ปัญหาและเฉลย
วิชากรรมบถ (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วฝนลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
พระพุทธศาสนาสอนให้เชื่อเรื่องใด ?
ก.
ไสยศาสตร์
ข.
ปาฏิหาริย์
ค.
กรรม
ง.
เทพเจ้า
๒.
สิ่งใดสำคัญที่สุดในการกระทำกรรม ?
ก.
เจตนา
ข.
อารมณ์
ค.
สังขาร
ง.
การกระทำ
๓.
กรรมที่ทำทางใจเรียกให้ถูกต้องเรียกว่าอะไร ?
ก.
กายกรรม
ข.
วจีกรรม
ค.
มโนกรรม
ง.
จิตรกรรม
๔.
ผลของกรรม ทางธรรมเรียกว่าอะไร ?
ก.
บุญกรรม
ข.
เวรกรรม
ค.
วิบากกรรม
ง.
เจตนากรรม
๕.
กรรมบถ หมายถึงอะไร ?
ก.
การทำความดี
ข.
การทำความชั่ว
ค.
การทำกรรม
ง.
ทางเกิดแห่งกรรม
๖.
ผู้มักโกรธจะได้รับผลคืออะไร ?
ก.
อายุสั้น
ข.
ผิวพรรณทราม
ค.
เป็นม่าย
ง.
หาคู่ครองมิได้
๗.
สิ่งที่ทำลายความชั่ว เป็นความหมายของคำใด ?
ก.
อกุศล
ข.
กุศล
ค.
กรรม
ง.
กรรมบถ
๘.
ข้อใด ไม่ใช่อกุศลกรรมบถ ?
ก.
สัมมาทิฏฐิ
ข.
ปาณาติบาต
ค.
อทินนาทาน
ง.
มิจฉาทิฏฐิ
๙.
ข้อใด จัดเป็นกุศลกรรมบถ ?
ก.
พยาบาท
ข.
มิจฉาทิฏฐิ
ค.
อนภิชฌาิ
ง.
อทินนาทาน
๑๐.
กรรมใด เป็นทั้งอกุศลกรรมบถ และรากเหง้าของอกุศลอื่นด้วย ?
ก.
อภิชฌาและมิจฉาทิฏฐิ
ข.
มิจฉาทิฏฐิและพยาบาท
ค.
อภิชฌาและอทินนาทาน
ง.
อภิชฌาและพยาบาท
๑๑.
รถยนต์ ไม่จัดเป็นอารมณ์ของกรรมบถข้อใด ?
ก.
ปาณาติบาต
ข.
อทินนาทาน
ค.
อภิชฌา
ง.
มิจฉาทิฏฐิ
๑๒.
โทรศัพท์มือถือ ไม่จัดเป็นอารมณ์ของกรรมบถข้อใด ?
ก.
อทินนาทาน
ข.
อภิชฌา
ค.
พยาบาท
ง.
มิจฉาทิฏฐิ
๑๓.
ข้อใดไม่ใช่ปาณาติบาตที่เกิดทางกาย ?
ก.
ใช้มีดฟันให้ตายเอง
ข.
ทำกับดักให้ตกไปตาย
ค.
ใช้ปืนยิงให้ตาย
ง.
พูดสั่งให้คนอื่นฆ่า
๑๔.
ปาณาติบาตที่เกิดทางวจีทวาร มีลักษณะเช่นไร ?
ก.
ใช้มีดฟันให้ตายเอง
ข.
พูดสั่งให้คนอื่นฆ่า
ค.
ใช้ปืนยิงให้ตาย
ง.
เขียนใบสั่งให้ฆ่า
๑๕.
ปาณาติบาต มีองค์กี่ประการ ?
ก.
๓ ประการ
ข.
๔ ประการ
ค.
๕ ประการ
ง.
๖ ประการ
๑๖.
เพราะเหตุใด ปาณาติบาต จึงจัดว่าเป็นทุกขเวทนา ?
ก.
เพราะฆ่าด้วยความเจ็บปวด
ข.
เพราะฆ่าด้วยความโลภ
ค.
เพราะฆ่าด้วยความโกรธ
ง.
เพราะฆ่าด้วยความหลง
๑๗.
ข้อใด ไม่จัดเป็นองค์ของปาณาติบาต ?
ก.
สัตว์มีชีวิต
ข.
รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
ค.
พยายามฆ่า
ง.
หลบหนี
๑๘.
อทินนาทานในข้อใด มีโทษมากที่สุด ?
ก.
