ปัญหาและเฉลย
วิชากรรมบถ (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
ธรรมชาติที่มีอิทธิพลเหนือดวงดาว ผีสางเทวดา ตรงกับข้อใด ?
ก.
เทวานุภาพ
ข.
พระผู้เป็นเจ้า
ค.
เครื่องรางของขลัง
ง.
กฎแห่งกรรม
๒.
การประกอบกรรมดี ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ เรียกว่าอะไร ?
ก.
กุศลเจตนา
ข.
อกุศลเจตนา
ค.
กุศลกรรม
ง.
อกุศลกรรม
๓.
การทำความดีของมนุษย์ทั้งหลาย มุ่งถึงประโยชน์อะไร ?
ก.
เพื่อเพิ่มพูนบุญกุศล
ข.
เพื่องดเว้นความชั่ว
ค.
เพื่อละความเห็นแก่ตัว
ง.
ถูกทุกข้อ
๔.
กุศลกรรมบถ มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.
ทางแห่งความดี
ข.
ทางไปทุคติ
ค.
ทางแห่งกรรม
ง.
ทางก้าวหน้า
๕.
ผลแห่งกรรมดีที่บุคคลพึงได้รับในชาติหน้า ตรงกับข้อใด ?
ก.
มนุษย์สรรเสริญ
ข.
เทวดาสรรเสริญ
ค.
ตายแล้วไปสุคติ
ง.
ตายแล้วไปทุคติ
๖.
ความดีทางกาย เป็นเหตุให้เกิดความสุข ตรงกับข้อใด ?
ก.
การไม่ฆ่าสัตว์
ข.
การไม่พูดโกหก
ค.
การไม่โลภอยากได้
ง.
การไม่ปองร้าย
๗.
ความชั่วทางใจ เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ ตรงกับข้อใด ?
ก.
การลักทรัพย์
ข.
การพูดเท็จ
ค.
การนอกใจสามี
ง.
การปองร้าย
๘.
การทำกรรมดีหรือกรรมชั่ว มีอะไรเป็นเครื่องสนับสนุน ?
ก.
อารมณ์
ข.
เจตนา
ค.
มูลเหตุ
ง.
เวทนา
๙.
ปกติของจิตเป็นธรรมชาติใสสะอาด แต่กลายสภาพเป็นความ
โลภ เพราะมีอะไรเข้าไปอิงอาศัย ?
ก.
โลภะ
ข.
โทสะ
ค.
โมหะ
ง.
ถูกทุกข้อ
๑๐.
บุคคลมีจิตประกอบด้วยโทสะ ย่อมมีพฤติกรรมเช่นไร ?
ก.
ฟุ้งซ่าน
ข.
มักใจร้อน
ค.
ยิ้มแย้ม
ง.
หลงๆ ลืมๆ
๑๑.
โทสะเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนในชาติหน้า ตรงกับข้อใด ?
ก.
ตนเองเดือดร้อน
ข.
โลกเร่าร้อน
ค.
ขาดสันติภาพ
ง.
เกิดในอบาย
๑๒.
บุคคลมีจิตถูกโมหะครอบงำ ย่อมมีพฤติกรรมเช่นไร ?
ก.
เห็นแก่ได้
ข.
ลักขโมย
ค.
เชื่องมงาย
ง.
ก่อวิวาท
๑๓.
การบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา ช่วยบรรเทาอะไรให้เบาบางลง ?
ก.
โลภะ
ข.
โทสะ
ค.
โมหะ
ง.
ถูกทุกข้อ
๑๔.
บุคคลมีจิตประกอบด้วยเมตตา พูดว่า “
ขอเหล่าสัตว์ จงเป็นสุข
”
จัดเป็นมโนกรรม เกิดขึ้นทางทวารใด ?
ก.
กายทวาร
ข.
วจีทวาร
ค.
มโนทวาร
ง.
ทุกทวาร
๑๕.
เมื่อโทสะเกิดขึ้น หากระงับไม่ได้ จะทำให้คนเราทำความผิดใด ?
ก.
ทำร้ายกัน
ข.
ลักขโมยกัน
ค.
นอกใจกัน
ง.
เชื่อในสิ่งผิด
๑๖.
ความพลัดพรากจากของที่ชอบ เป็นผลของอกุศลกรรมบถใด ?
ก.
ปาณาติบาต
ข.
อทินนาทาน
ค.
กาเมสุมิจฉาจาร
ง.
สัมผัปปลาป
๑๗.
