ปัญหาและเฉลย
วิชากรรมบถ (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
พระพุทธศาสนาสอนว่า สิ่งที่สามารถทำให้คนกลายสภาพเป็น
สัตว์หรือเทวดาได้ คืออะไร ?
ก.
เทพเจ้า
ข.
ดวงชะตา
ค.
กรรม
ง.
พรหมลิขิต
๒.
กรรมที่จะนำสัตว์ไปสู่ทุคติและสุคตินั้น เรียกว่าอะไร ?
ก.
กรรมลิขิต
ข.
กรรมบถ
ค.
วิบากกรรม
ง.
กรรมคติ
๓.
การได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม เรียกว่าอะไร ?
ก.
สุคติ
ข.
ทุคติ
ค.
ภพ
ง.
ภูมิ
๔.
ในการทำความดีและความชั่ว มีอะไรเป็นใหญ่ ?
ก.
เจตนา
ข.
เหตุจูงใจ
ค.
สิ่งล่อใจ
ง.
อารมณ์
๕.
“
ทำความดีอย่ารู้ร้าง สร้างกุศลอย่ารู้โรย
” มีความหมาย
ตรงกับข้อใด ?
ก.
กุศลมูล
ข.
อกุศลมูล
ค.
กุศลกรรมบถ
ง.
อกุศลกรรมบถ
๖.
การประพฤติผิดในกาม เกิดขึ้นโดยการกระทำทางใด ?
ก.
ทางกาย
ข.
ทางวาจา
ค.
ทางใจ
ง.
ทั้ง ๓ ทาง
๗.
โลภอยากได้ของเขา เป็นกรรมชนิดใด ?
ก.
กายกรรม
ข.
วจีกรรม
ค.
มโนกรรม
ง.
ถูกทุกข้อ
๘.
ข้อใด เป็นกายกรรมที่เกิดทางวาจา ?
ก.
พูดเชิญชวน
ข.
พูดเกี้ยวหญิง
ค.
พูดหยาบคาย
ง.
สั่งให้เขาลักทรัพย์
๙.
การสั่นศีรษะปฏิเสธ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจผิด จัดเป็นกรรมชนิดใด ?
ก.
กายกรรม เกิดทาง
วจีทวาร
ข.
วจีกรรม เกิดทาง
กายทวาร
ค.
มโนกรรม เกิดทาง
กายทวาร
ง.
กายกรรม เกิดทาง
กายทวาร
๑๐.
การกระทำความชั่ว มีอะไรเป็นมูล ?
ก.
กุศลมูล
ข.
อกุศลมูล
ค.
กุศลจิต
ง.
อกุศลจิต
๑๑.
บุคคลที่เบียดเบียนสัตว์ จะมีผลกรรมตรงกับข้อใด ?
ก.
มีอุปสรรคมาก
ข.
เจ็บไข้ได้ป่วย
ค.
ชักหน้าไม่ถึงหลัง
ง.
มีอายุสั้น
๑๒.
อทินนาทาน ถึงความเป็นกรรมบถเมื่อใด ?
ก.
ของนั้นมีเจ้าของหวง
ข.
รู้ว่าของมีเจ้าของหวง
ค.
มีจิตคิดจะลัก
ง.
ลักมาได้ด้วยความพยายาม
๑๓.
อทินนาทาน มีความหมายตามข้อใด ?
ก.
การถือเอาสิ่งของที่
เจ้าของทิ้ง
ข.
การถือเอาสิ่งของที่
เจ้าของไม่ให้
ค.
การถือเอาสิ่งของที่
เจ้าของไม่หวง
ง.
การถือเอาสิ่งของที่
เจ้าของไม่สนใจ
๑๔.
ข้อใด เป็นความหมายของกาเมสุมิจฉาจาร ?
ก.
การนอกใจคู่ครองของตน
ข.
การล่วงละเมิดคู่ครอง
ของคนอื่น
ค.
การล่วงละเมิดในฐานะที่
ไม่ควรละเมิด
ง.
ถูกทุกข้อ
๑๕.
การพูดเอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่ผู้อื่น เรียกว่าอะไร ?
ก.
พูดเท็จ
ข.
พูดส่อเสียด
ค.
พูดคำหยาบ
ง.
พูดเพ้อเจ้อ
๑๖.
ข้อใด ไม่เป็นปิสุณวาจา ?
ก.
พูดให้เพื่อนรักตน
ข.
พูดให้เพื่อนเกลียดกัน
ค.
พูดทำลายความสามัคคี
ง.
พูดให้เพื่อนเลิกคบคนชั่ว
๑๗.
พูดคำหยาบ ตรงกับข้อใด ?
ก.
ปิสุณวาจา
ข.
ผรุสวาจา
ค.
ปิยวาจา
ง.
มุสาวาท
๑๘.
ผรุสวาจา เกิดจากอกุศลมูลข้อใด ?
ก.
โลภมูล-โทสมูล
ข.
โทสมูล-โมหมูล
ค.
