ปัญหาและเฉลย
วิชาเบญจศีล เบญจธรรม (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว
ระบายใน
กระดาษใบตอบ
ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
ข้อใด ควบคุมความประพฤติของคนให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุข ?
ก.
ทาน
ข.
ศีล
ค.
ภาวนา
ง.
เมตตา
๒.
ศีลที่แปลว่าปกติ มุ่งถึงศีลประเภทใด ?
ก.
ศีล ๕
ข.
ศีล ๘
ค.
ศีล ๑๐
ง.
ศีล ๒๒๗
๓.
เจตนางดเว้นเมื่อเผชิญกับเหตุที่จะทำให้ผิดศีล ตรงกับข้อใด ?
ก.
สัมปัตตวิรัติ
ข.
สมาทานวิรัติ
ค.
สมุจเฉทวิรัติ
ง.
ถูกทุกข้อ
๔.
ศีลข้อใด เป็นหลักประกันความปลอดภัยด้านทรัพย์สิน ?
ก.
ข้อ ๑
ข.
ข้อ ๒
ค.
ข้อ ๓
ง.
ข้อ ๕
๕.
การรักษาศีลมีประโยชน์แก่ใคร ?
ก.
ตนเอง
ข.
ครอบครัว
ค.
สังคม
ง.
ถูกทุกข้อ
๖.
ผู้จะสมาทานศีล ๕ เบื้องต้นควรยึดถือสิ่งใดเป็นที่สรณะ ?
ก.
พระพุทธ
ข.
พระธรรม
ค.
พระสงฆ์
ง.
ถูกทุกข้อ
๗.
ข้อใด ไม่ใช่ลักษณะของการทำปาณาติบาต ?
ก.
การฆ่า
ข.
ทำร้ายร่างกาย
ค.
ทรกรรม
ง.
โจรกรรม
๘.
คำว่า ทรกรรม ตามศีลข้อที่ ๑ หมายถึงทำแก่ใคร ?
ก.
มนุษย์
ข.
สัตว์
ค.
นักโทษ
ง.
โจร
๙.
การทำสัตว์ให้ได้รับความลำบาก เรียกว่าอะไร ?
ก.
ทรกรรม
ข.
โจรกรรม
ค.
พลีกรรม
ง.
อโหสิกรรม
๑๐.
ชนโค ชนไก่ กัดปลา จัดเข้าในทรกรรมข้อใด ?
ก.
กักขัง
ข.
ผจญสัตว์
ค.
เล่นสนุก
ง.
ใช้การ
๑๑.
ผู้ทำผิดศีลข้อที่ ๑ ย่อมได้รับวิบากกรรมเช่นไร ?
ก.
อายุสั้น
ข.
ยากจน
ค.
คนไม่นับถือ
ง.
เสียสติ
๑๒.
ศีลข้อที่ ๒ บัญญัติขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด ?
ก.
มีเมตตา
ข.
มีสติ
ค.
มีสัมมาชีพ
ง.
มีสัจจะ
๑๓.
การถือเอาสิ่งของในเวลาเจ้าของเผลอ ตรงกับข้อใด ?
ก.
ลัก
ข.
ฉก
ค.
ตู่
ง.
กรรโชก
๑๔.
ตัวอย่างใด เรียกว่าสมโจร ?
ก.
เล่นการพนัน
ข.
หยิบฉวย
ค.
เก็บส่วย
ง.
รับซื้อของโจร
๑๕.
นำของหนีภาษีเข้าประเทศ เรียกว่าอะไร ?
ก.
หลอก
ข.
ลวง
ค.
ลักลอบ
ง.
ยักยอก
๑๖.
ใช้อำนาจหน้าที่ถือเอาทรัพย์ของส่วนรวมมาเป็นของตน เรียกว่าอะไร ?
ก.
ลักลอบ
ข.
ยักยอก
ค.
รับสินบน
ง.
สับเปลี่ยน
๑๗.
ข้อใดเป็นอานิสงส์ของการรักษาศีลข้อที่ ๒ ?
ก.
อายุยืน
ข.
ปราศจากโจรภัย
ค.
ปราศจากศัตรู
ง.
คนยกย่อง
๑๘.