“
โหดร้าย มือไว ใจมากรัก
” ตรงกับอกุศลกรรมบถหมวดใด ?
ก.
กายกรรม
ข.
วจีกรรม
ค.
มโนกรรม
ง.
ถูกทุกข้อ
๑๘.
การประพฤติผิดในกาม ย่อมเป็นไปเพื่อเพิ่มอกุศลธรรมใด ?
ก.
ราคะ
ข.
โทสะ
ค.
โมหะ
ง.
มานะ
๑๙.
การแสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าประพฤติอกุศลกรรมบถใด ?
ก.
อภิชฌา
ข.
มุสาวาท
ค.
สัมผัปปลาป
ง.
มิจฉาทิฏฐิ
๒๐.
การพูดเพื่อหักประโยชน์ผู้อื่น แต่ตนได้ประโยชน์ ตรงกับข้อใด ?
ก.
อภิชฌา
ข.
อนภิชฌา
ค.
มุสาวาท
ง.
ผรุสวาจา
๒๑.
การพูดยุแหย่เพื่อให้แตกความสามัคคีในหมู่คณะ ตรงกับข้อใด ?
ก.
ปิสุณวาจา
ข.
ผรุสวาจา
ค.
มิจฉาทิฏฐิ
ง.
พยาบาท
๒๒.
“
คนนี้พูดหาสาระมิได้
” ผู้กล่าวหมายเอาวจีทุจริตข้อใด ?
ก.
ปิสุณวาจา
ข.
มุสาวาท
ค.
สัมผัปปลาป
ง.
ผรุสวาจา
๒๓.
ข้อใด ผู้ให้การเป็นพยานในศาลควรเว้น ไม่ควรกระทำ ?
ก.
รู้บอกว่ารู้
ข.
ไม่รู้บอกว่าไม่รู้
ค.
รู้บอกว่าไม่รู้
ง.
เห็นบอกว่าเห็น
๒๔.
คำพูดใด เป็นสาเหตุให้พระเจ้าวิฑูฑภะต้องฆ่าพวกเจ้าศากยะ ?
ก.
ปิสุณวาจา
ข.
มุสาวาท
ค.
สัมผัปปลาป
ง.
ผรุสวาจา
๒๕.
ข้อใด จัดเป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศล ?
ก.
อยากได้ของเขา
ข.
ประทุษร้ายเขา
ค.
หลอกลวงเขา
ง.
ผิดลูกเมียเขา
๒๖.
ข้อใด จัดเป็นมโนกรรมฝ่ายกุศล ?
ก.
อยากฆ่าคน
ข.
อยากโกหก
ค.
อยากทำบุญ
ง.
อยากฉ้อฉล
๒๗.
คนเราสามารถกระทำความดีทางใจได้อย่างไร ?
ก.
ไม่โลภอยากได้ของเขา
ข.
ไม่พยาบาทปองร้ายเขา
ค.
ไม่เห็นผิดคลองธรรม
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๘.
พระพุทธศาสนาสอนเกี่ยวกับความเห็นไว้อย่างไร ?
ก.
เห็นว่าโลกเที่ยง
ข.
เห็นว่าตายแล้วสูญ
ค.
เห็นว่ากรรมลิขิต
ง.
เห็นว่าพรหมลิขิต
๒๙.
ความโลภอยากได้ของบุคคลเกิดขึ้นในขณะใด จัดเป็นอภิชฌา ?
ก.
กำลังเห็น
ข.
เห็นแล้ว
ค.
ยังไม่เห็น
ง.
ทุกขณะ
๓๐.
สิ่งที่จิตเข้าไปยึดติดแล้วเป็นเหตุให้เกิดอภิชฌา ตรงกับข้อใด ?
ก.
ลาภ ยศ
ข.
เสื่อมลาภ
ค.
เสื่อมยศ
ง.
ถูกนินทา
๓๑.
อภิชฌา เป็นมูลเหตุให้บุคคลประพฤติผิดเรื่องใด ?
ก.
ฆ่าสัตว์
ข.
ลักทรัพย์
ค.
เห็นผิด
ง.
ปองร้าย
๓๒.
บุคคลมีจิตใจปราศจากอภิชฌา ย่อมมีลักษณะเช่นไร ?
ก.
ไม่โลภ
ข.
ไม่โกรธ
ค.
ไม่หลง
ง.
ไม่ถือตัว
๓๓.
อกุศลกรรมบถใด เกิดขึ้นด้วยอำนาจของความโกรธ ?
ก.
มุสาวาท
ข.
