ปัญหาและเฉลย
วิชากรรมบถ (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
ข้อใด เป็นความหมายของกรรมบถ ?
ก.
กรรมนำสัตว์สู่สุคติทุคติ
ข.
กรรมน้ำสัตว์สู่พรหมโลก
ค.
กรรมนำสัตว์สู่มนุษยภูมิ
ง.
กรรมนำสัตว์ไปอบายภูมิ
๒.
กุศลกรรมบถนำสัตว์ให้ไปเกิดในกำเนิดที่ดี ตรงกับข้อใด ?
ก.
สัตว์นรก
ข.
เปรต
ค.
อสุรกาย
ง.
มนุษย์
๓.
อกุศลกรรมบถนำสัตว์ให้ไปเกิดในกำเนิดที่เลว ตรงกับข้อใด ?
ก.
พรหม
ข.
เทวดา
ค.
เปรต
ง.
มนุษย์
๔.
กรรมบถ ๑๐ ประการ จัดเป็นกรรม ๓ อย่าง ยกเว้นข้อใด ?
ก.
กายกรรม
ข.
วจีกรรม
ค.
มโนกรรม
ง.
เวรกรรม
๕.
ในทางพระพุทธศาสนาว่า สุขทุกข์ของสัตว์ทั้งหลาย เกิดจาก
อะไร ?
ก.
กิเลส
ข.
กรรม
ค.
วิบาก
ง.
ชะตา
๖.
อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นเหตุให้บุคคลกระทำกรรมใด ?
ก.
บาปกรรม
ข.
อกุศลกรรม
ค.
กุศลกรรม
ง.
อโหสิกรรม
๗.
การกระทำของสัตว์ทั้งหลายจะเป็นบุญหรือบาป ขึ้นอยู่กับอะไร ?
ก.
เจตนา
ข.
สัญญา
ค.
เวทนา
ง.
อารมณ์
๘.
การทำความดีความชั่วของสัตว์ทั้งหลาย เกิดขึ้นได้ทางใด ?
ก.
การกระทำ
ข.
คำพูด
ค.
ความคิด
ง.
ถูกทุกข้อ
๙.
การกระทำที่ไม่สำเร็จเป็นกรรมบถ เพราะขาดองค์ประกอบใด ?
ก.
เวทนา
ข.
สัญญา
ค.
เจตนา
ง.
อารมณ์
๑๐.
กรรมที่เกิดจากการกระทำทางกาย เรียกว่าอะไร ?
ก.
กายกรรม
ข.
วจีกรรม
ค.
มโนกรรม
ง.
ครุกรรม
๑๑.
ข้อใด ไม่นับเข้าในวจีกรรมฝ่ายอกุศล ?
ก.
ปิสุณวาจา
ข.
มุสาวาท
ค.
ผรุสวาจา
ง.
พยาบาท
๑๒.
การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต โดยตรงเกิดขึ้นจากกิเลสใด ?
ก.
โลภะ
ข.
โทสะ
ค.
โมหะ
ง.
ทิฏฐิ
๑๓.
ปาณาติบาตเป็นกายกรรม เพราะโดยมากเกิดขึ้นทางทวารใด ?
ก.
กายทวาร
ข.
วจีทวาร
ค.
มโนทวาร
ง.
ถูกทุกข้อ
๑๔.
ข้อใด เป็นอารมณ์ให้บุคคลกระทำปาณาติบาตได้ ?
ก.
ภูเขา
ข.
ต้นไม้
ค.
สัตว์
ง.
ลำธาร
๑๕.
จิตคิดจะฆ่า เป็นองค์แห่งอกุศลกรรมบถข้อใด ?
ก.
ปาณาติบาต
ข.
พยาบาท
ค.
อทินนาทาน
ง.
ผรุสวาจา
๑๖.
จิตคิดจะลัก เป็นองค์แห่งอกุศลกรรมบถข้อใด ?
ก.
ปาณาติบาต
ข.
พยาบาท
ค.
อทินนาทาน
ง.
ผรุสวาจา
๑๗.
นาย ก สั่งนาย ข ให้ฆ่าคน เป็นปาณาติบาตเกิดขึ้นทางทวารใด?
ก.
กายทวาร
ข.
วจีทวาร
ค.
มโนทวาร
ง.
ทุกทวาร
๑๘.
ปาณาติบาตมีโทษมากเพราะฆ่าสัตว์มีคุณ ตรงกับข้อใด ?