ศีลข้อที่ ๓ บัญญัติไว้เพื่อมุ่งหวังเรื่องใด ?
ก.
เมตตาสงสาร
ข.
การงานบริสุทธิ์
ค.
พูดความจริง
ง.
ไม่ทิ้งคู่ครอง
๑๙.
หญิงต้องห้าม ได้แก่หญิงประเภทใด ?
ก.
บิดารักษา
ข.
มารดารักษา
ค.
หญิงมีสามี
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๐.
มีศัตรูมากเป็นโทษของการผิดศีลข้อใด ?
ก.
ข้อ ๒
ข.
ข้อ ๓
ค.
ข้อ ๔
ง.
ข้อ ๕
๒๑.
ศีลข้อที่ ๔ บัญญัติไว้เพื่อมุ่งส่งเสริมเรื่องใด ?
ก.
ขยัน
ข.
ซื่อสัตย์
ค.
ประหยัด
ง.
อดทน
๒๒.
ไม่เห็นบอกว่าเห็น รู้บอกว่ารู้ ตรงกับมุสาวาทข้อใด ?
ก.
ปด
ข.
ส่อเสียด
ค.
หลอก
ง.
สับปลับ
๒๓.
เรื่องมากพูดให้น้อย เพื่อปิดบังความบกพร่อง ตรงกับข้อใด ?
ก.
ปด
ข.
อำความ
ค.
หลอก
ง.
สับปลับ
๒๔.
การโฆษณาสินค้าเกินความเป็นจริง จัดเข้าในข้อใด ?
ก.
ส่อเสียด
ข.
ทำเลศ
ค.
อำความ
ง.
เสริมความ
๒๕.
อวดอ้างความศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่เป็นจริง จัดเข้าในข้อใด ?
ก.
ทนสาบาน
ข.
ทำเล่ห์กระเท่ห์
ค.
ทำเลศ
ง.
อำความ
๒๖.
คำพูดที่ทำให้คนอื่นเกิดความเจ็บใจ ตรงกับข้อใด ?
ก.
เสียดแทง
ข.
สับปลับ
ค.
กลับคำ
ง.
ทนสาบาน
๒๗.
ถ้อยคำใด ไม่จัดเป็นมุสาวาท ?
ก.
โวหาร
ข.
คืนคำ
ค.
กลับคำ
ง.
ทนสาบาน
๒๘.
มุสาวาท สำเร็จเพราะองค์ประกอบใด ?
ก.
เรื่องไม่จริง
ข.
จิตคิดจะพูด
ค.
พยายามพูด
ง.
ผู้ฟังเข้าใจตามนั้น
๒๙.
ศีลข้อที่ ๕ เป็นหลักประกันเรื่องใด ?
ก.
สุขภาพ
ข.
คู่ครอง
ค.
ทรัพย์สิน
ง.
ความเชื่อถือ
๓๐.
ข้อใด เป็นประโยชน์จากการรักษาศีลข้อที่ ๕ ?
ก.
ลดอุบัติเหตุ
ข.
ลดค่าใช้จ่าย
ค.
ลดเหตุวิวาท
ง.
ถูกทุกข้อ
๓๑.
การดื่มสุราเป็นเหตุก่อวิวาท ตรงกับตัวอย่างใด ?
ก.
ยกพวกตีกัน
ข.
ความจำเสื่อม
ค.
เสียทรัพย์
ง.
ขาดความละอาย
๓๒.
งดเหล้าเข้าพรรษา รณรงค์ให้ประชาชนรักษาศีลข้อใด ?
ก.
ข้อ ๒
ข.
ข้อ ๓
ค.
ข้อ ๔
ง.
ข้อ ๕
๓๓.
ศีลข้อที่ ๑ ควรประพฤติคู่กับกัลยาณธรรมข้อใด ?
ก.
สติสัมปชัญญะ
ข.
สัมมาอาชีวะ
ค.
สัจจะ
ง.
เมตตา
๓๔.
ความมีเมตตา ควรเริ่มต้นที่ใครก่อน ?
ก.
ศัตรู
ข.
ตนเอง
ค.
คนใกล้ชิด
ง.
คนนับถือ
๓๕.