อภิชฌา
ค.
พยาบาท
ง.
มิจฉาทิฏฐิ
๓๔.
“
ฝากไว้ก่อนเถอะ เดี๋ยวค่อยเห็นดีกัน
” พูดด้วยอารมณ์เช่นไร?
ก.
แค้นใจ
ข.
เสียใจ
ค.
น้อยใจ
ง.
เศร้าใจ
๓๕.
คุณธรรมใด มีคุณูปการช่วยให้คนเราปราศจากความพยาบาท ?
ก.
เมตตา
ข.
กรุณา
ค.
มุทิตา
ง.
อุเบกขา
๓๖.
อพยาบาท การไม่คิดร้ายทำลายกัน จะเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
ก.
ถือพวก
ข.
ถือเพื่อน
ค.
ถือสถาบัน
ง.
ถือธรรม
๓๗.
“
เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
” ตรงกับข้อใด ?
ก.
อพรหมจรรย์
ข.
อนภิชฌา
ค.
สัมมาทิฏฐิ
ง.
อพยาบาท
๓๘.
อะไรเป็นเหตุให้คนเราไม่เชื่อบุญไม่เชื่อบาป ?
ก.
มิจฉาสติ
ข.
มิจฉาทิฏฐิ
ค.
มิจฉาสมาธิ
ง.
มิจฉาวาจา
๓๙.
อกุศลกรรมบถใด ให้ผลหนักและรุนแรงกว่ากรรมอื่น ?
ก.
ปาณาติบาต
ข.
มุสาวาท
ค.
มิจฉาทิฏฐิ
ง.
พยาบาท
๔๐.
“
ทำดีได้ดีมีที่ไหน
” ผู้พูดมีความคิดเห็นเช่นใด ?
ก.
ไม่เชื่อผลกรรม
ข.
ไม่ปฏิเสธกรรม
ค.
ไม่คัดค้านกรรม
ง.
ไม่ทำบาปกรรม
๔๑.
“
เห็นกงจักรเป็นดอกบัว
” มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.
อภิชฌา
ข.
พยาบาท
ค.
มิจฉาทิฏฐิ
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๒.
ความเห็นในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ตรงกับข้อใด ?
ก.
สัมมาสติ
ข.
สัมมาสังกัปปะ
ค.
สัมมาทิฏฐิ
ง.
สัมมาวายามะ
๔๓.
การกระทำใด ไม่เกี่ยวข้องกับการประพฤติกุศลกรรมบถ ?
ก.
ให้ทาน
ข.
สะเดาะเคราะห์
ค.
รักษาศีล
ง.
เจริญกรรมฐาน
๔๔.
คนมีอุปนิสัยชอบแบ่งปัน เสียสละ คอยให้ความช่วยเหลือผู้อื่น
ด้วยจิตใจดีงาม ตรงกับข้อใด ?
ก.
ทานูปนิสัย
ข.
สีลูปนิสัย
ค.
ภาวนูปนิสัย
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๕.
“
เขามีอุปนิสัยเรียบร้อยมาตั้งแต่เด็กๆ แล้ว
” ตรงกับข้อใด ?
ก.
ทานูปนิสัย
ข.
สีลูปนิสัย
ค.
ภาวนูปนิสัย
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๖.
ผลของการกระทำความดี ความชั่ว ตรงกับข้อใด ?
ก.
กิเลส
ข.
กรรม
ค.
วิบาก
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๗.
คำว่า “
เจ้ากรรมนายเวร
” ที่คนนิยมพูดกัน หมายถึงอะไร ?
ก.
กรรมบถ
ข.
ผลกรรมดี
ค.
กรรมเวร
ง.
ผลกรรมชั่ว
๔๘.
การได้เกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล จัดเป็นสมบัติใด ?
ก.
มนุษยสมบัติ
ข.
สวรรคสมบัติ
ค.
ทรัพยสมบัติ
ง.
นิพพานสมบัติ
๔๙.
เพราะเหตุไร สัตว์โลกจึงต้องเป็นไปตามกรรม ?
ก.
เพราะเป็นอนิจจัง
ข.
เพราะทุกคนมีทุกข์
ค.
เพราะขัดขืนไม่ได้
ง.
เพราะต้องเกิดอีก
๕๐.
กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ สงเคราะห์เข้าในสิกขาข้อใด ?
ก.
ศีล
ข.
สมาธิ
ค.
ปัญญา
ง.
ถูกทุกข้อ
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๔๙. หน้า ๒๖๕-๒๗๕.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