โลภมูล-โมหมูล
ง.
โมหมูลอย่างเดียว
๑๙.
พูดเรื่องเช่นไร เรียกว่าพูดเพ้อเจ้อ ?
ก.
เรื่องการเรียน
ข.
เรื่องการออกกำลังกาย
ค.
เรื่องส่วนตัวคนดัง
ง.
เรื่องโรคติดต่อร้ายแรง
๒๐.
ที่เรียกว่าอภิชฌานั้น คือข้อใด ?
ก.
เจตนาเป็นเหตุละโมบ
ข.
เจตนาเป็นเหตุคิดร้าย
ค.
เจตนาเป็นเหตุงมงาย
ง.
เจตนาเป็นเหตุปองร้าย
๒๑.
ข้อใด จัดเป็นมิจฉาทิฏฐิ ?
ก.
เจตนาเป็นเหตุเห็นผิด
ข.
เจตนาเป็นเหตุเพ่งเล็ง
ค.
เจตนาเป็นเหตุเสียสละ
ง.
เจตนาเป็นเหตุปองร้าย
๒๒.
ข้อใด จัดเป็นมโนกรรมล้วน ?
ก.
อภิชฌา, พยาบาท,
มิจฉาทิฏฐิ
ข.
อภิชฌา, มิจฉาทิฏฐิ,
สัมผัปลาป
ค.
พูดเท็จ, พูดส่อเสียด,
พูดคำหยาบ
ง.
ฆ่าสัตว์, ลักทรัพย์,
ประพฤติผิดในกาม
๒๓.
สัตวโลกชนิดใด ต่ำกว่ามนุษย์ ?
ก.
สัตว์ดิรัจฉาน
ข.
เปรต
ค.
อสุรกาย
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๔.
เพื่อพัฒนาชีวิตของตนให้พ้นปัญหา ควรปฏิบัติตามข้อใด ?
ก.
บูชาราหู
ข.
ทำพิธีตัดกรรม
ค.
ทำพิธีเสริมดวงชะตา
ง.
ไม่ประพฤติอกุศลกรรมบถ
๒๕.
ข้อใด เป็นทั้งอกุศลกรรมบถและอกุศลมูล ?
ก.
อภิชฌา
ข.
ปาณาติบาต
ค.
ผรุสวาจา
ง.
มิจฉาทิฏฐิ
๒๖.
ข้อใด เป็นอารมณ์คือเหตุจูงใจให้เกิดอภิชฌา ?
ก.
มนุษย์
ข.
สัตว์
ค.
สมบัติคนอื่น
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๗.
ข้อใด เข้าข่ายมิจฉาทิฏฐิ ?
ก.
ไม่เชื่อประเพณี
ข.
ไม่เชื่อฟังครู
ค.
ไม่เชื่อตำรา
ง.
ไม่เชื่อศีลธรรม
๒๘.
พูดส่อเสียด หมายถึงข้อใด ?
ก.
พูดแซงผู้ใหญ่
ข.
พูดให้แตกสามัคคี
ค.
พูดทะลุกลางปล้อง
ง.
พูดให้รำคาญ
๒๙.
ผรุสวาจาข้อใด เป็นกรรมบถ ?
ก.
พูดเหน็บให้เจ็บใจ
ข.
ฝนตกก็แช่ง
ค.
ฝนแล้งก็ด่า
ง.
นินทาชาวบ้าน
๓๐.
คำพูดใด ตรงกับคำว่า “
น้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง
” ?
ก.
มุสาวาท
ข.
ปิสุณวาจา
ค.
ผรุสวาจา
ง.
สัมผัปลาป
๓๑.
มุสาวาทเป็นวจีกรรม เพราะ…?
ก.
เกิดทางวจีทวารโดยมาก
ข.
เกิดทางวจีทวารอย่างเดียว
ค.
ไม่เกิดขึ้นทางกายทวาร
ง.
ไม่เกิดทางมโนทวาร
๓๒.
ความโกรธใด เป็นพยาบาทที่ถึงกรรมบถ ?
ก.
โกรธว่าเขาด่าตน
ข.
โกรธว่าเขาทำร้ายตน
ค.
โกรธว่าเขาโกงตน
ง.
โกรธแล้วคิดแช่งให้เขาตาย
๓๓.
ความเห็นของใคร จัดเป็นมิจฉาทิฏฐิ ?
ก.
ดำเห็นว่ายาบ้าทำให้ขยัน
ข.
แดงเห็นว่าเรียนไปก็ไร้ค่า
ค.
ขาวเห็นว่าการพนันรวยเร็ว
ง.
เหลืองเห็นว่าโกหกครู
ไม่บาป
๓๔.
กุศลกรรมบถจัดเข้าในข้อใด ?
ก.
ศีล
ข.
สมาธิ
ค.
ปัญญา
ง.
ภาวนา
๓๕.
พูดแต่คำมีประโยชน์ ชื่อว่าประพฤติกุศลกรรมบถข้อใด ?
ก.
