘. ความรู้สึกในอารมณ์ว่าเป็นสุขทุกข์ เรียกว่าอะไร ?
  ก. เจตนา ข. เวทนา
  ค. อารมณ์ ง. สังขาร
 
๙. การกระทำที่ขาดเจตนา จัดเป็นกรรมอะไร ?
  ก. กายกรรม ข. วจีกรรม
  ค. มโนกรรม ง. ไม่เป็นกรรม
 
๑๐. อกุศลกรรมเป็นกิจไม่ควรทำ เพราะเหตุไร ?
  ก. ให้ผลบางคราว ข. ให้ผลแก่บางคน
  ค. ให้ผลเป็นทุกข์ ง. ให้ผลไม่แน่นอน
 
๑๑. อกุศลกรรมทางกายที่คนไม่ควรกระทำ ตรงกับข้อใด ?
  ก. ปาณาติบาต ข. มุสาวาท
  ค. สัมผัปปลาปะ ง. พยาบาท
 
๑๒. ผู้ประพฤติอกุศลกรรม ย่อมเกิดในอบายภูมิ ตรงกับข้อใด ?
  ก. มนุษย์ ข. เทวดา
  ค. พรหม ง. เปรต
 
๑๓. โลภะ โดยตรงเป็นสมุฏฐานให้เกิดอะไร ?
  ก. ฆ่าสัตว์ ข. ลักขโมย
  ค. เห็นผิด ง. พยาบาท
 
๑๔. โทสะ โดยตรงเป็นสมุฏฐานให้เกิดอะไร ?
  ก. ความโลภ ข. ความโกรธ
  ค. ความหลง ง. ความกลัว
 
๑๕. โมหะ โดยตรงเป็นสมุฏฐานให้เกิดอะไร ?
  ก. ความรุนแรง ข. ความละโมบ
  ค. ความอาฆาต ง. ความงมงาย
 
๑๖. คำว่า มือเปื้อนเลือด ตรงกับอกุศลกรรมบถข้อใด ?
  ก. ปาณาติบาต ข. อทินนาทาน
  ค. กาเมสุมิจฉาจาร ง. สัมผัปปลาปะ
 
๑๗. คำว่า ปาณะ ในปาณาติบาต โดยปรมัตถ์ ได้แก่อะไร ?
  ก. สรรพสัตว์ ข. มนุษย์
  ค. ชีวิตินทรีย์ ง. สิ่งของ
 
๑๘. ในปาณาติบาต เมื่อรูปชีวิตินทรีย์ขาด อะไรย่อมขาดตามด้วย ?
  ก. อาสวกิเลส ข. ตัณหาอุปาทาน
  ค. กายินทรีย์ ง. อรูปชีวิตินทรีย์
 
๑๙. ข้อใด เป็นผลกรรมของผู้กระทำปาณาติบาต ?
  ก. อ่อนแอ ข. อดอยาก
  ค. ยากจน ง. คนนินทา
 
๒๐. การตายลักษณะใด ไม่ถือว่าเป็นปาณาติบาต ?
  ก. ถูกตีตาย ข. ประหารชีวิต
  ค. ตายเอง ง. สั่งฆ่าให้ตาย
 
๒๑. คำว่า เถยยจิต ในอทินนาทาน หมายถึงอะไร ?
  ก. จิตเป็นฆาตกร ข. จิตเป็นขโมย
  ค. จิตเป็นหัวหน้า ง. จิตเป็นตัวนำ
 
๒๒. อทินนาทานที่เกิดขึ้นทางวจีทวาร ตรงกับข้อใด ?
  ก. มีจิตคิดจะลัก ข. พยายามจะลัก
  ค. ลักด้วยตนเอง ง. สั่งให้คนอื่นลัก
 
๒๓. ข้อใด เป็นผลกรรมของผู้กระทำอทินนาทาน ?
  ก. ด้อยทรัพย์ ข. อับปัญญา
  ค. หมดบารมี ง. มีโรคมาก
 
๒๔. กาเมสุมิจฉาจาร เกิดขึ้นทางทวารใด ?
  ก. กายทวาร ข. วจีทวาร
  ค. มโนทวาร ง. ถูกทุกข้อ
 
๒๕. กาเมสุมิจฉาจารอาศัยอะไร จึงจะสำเร็จเป็นกรรมบถได้ ?
  ก. สัมผัสทางกาย ข. สัมผัสทางใจ
  ค. สัมผัสทางวัตถุ ง. สัมผัสทางใน
 
๒๖. องค์แห่งกาเมสุมิจฉาจาร ตรงกับข้อใด ?
  ก. จิตคิดจะฆ่า ข. จิตคิดจะลัก
  ค. จิตคิดจะเสพ ง. จิตคิดจะพูด
 
๒๗.

เจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้คนเข้าใจผิดในสถานการณ์
จัดเป็นวจีกรรมประเภทใด ?

     
  ก. มุสาวาท ข. ปิสุณวาจา
  ค. ผรุสวาจา ง. สัมผัปปลาปะ
 
๒๘.

กล่าวโจมตีให้ร้ายป้ายสีฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้คนอื่นเข้าข้างตน
จัดเป็นวจีกรรมประเภทใด ?