ขโมยมะม่วงจากสวนข้างบ้าน
ข.
ขโมยเงินจากตู้โทรศัพท์สาธารณะ
ค.
ขโมยเงินจากตู้บริจาคในวัด
ง.
ขโมยเงินของบิดา มารดา
๑๙.
ปรทารคมนะ คือการประพฤติผิดในข้อใด ?
ก.
ล่วงละเมิดทางเพศเด็กสาว
ข.
ล่วงละเมิดทางเพศหญิงสาว
ค.
ล่วงละเมิดทางเพศภรรยาคนอื่น
ง.
ล่วงละเมิดทางเพศภรรยาตนเอง
๒๐.
กาเมสุมิจฉาจารในข้อใด มีโทษมากที่สุด ?
ก.
ประพฤติกับผู้สมยอม
ข.
ประพฤติกับผู้มีคุณธรรม
ค.
ประพฤติกับผู้ไม่ยินยอม
ง.
ประพฤติกับญาติพี่น้อง
๒๑.
มุสาวาท มีองค์กี่ประการ ?
ก.
๒ ประการ
ข.
๓ ประการ
ค.
๔ ประการ
ง.
๕ ประการ
๒๒.
องค์ของมุสาวาทข้อสุดท้าย คือข้อใด ?
ก.
จิตคิดจะพูดเท็จ
ข.
เรื่องไม่จริง
ค.
พยายามพูด
ง.
คนอื่นรู้เรื่องนั้น
๒๓.
ลักษณะของปิสุณวาจาคือข้อใด ?
ก.
พูดหยาบ
ข.
พูดให้แตกสามัคคี
ค.
พูดไร้สาระ
ง.
พูดหลอกลวง
๒๔.
ข้อใด ไม่จัดเป็นผรุสวาจาที่เป็นกรรมบถ ?
ก.
ด่าเพื่อนด้วยความโกรธ
ข.
นักเรียนด่าครูที่ทำโทษตนเอง
ค.
หลานด่าน้าที่ไม่ช่วยทำการบ้าน
ง.
ครูด่านักเรียนที่ไม่ทำการบ้าน
๒๕.
ข้อใด เป็นองค์ของผรุสวาจาที่ถึงความเป็นกรรมบถ ?
ก.
มีคนถูกด่า
ข.
มีจิตโกรธ
ค.
ด่าต่อหน้า
ง.
ด่าลับหลัง
๒๖.
สัมผัปปลาปะ คือการพูดเช่นไร ?
ก.
พูดเรื่องเที่ยวขณะเรียน
ข.
พูดหลอกลวงครูขณะเรียน
ค.
พูดคำหยาบขณะเรียน
ง.
พูดยุให้เพื่อนแตกกันขณะเรียน
๒๗.
ความโลภอยากได้ทรัพย์ของคนอื่นเป็นของตน เรียกว่าอะไร ?
ก.
อทินนาทาน
ข.
อภิชฌา
ค.
พยาบาท
ง.
มิจฉาทิฏฐิ
๒๘.
ความโลภในข้อใด มีโทษมากที่สุด ?
ก.
อยากได้ทีวีในห้าง
ข.
อยากได้ที่ดินหลวง
ค.
อยากได้ที่ดินธรณีสงฆ์
ง.
อยากได้โทรศัพท์ของเพื่อน
๒๙.
ความคิดใดไม่จัดเป็นพยาบาท ?
ก.
คิดให้เพื่อนที่เรียนเก่งกว่าสอบตก
ข.
คิดให้ตนเองเรียนเก่งกว่าคนอื่น
ค.
คิดให้ครูที่ลงโทษตนเองตกงาน
ง.
คิดให้เพื่อนที่ด่าตนเองรถคว่ำ
๓๐.
ข้อใด ไม่จัดเป็นโทษที่ผู้มีจิตพยาบาทจะได้รับ ?
ก.
เจ็บป่วยหมดทางรักษา
ข.
ทรัพย์สินสูญหาย
ค.
ชีวิตมีอุปสรรค
ง.
ไม่มีเพื่อน
๓๑.
เห็นว่าฆ่าคนไม่เป็นบาป จัดเป็นมิจฉาทิฏฐิข้อไหน ?
ก.
นัตถิกทิฏฐิ
ข.
อเหตุกทิฏฐิ
ค.
อกิริยทิฏฐิ
ง.
อุจเฉททิฏฐิ
๓๒.
เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ตรงกับข้อใด ?
ก.
สัมมาทิฏฐิ
ข.
สัมมาสังกัปปะ
ค.