เว้นขาดจากมุสาวาท
ข.
เว้นขาดจากปิสุณวาจา
ค.
เว้นขาดจากผรุสวาจา
ง.
เว้นขาดจากสัมผัปลาป
๓๖.
คำพูดในข้อใด ตรงกับสำนวนว่า “
น้ำร้อนปลาเป็น
” ?
ก.
พูดเพราะ แต่มุ่งร้าย
ข.
พูดไม่เพราะ แต่หวังดี
ค.
พูดเพราะและหวังดี
ง.
พูดไม่เพราะและมุ่งร้าย
๓๗.
“
พูดอย่างมะนาวไม่มีน้ำ
” ประพฤติผิดกุศลกรรมบถข้อใด ?
ก.
เว้นขาดจากมุสาวาท
ข.
เว้นขาดจากปิสุณวาจา
ค.
เว้นขาดจากผรุสวาจา
ง.
เว้นขาดจากสัมผัปลาป
๓๘.
เครื่องมือสำหรับทำความดีที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ คือข้อใด ?
ก.
กาย วาจา ใจ
ข.
สถานที่
ค.
กัลยาณมิตร
ง.
ทรัพย์
๓๙.
ผู้สนใจใฝ่ศึกษาหาความรู้ ชื่อว่ามี…?
ก.
ทานุปนิสัย
ข.
สีลุปนิสัย
ค.
ภาวนุปนิสัย
ง.
อุปนิสัย
๔๐.
พระพุทธศาสนา แสดงการประพฤติธรรมทางกายไว้กี่ประการ ?
ก.
๕ ประการ
ข.
๔ ประการ
ค.
๓ ประการ
ง.
๒ ประการ
๔๑.
ลักทรัพย์ชนิดใด มีโทษมากที่สุด ?
ก.
ของส่วนตัว
ข.
ของส่วนรวม
ค.
ของมีขนาดเล็ก
ง.
ของไหว้เจ้า
๔๒.
พูดเท็จอย่างไร ชื่อว่ามีโทษมาก ?
ก.
พูดเรื่องสนุกสนาน
ข.
พูดให้เขาเข้าใจผิด
ค.
พูดเล่านิทานโกหก
ง.
พูดหลอกเด็กให้กลัว
๔๓.
“
เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
” ประพฤติกุศลกรรมบถข้อใด
จึงจะบรรลุผลตามนี้ ?
ก.
เว้นจากปาณาติบาต
ข.
เว้นจากอภิชฌา
ค.
เว้นจากพยาบาท
ง.
เว้นจากมิจฉาทิฏฐิ
๔๔.
ข้อใด เป็นเพราะวิบากกรรมของมุสาวาทเมื่อชาติปางก่อน ?
ก.
ถูกใส่ร้ายป้ายสี
ข.
ถูกโกหกหลอกลวง
ค.
ได้ยินแต่คำพูดสะเทือนใจ
ง.
มีแต่ความขัดแย้งกับคนอื่น
๔๕.
คิดปองร้ายในข้อใด ไม่จัดเป็นพยาบาท ?
ก.
คน
ข.
สัตว์
ค.
สิ่งของ
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๖.
ผู้ทำบาปประเภทใด ต้องตกนรก ?
ก.
ทำบาปเอง
ข.
ชักชวนคนอื่นให้ทำบาป
ค.
ยินดีกับคนทำบาป
ง.
ตกนรกทั้ง ๓ ประเภท
๔๗.
คนประเภทใด ได้ชื่อว่าชั่วมากกว่า ?
ก.
ฆ่าสัตว์เอง
ข.
ชักชวนให้คนอื่นฆ่า
ค.
ยินดีกับผู้ฆ่า
ง.
ทั้งฆ่าเอง ทั้งชักชวนคนอื่น
๔๘.
ผู้ปรารถนามรรค ผล นิพพาน ควรประพฤติเช่นไร ?
ก.
เข้าป่าหนีหน้ามนุษย์
ข.
สละทรัพย์สินทั้งหมด
ค.
ประพฤติกุศลกรรมบถ
ง.
รับประทานแต่ผักผลไม้
๔๙.
“
ทำนาบนหลังคน
” ชื่อว่าประพฤติผิดกุศลกรรมบถข้อใด ?
ก.
เว้นขาดจากอภิชฌา
ข.
เว้นขาดจากพยาบาท
ค.
เว้นขาดจากมุสาวาท
ง.
เว้นขาดจากอทินนาทาน
๕๐.
ผู้ประพฤติกุศลกรรมบถประเภทใด ได้ทั้งทรัพย์สมบัติและบริวาร
สมบัติ ?
ก.
ประพฤติกุศลกรรมบถเอง
ข.
ชักชวนให้คนอื่นประพฤติ
ค.
ทั้งประพฤติเอง ทั้งชักชวน
คนอื่น
ง.
ทั้งไม่ประพฤติเอง ทั้งไม่
ชักชวนคนอื่น
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๔๘. หน้า ๒๑๑-๒๒๑.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