     
  ก. มุสาวาท ข. ปิสุณวาจา
  ค. ผรุสวาจา ง. สัมผัปปลาปะ
 
๒๙. มุสาวาทที่เกิดขึ้นทางกายทวาร ตรงกับข้อใด ?
  ก. แจ้งความเท็จ ข. เป็นพยานเท็จ
  ค. เบิกความเท็จ ง. ปลอมเอกสาร
 
๓๐. องค์แห่งมุสาวาทข้อใด ทำให้สำเร็จเป็นกรรมบถ ?
  ก. เรื่องไม่จริง ข. คิดจะพูด
  ค. พูดออกไป ง. คนอื่นเชื่อ
 
๓๑. ปิสุณวาจา ตรงกับข้อใด ?
  ก. ความแตกแยก ข. ทำให้แตกแยก
  ค. พูดให้แตกแยก ง. คิดให้แตกแยก
 
๓๒. ปิสุณวาจา เกิดขึ้นทางทวารใด ?
  ก. กายทวาร วจีทวาร ข. กายทวาร มโนทวาร
  ค. วจีทวารอย่างเดียว ง. วจีทวาร มโนทวาร
 
๓๓. ผรุสวาจามีโทษมาก เพราะคนที่ถูกด่าเป็นคนเช่นไร ?
  ก. มีความรู้มาก ข. มีทรัพย์สินมาก
  ค. มีอำนาจมาก ง. มีคุณธรรมมาก
 
๓๔. อกุศลธรรมทางใจ ตรงกับข้อใด ?
  ก. เห็นผิด ข. ทำผิด
  ค. พูดผิด ง. สั่งผิด
 
๓๕. ความโลภคิดอยากได้ของคนอื่น เรียกว่าอะไร ?
  ก. อเนสนา ข. อทินนา
  ค. อภิชฌา ง. อนภิชฌา
 
๓๖. บุคคลเช่นไร เรียกว่าลุแก่อำนาจอภิชฌา ?
  ก. โลภมาก ข. พูดมาก
  ค. นอนมาก ง. คิดมาก
 
๓๗. เมื่ออภิชฌาเกิดขึ้นบ่อย ๆ เป็นเหตุให้คนกระทำอกุศลกรรมใด ?
  ก. ฆ่าสัตว์ ข. ลักทรัพย์
  ค. เสพกาม ง. พูดโกหก
 
๓๘. เมื่อพยาบาทเกิดขึ้นบ่อย ๆ เป็นเหตุให้คนกระทำอกุศลกรรมใด ?
  ก. ฆ่าสัตว์ ข. ลักทรัพย์
  ค. เสพกาม ง. พูดโกหก
 
๓๙. ความเห็นผิดในข้อใด ท่านกล่าวว่ามีโทษมากที่สุด ?
  ก. นัตถิกทิฏฐิ ข. อกิริยทิฏฐิ
  ค. อเหตุกทิฏฐิ ง. มากทุกข้อ
 
๔๐. อนภิชฌา มีลักษณะตรงกันข้ามกับข้อใด ?
  ก. คิดเสียสละ ข. คิดประจบ
  ค. คิดสงสาร ง. คิดละโมบ
 
๔๑. การผูกโกรธทำให้ใจเร่าร้อน ควรแก้ด้วยกุศลกรรมบถข้อใด ?
  ก. อนภิชฌา ข. อพยาบาท
  ค. สัมมาทิฏฐิ ง. ถูกทุกข้อ
 
๔๒. เห็นว่าพ่อแม่เป็นผู้มีพระคุณแก่ลูก ตรงกับข้อใด ?
  ก. สัมมาทิฏฐิ ข. นัตถิกทิฏฐิ
  ค. อกิริยทิฏฐิ ง. อเหตุกทิฏฐิ
 
๔๓. ปัญญารู้เท่าทันความเป็นจริง จัดเป็นกุศลกรรมบถข้อใด ?
  ก. อภิชฌา ข. อพยาบาท
  ค. สัมมาทิฏฐิ ง. ถูกทุกข้อ
 
๔๔. บุคคลประพฤติอย่างไร เรียกว่ามีเมตตากายกรรม ?
  ก. งดทำร้ายกัน ข. งดให้ร้ายกัน
  ค. งดป้ายสีกัน ง. งดระแวงกัน
 
๔๕. คนมีพฤติกรรมเป็นนักเลงหัวไม้ เพราะไม่งดเว้นเรื่องใด ?
  ก. อภิชฌา ข. ปาณาติบาต
  ค. มุสาวาท ง. สัมผัปปลาปะ
 
๔๖. นอกจากพูดดีแล้ว ควรพูดคำที่เป็นประโยชน์ด้วย ตรงกับข้อใด ?
  ก. พูดเรื่องจริง ข. พูดให้รักกัน
  ค. พูดหวานหู ง. พูดให้มีสาระ
 
๔๗. บุคคลประพฤติเช่นไร เรียกว่าตามรักษาวาจา ?
  ก. เว้นกายทุจริต ข. เว้นวจีทุจริต
  ค. เว้นมโนทุจริต ง. ถูกทุกข้อ
 
๔๘. การไม่ผูกพยาบาท จัดเป็นธรรมจริยาและสมจริยาทางใด ?
  ก. ทางกาย ข. ทางวาจา
  ค. ทางใจ ง. ถูกทุกข้อ
 
๔๙. ความรู้สึกอิ่มเอิบใจในขณะไหว้พระสวดมนต์ จัดเป็นเวทนาใด ?
  ก. สุขเวทนา ข. ทุกขเวทนา
  ค. โสมนัสสเวทนา ง. อุเบกขาเวทนา
 
๕๐. ผู้ประพฤติกุศลกรรมบถ ในขณะใกล้ตายจะได้รับอานิสงส์ใด ?
  ก. ไม่ตำหนิตัวเอง ข. ไม่หลงลืมสติ
  ค. มีคนสรรเสริญ ง. เข้าถึงสุคติภูมิ
         
     
เอกสารอ้างอิง    
  เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๑. หน้า ๒๓๔-๒๔๒.
         

ข้อสอบสนามหลวง