ก.
ช้าง
ข.
บ่าง
ค.
ค่าง
ง.
ชะนี
๑๙.
ข้อใด เป็นโทษเกิดจากการกระทำปาณาติบาต ?
ก.
ครอบครัวแตกแยก
ข.
มีโรคภัยเบียดเบียน
ค.
ทรัพย์สินสูญสลาย
ง.
มีแต่คนคอยว่าร้าย
๒๐.
ข้อใด เป็นโทษเกิดจากการกระทำอทินนาทาน ?
ก.
เงินทองรั่วไหล
ข.
ถูกใส่ร้ายป้ายสี
ค.
ไม่มีคนเชื่อถือ
ง.
มีสติเลอะเลือน
๒๑.
คำว่า อย่ามือไวใจเร็ว หมายถึง ห้ามประพฤติอกุศลกรรมบถใด ?
ก.
มิจฉาทิฏฐิ
ข.
ปาณาติบาต
ค.
ปิสุณวาจา
ง.
อทินนาทาน
๒๒.
พัสดุสิ่งของในข้อใด จัดเป็นวัตถุแห่งอทินนาทาน ?
ก.
เจ้าของทิ้ง
ข.
เจ้าของหวง
ค.
เจ้าของให้
ง.
เจ้าของแจก
๒๓.
อทินนาทานมีโทษมาก เพราะเจ้าของมีคุณมาก ตรงกับข้อใด ?
ก.
พ่อแม่
ข.
เพื่อน
ค.
พี่น้อง
ง.
หลาน
๒๔.
อทินนาทานที่เกิดขึ้นทางวจีทวาร ตรงกับข้อใด ?
ก.
มีจิตคิดจะลัก
ข.
พยายามจะลัก
ค.
ลักด้วยตัวเอง
ง.
สั่งให้คนอื่นลัก
๒๕.
พฤติกรรมใด เรียกว่า กาเมสุมิจฉาจาร ?
ก.
จับปลาสองมือ
ข.
นับถือภรรยาตน
ค.
เป็นคนรักเดียว
ง.
ไม่เกี้ยวแฟนใคร
๒๖.
เจตนาเป็นเหตุให้กระทำวจีกรรมฝ่ายอกุศล ตรงกับข้อใด ?
ก.
ฆ่าสัตว์
ข.
เห็นผิด
ค.
ละโมบ
ง.
พูดปด
๒๗.
เจตนาเป็นเหตุให้คนพูดเท็จ เรียกว่าอะไร ?
ก.
มุสาวาท
ข.
ปิสุณวาจา
ค.
สัมผัปปลาปะ
ง.
ผรุสวาจา
๒๘.
องค์ที่ทำให้มุสาวาทสำเร็จเป็นกรรมบถ ตรงกับข้อใด ?
ก.
เรื่องไม่จริง
ข.
จิตคิดจะพูด
ค.
พยายามพูด
ง.
คนอื่นเข้าใจ
๒๙.
คำพูดยุยงทำให้คนเข้าใจผิดต่อกัน เรียกว่าอะไร ?
ก.
มุสาวาท
ข.
ปิสุณวาจา
ค.
สัมผัปปลาปะ
ง.
ผรุสวาจา
๓๐.
คำพูดที่ไม่เกิดประโยชน์ทั้งแก่ผู้พูดและผู้ฟัง เรียกว่าอะไร ?
ก.
มุสาวาท
ข.
ผรุสวาจา
ค.
สัมผัปปลาปะ
ง.
ปิสุณวาจา
๓๑.
อภิชฌา โดยสภาวะ ได้แก่กิเลสใด ?
ก.
โลภะ
ข.
โทสะ
ค.
โมหะ
ง.
มานะ
๓๒.
พยาบาท โดยสภาวะ ได้แก่กิเลสใด ?
ก.
โลภะ
ข.
โทสะ
ค.
โมหะ
ง.
ทิฏฐิ
๓๓.
ความคิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น ตรงกับข้อใด ?
ก.
จงอย่ามีเวรต่อกันเลย
ข.
จงอย่าทุกข์กายใจเลย
ค.
จงอย่าเบียดเบียนกัน
ง.
จงถึงความพินาศเถิด
๓๔.
ความคิดอาฆาตจองเวรผู้อื่น ควรแก้ด้วยวิธีใด ?
ก.
เจริญเมตตา
ข.
ภาวนาพุทโธ
ค.
