ปัญหาและเฉลย
วิชาเบญจศีล เบญจธรรม (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันอังคาร ที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
ผู้ปรารถนาจะบำเพ็ญคุณธรรมทางใจ ควรเริ่มต้นที่อะไรก่อน ?
ก.
สวดมนต์
ข.
ถือศีล
ค.
นั่งสมาธิ
ง.
แผ่เมตตา
๒.
ศีล แปลตามรูปศัพท์ว่า ปกติ หมายถึงปกติอะไร ?
ก.
กายกับใจ
ข.
วาจากับใจ
ค.
กายกับวาจา
ง.
กาย วาจา ใจ
๓.
สิกขาบทที่ ๑ มีข้อห้าม ๓ ประการ ยกเว้นข้อใด ?
ก.
ทำร้ายร่างกาย
ข.
ทำร้ายจิตใจ
ค.
ฆ่า
ง.
ทรกรรม
๔.
คำว่า
สัตว์
ในสิกขาบทที่ ๑ หมายถึงข้อใด ?
ก.
มนุษย์
ข.
สัตว์
ค.
เด็กในครรภ์
ง.
ถูกทุกข้อ
๕.
สิกขาบทที่ ๑ บัญญัติขึ้นเพื่อปลูกฝังให้คนมีคุณธรรมใด ?
ก.
ความประหยัด
ข.
ความเสียสละ
ค.
ความมีเมตตา
ง.
ความกตัญญู
๖.
ข้อใด ไม่ถือว่ากระทำผิดศีล ตามสิกขาบทที่ ๑ ?
ก.
ตัดต้นไม้
ข.
ตัดแขน
ค.
กัดปลา
ง.
ชนไก่
๗.
การทำชีวิตให้ตกล่วงไป ในสิกขาบทที่ ๑ หมายถึงอะไร ?
ก.
ทำให้บาดเจ็บ
ข.
ทำให้พิการ
ค.
ทำให้ทรมาน
ง.
ทำให้ตาย
๘.
ใช้งานสัตว์เกินกำลัง ไม่ให้หยุดพัก ปล่อยให้อดอยากซูบผอม
จัดเป็นการกระทำประเภทใด ?
ก.
ใช้การ
ข.
นำไป
ค.
เล่นสนุก
ง.
ผจญสัตว์
๙.
เมื่อสัตว์มีคุณเสมอกัน ทำไมฆ่าสัตว์ใหญ่จึงมีโทษมากกว่า ?
ก.
สัตว์นั้นมีเจ้าของหวง
ข.
สัตว์นั้นมีชีวิต
ค.
ใช้ความพยายามมาก
ง.
มีจิตคิดจะฆ่า
๑๐.
สิกขาบทที่ ๒ บัญญัติขึ้นเพื่อให้เว้นการเบียดเบียนกันในเรื่องใด ?
ก.
ชีวิต
ข.
ทรัพย์สิน
ค.
คู่ครอง
ง.
คำพูด
๑๑.
สิกขาบทที่ ๒ มีความสัมพันธ์กับเรื่องใด ?
ก.
ความรักชาติ
ข.
ความรักสงบ
ค.
ความสามัคคี
ง.
ความพอเพียง
๑๒.
ข้อใด ไม่ถือเป็นการกระทำผิดตามสิกขาบทที่ ๒ ?
ก.
กรรโชก
ข.
ชิงโชค
ค.
เลี่ยงภาษี
ง.
ซุกหุ้น
๑๓.
ผู้กระทำความผิดในสิกขาบทที่ ๒ ควรเรียกว่าอะไร ?
ก.
คนเก่ง
ข.
คนเก่า
ค.
คนโกง
ง.
คนกล้า
๑๔.
การซ่อนทรัพย์สินของตนที่จะต้องถูกยึด นำไปเก็บไว้เสียที่อื่น
จัดเป็นการกระทำประเภทใด ?
ก.
ลักลอบ
ข.
เบียดบัง
ค.
ตระบัด
ง.
กรรโชก
๑๕.
กู้หนี้ไปแล้ว ไม่ยอมใช้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ตรงกับข้อใด ?
ก.
ตู่
ข.
ฉ้อ
ค.
ตระบัด
ง.
หลอก
๑๖.
การทำลายทรัพย์สินของทางราชการให้เสียหาย เช่น ทุบตู้โทรศัพท์
จัดเป็นการกระทำประเภทใด ?
ก.
ทำร้าย
ข.
ตัดช่อง
ค.
ผลาญ
ง.
ย่องเบา
๑๗.
ข้อใด ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ในสิกขาบทที่ ๒ ?
ก.
แฉ
ข.
ฉ้อ
ค.
ฉก
ง.
ฉวย
๑๘.
สิกขาบทที่ ๓ บัญญัติขึ้นเพื่อให้มีความรักในเรื่องใด ?
ก.
ชาติ
ข.