ข้อใด เป็นอานิสงส์ของการเจริญเมตตา ?
ก.
หลับเป็นสุข
ข.
ตื่นเป็นสุข
ค.
ไม่ฝันร้าย
ง.
ถูกทุกข้อ
๓๖.
ศีลข้อที่ ๒ ควรประพฤติคู่กับเบญจธรรมข้อใด ?
ก.
สติสัมปชัญญะ
ข.
สัมมาอาชีวะ
ค.
สัจจะ
ง.
เมตตา
๓๗.
ขายสินค้าเกินราคา ชื่อว่าประพฤติไม่เป็นธรรมในอะไร ?
ก.
กิจการ
ข.
บุคคล
ค.
วัตถุ
ง.
ถูกทุกข้อ
๓๘.
ไม่ทำงานตามหน้าที่ ชื่อว่าประพฤติไม่เป็นธรรมในอะไร ?
ก.
กิจการ
ข.
บุคคล
ค.
วัตถุ
ง.
ถูกทุกข้อ
๓๙.
จ่ายค่าจ้างตามสัญญา ชื่อว่าประพฤติเป็นธรรมในอะไร ?
ก.
กิจการ
ข.
บุคคล
ค.
วัตถุ
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๐.
การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น สนับสนุนเบญจธรรมข้อใด ?
ก.
เมตตากรุณา
ข.
สัมมาอาชีวะ
ค.
สัจจะ
ง.
สติสัมปชัญญะ
๔๑.
สทารสันโดษ เป็นคุณธรรมสำหรับใคร ?
ก.
สามี
ข.
ภรรยา
ค.
เยาวชน
ง.
นักเรียน
๔๒.
การทำหน้าที่เป็นภรรยาที่ดี จัดเข้าในข้อใด ?
ก.
ปติวัตร
ข.
สทารสันโดษ
ค.
กิจวัตร
ง.
จริยาวัตร
๔๓.
คุณธรรมใด สนับสนุนการรักษาศีลข้อที่ ๓ ?
ก.
เมตตา
ข.
กามสังวร
ค.
สัจจะ
ง.
สติสัมปชัญญะ
๔๔.
ข้อใด ไม่จัดเป็นเบญจธรรมข้อสัจจะ ?
ก.
กตัญญู
ข.
ซื่อตรง
ค.
เที่ยงธรรม
ง.
ไม่ประมาท
๔๕.
การทำหน้าที่โดยสุจริต จริงใจ ไม่หลอกลวง ตรงกับข้อใด ?
ก.
ซื่อตรง
ข.
เที่ยงธรรม
ค.
สวามิภักดิ์
ง.
กตัญญู
๔๖.
บุตรธิดาตั้งใจปรนนิบัติบิดามารดา ชื่อว่าประพฤติคุณธรรมใด ?
ก.
ซื่อตรง
ข.
เที่ยงธรรม
ค.
สวามิภักดิ์
ง.
กตัญญู
๔๗.
บุคคลประพฤติเช่นไร ชื่อว่ามีความเที่ยงธรรม ?
ก.
ไม่ประมาท
ข.
ไม่มีอคติ
ค.
มีความซื่อตรง
ง.
มีความภักดี
๔๘.
ความมีสติรอบคอบส่งเสริมการรักษาศีลข้อใด ?
ก.
ข้อ ๒
ข.
ข้อ ๓
ค.
ข้อ ๔
ง.
ข้อ ๕
๔๙.
ความมีสติรอบคอบ มีประโยชน์อย่างไร ?
ก.
ทำไม่ผิดพลาด
ข.
พูดไม่ผิดพลาด
ค.
คิดไม่ผิดพลาด
ง.
ถูกทุกข้อ
๕๐.
เบญจศีลเบญจธรรม มีประโยชน์กับใคร ?
ก.
ตนเอง
ข.
ครอบครัว
ค.
ประเทศชาติ
ง.
ถูกทุกข้อ
เอกสารอ้างอิง
ปัญหาและเฉลยข้อสอบ นักธรรมชั้นโท-เอก และธรรมศึกษาตรี-โท-เอก พ.ศ.๒๕๕๙. หน้า ๕๗-๖๕.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