ว่านโมให้จบ
ง.
สงบหยุดนิ่ง
๓๕.
จิตที่สหรคตด้วยอภิชฌา เป็นเหตุให้คนทำอกุศลกรรมใด ?
ก.
ฆ่าสัตว์
ข.
ลักทรัพย์
ค.
อาฆาต
ง.
พูดโกหก
๓๖.
จิตที่สหรคตด้วยพยาบาท เป็นเหตุให้คนทำอกุศลกรรมใด ?
ก.
เสพกาม
ข.
ลักทรัพย์
ค.
ฆ่าสัตว์
ง.
พูดโกหก
๓๗.
ความเห็นใด ปฏิเสธกรรมและผลแห่งกรรมอย่างสิ้นเชิง ?
ก.
สัมมาทิฏฐิ
ข.
มิจฉาทิฏฐิ
ค.
สักกายทิฏฐิ
ง.
สัสสตทิฏฐิ
๓๘.
ความเห็นใด ไม่นับเข้าในนิยตมิจฉาทิฏฐิ ?
ก.
สัมมาทิฏฐิ
ข.
นัตถิกทิฏฐิ
ค.
อกิริยทิฏฐิ
ง.
อเหตุกทิฏฐิ
๓๙.
ความเห็นที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ เกิดขึ้นจากอกุสลมูลใด ?
ก.
โลภะ
ข.
โทสะ
ค.
โมหะ
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๐.
ความเห็นใด ไม่ใช่ความเห็นเป็นมิจฉาทิฏฐิ ?
ก.
โลกหน้าไม่มี
ข.
ตายแล้วสูญ
ค.
บาปบุญไม่มี
ง.
ทานมีผลจริง
๔๑.
บางคนมีจิตโกรธแค้น พูดสาปแช่งให้ผู้อื่นประสบความวิบัติ
จัดเป็นมโนกรรมเกิดขึ้นทางทวารใด ?
ก.
กายทวาร
ข.
วจีทวาร
ค.
มโนทวาร
ง.
ทุกทวาร
๔๒.
อกุศลกรรมบถใด เพียงแต่คิดในใจก็สำเร็จเป็นกรรมบถได้ ?
ก.
กาเมสุมิจฉาจาร
ข.
ผรุสวาจา
ค.
สัมผัปปลาปะ
ง.
พยาบาท
๔๓.
กรรมบถใด จัดเป็นมโนกรรมฝ่ายกุศล ?
ก.
มิจฉาทิฏฐิ
ข.
อภิชฌา
ค.
สัมมาทิฏฐิ
ง.
มุสาวาท
๔๔.
มีท่อนไม้และศัสตราอันวางแล้ว หมายถึงข้อใด ?
ก.
หยุดทำร้ายกัน
ข.
หยุดลักขโมยกัน
ค.
หยุดใส่ร้ายกัน
ง.
หยุดปองร้ายกัน
๔๕.
ข้อใด กล่าวเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนาได้ถูกต้อง ?
ก.
ตัดกรรมได้
ข.
ถอนกรรมได้
ค.
แก้กรรมได้
ง.
ได้รับผลกรรม
๔๖.
ข้อใด เป็นผลที่ได้รับจากการประพฤติกุศลกรรมบถโดยตรง ?
ก.
มนุษย์
ข.
สัตว์เดรัจฉาน
ค.
สัตว์นรก
ง.
เปรตอสุรกาย
๔๗.
บุคคลประพฤติอย่างไร เรียกว่ามีเมตตาวจีกรรม ?
ก.
งดทำร้ายกัน
ข.
งดปองร้ายกัน
ค.
งดป้ายสีกัน
ง.
งดลักขโมยกัน
๔๘.
สัมมาทิฏฐิ เป็นธรรมจริยาและสมจริยาทางใด ?
ก.
ทางกาย
ข.
ทางวาจา
ค.
ทางใจ
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๙.
ผู้สละประโยชน์ส่วนตนให้แก่ส่วนรวม ได้ชื่อว่ามีอุปนิสัยใด ?
ก.
ทานูปนิสัย
ข.
สีลูปนิสัย
ค.
ภาวนูปนิสัย
ง.
ถูกทุกข้อ
๕๐.
กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ จัดเข้าในหลักธรรมใด ?
ก.
ศีล
ข.
สมาธิ
ค.
ปัญญา
ง.
วิมุตติ
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๒. หน้า ๒๑๒-๒๒๐.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