สัมมาอาชีวะ
ง.
สัมมาวายามะ
๓๓.
กรรมใด ให้ผลกว้างขวางและแรงกว่ากรรมอื่น ?
ก.
กายกรรม
ข.
วจีกรรม
ค.
มโนกรรม
ง.
อนันตริยกรรม
๓๔.
ผลของความดี ความชั่ว เรียกว่าอะไร ?
ก.
กิเลส
ข.
กรรม
ค.
วิบาก
ง.
อานิสงส์
๓๕.
เจตนางดเว้นจากการทำความชั่วเรียกว่าอะไร ?
ก.
ศีล
ข.
เวรมณี
ค.
สิกขาบท
ง.
กุศล
๓๖.
ผู้ไม่ต้องการถูกทำร้ายร่างกาย ควรงดเว้นจากกรรมใด ?
ก.
ปาณาติบาต
ข.
สัมผัปปลาปะ
ค.
พยาบาท
ง.
อภิชฌา
๓๗.
ผู้ฆ่าสัตว์จะได้รับผลเช่นไร ?
ก.
ทำกินไม่ขึ้น
ข.
ล้มละลาย
ค.
ตายโหง
ง.
อายุสั้น
๓๘.
ผู้เบียดเบียนสัตว์จะได้รับผลอย่างไร ?
ก.
มีทุกข์มาก
ข.
มีโรคมาก
ค.
มีหนี้มาก
ง.
มีศัตรูมาก
๓๙.
คนที่งดเว้นจากอทินนาทานจะได้รับผลเช่นไร ?
ก.
ไม่ถูกทำร้ายร่างกาย
ข.
ไม่ถูกหลอกลวง
ค.
ทรัพย์สินไม่หาย
ง.
ไม่ถูกด่า
๔๐.
คนที่งดเว้นจากมุสาวาทจะเป็นคนเช่นไร ?
ก.
น่าเคารพ
ข.
น่ารัก
ค.
น่าเชื่อถือ
ง.
น่าบูชา
๔๑.
คำพูดไม่สุภาพแข็งกร้าว ตรงกับข้อใด ?
ก.
ผรุสวาจา
ข.
ปิสุณวาจา
ค.
สัมผัปปลาปะ
ง.
มุสาวาท
๔๒.
การบรรลุเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ จัดเป็นสมบัติในข้อใด ?
ก.
มนุษยสมบัติ
ข.
สวรรคสมบัติ
ค.
พรหมสมบัติ
ง.
นิพพานสมบัติ
๔๓.
คำว่า
“ สีเลน โภคสมฺปทา ”
มีความหมายเช่นไร ?
ก.
ไปสวรรค์ได้ด้วยศีล
ข.
มีทรัพย์สมบัติได้ด้วยศีล
ค.
บรรลุนิพพานได้ด้วยศีล
ง.
จิตสงบได้ด้วยศีล
๔๔.
ผู้มีทานูปนิสัยสามารถกำจัดอะไรได้ ?
ก.
ความโลภ
ข.
ความโกรธ
ค.
ความหลง
ง.
ความไม่รู้
๔๕.
ผู้มีสีลูปนิสัย ย่อมมีพฤติกรรมเช่นไร ?
ก.
ไม่โลภ
ข.
เสียสละ
ค.
ไม่เบียดเบียน
ง.
ไม่จองเวร
๔๖.
ผู้มีภาวนูปนิสัย ย่อมมีพฤติกรรมเช่นไร ?
ก.
หมั่นให้ทาน
ข.
รักษาศีล
ค.
ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น
ง.
พยายามทำความดี
๔๗.
สิ่งที่เข้าไปยึดแล้วเป็นเหตุให้ทำดีทำชั่ว เรียกว่าอะไร ?
ก.
อุปนิสัย
ข.
อารมณ์
ค.
โกฏฐาสะ
ง.
เวทนา
๔๘.
เวทนา คืออะไร ?
ก.
ความรู้สึก
ข.
ความเจ็บปวด
ค.
ความสงสาร
ง.
ความปรารถนา
๔๙.
ข้อใด เป็นรากเหง้าของการทำความดี ?
ก.
กุศลมูล
ข.
อกุศลมูล
ค.
อุปนิสัย
ง.
สุจริต
๕๐.
กาย วาจา ใจ รวมเรียกว่าอะไร ?
ก.
ไตรลักษณ์
ข.
ไตรสรณะ
ค.
ไตรทวาร
ง.
ไตรสิกขา
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๔๖. หน้า ๒๑๕-๒๒๕.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