เพื่อน
ค.
คู่ครอง
ง.
องค์กร
๑๙.
การปฏิบัติตนตามสิกขาบทที่ ๓ ช่วยลดปัญหาสังคมด้านใด ?
ก.
อาชญากรรม
ข.
หย่าร้าง
ค.
ยาเสพติด
ง.
หนี้สิน
๒๐.
หญิงผู้เป็นเหล่ากอของตัว ในสิกขาบทที่ ๓ ตรงกับข้อใด ?
ก.
แม่
ข.
ยาย
ค.
ลูกสาว
ง.
ลูกสะใภ้
๒๑.
หญิงผู้เป็นเทือกเถาของตน ในสิกขาบทที่ ๓ ตรงกับข้อใด ?
ก.
ยาย
ข.
แม่ยาย
ค.
ลูกสะใภ้
ง.
ลูกสาว
๒๒.
หญิงชายที่รับหมั้นกันแล้ว ถือว่าอยู่ในความพิทักษ์ของใคร ?
ก.
พ่อ แม่
ข.
พี่ชาย
ค.
น้องชาย
ง.
คู่หมั้น
๒๓.
ไม่นอกใจภรรยาตน ได้ชื่อว่า ไม่ลุอำนาจแก่กิเลสใด ?
ก.
มานะ
ข.
ราคะ
ค.
โทสะ
ง.
โมหะ
๒๔.
สิกขาบทที่ ๔ บัญญัติขึ้นเพื่อเน้นให้คนทำความดีด้านใด ?
ก.
ความเพียร
ข.
ความมีสัจจะ
ค.
ความอดทน
ง.
ความมัธยัสถ์
๒๕.
เห็นบอกว่าไม่เห็น ไม่เห็นบอกว่าเห็น เป็นลักษณะของคำพูดใด ?
ก.
คำเท็จ
ข.
คำหยาบ
ค.
คำส่อเสียด
ง.
คำเพ้อเจ้อ
๒๖.
ไม่เจ็บไม่ป่วย แต่แสดงตนทำท่าทางให้เขาเห็นว่าเป็นคนเจ็บป่วย
จัดเป็นมุสาประเภทใด ?
ก.
ทำเลส
ข.
มารยา
ค.
ทำเล่ห์กระเทห์
ง.
อำความ
๒๗.
ตกลงว่าจะให้ ภายหลังไม่ให้ตามที่พูด จัดเข้าในปฏิสสวะข้อใด ?
ก.
ผิดสัญญา
ข.
คืนคำ
ค.
เสียสัตย์
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๘.
คำพูดที่ไม่นับเข้าในข้อห้าม ที่เรียกว่ายถาสัญญา ตรงกับข้อใด ?
ก.
มารยา
ข.
คืนคำ
ค.
สาบาน
ง.
โวหาร
๒๙.
อวดอ้างสรรพคุณยาเกินความจริง ว่าแก้โรคได้สารพัดเพื่อหลอก
ให้คนหลงเชื่อ จัดเป็นมุสาประเภทใด ?
ก.
โวหาร
ข.
ทนสาบาน
ค.
สำคัญผิด
ง.
เสริมความ
๓๐.
สิกขาบทที่ ๕ บัญญัติขึ้นเพื่อให้คนงดเว้นในเรื่องใด ?
ก.
ก่อการร้าย
ข.
สิ่งมึนเมา
ค.
โจรกรรม
ง.
การทุจริต
๓๑.
การดื่มสุรา เป็นเหตุบั่นทอนปัญญา ตรงกับข้อใด ?
ก.
ร่างกายทรุดโทรม
ข.
จิตใจท้อถอย
ค.
ความคิดเฉื่อยชา
ง.
พูดเลอะเลือน
๓๒.
ข้อใด ไม่ใช่โทษของการดื่มสุรา ?
ก.
คนยกย่อง
ข.
ก่อวิวาท
ค.
เสียทรัพย์
ง.
เกิดโรค
๓๓.
คนติดสุรา เลิกยาก จะต้องซื้อดื่มทุกวัน ตรงกับโทษข้อใด ?
ก.
เสียการงาน
ข.
เสียหน้าที่
ค.
เสียชื่อเสียง
ง.
เสียทรัพย์
๓๔.
ใช้จ่ายทรัพย์เพื่อของไม่จำเป็น ตรงกับข้อใด ?
ก.
ซื้อยาแดง
ข.
ซื้อยาสีฟัน
ค.
ซื้อยาหอม
ง.
ซื้อยาแก้ไข้
๓๕.
ความประมาทขาดสติ ตามสิกขาบทที่ ๕ มีอะไรเป็นมูลเหตุ ?
ก.
ความยากจน
ข.
ความฟุ้งซ่าน
ค.
ความเครียด
ง.
ความมึนเมา
๓๖.
วิรัติ มีความเกี่ยวข้องกับการรักษาศีล ๕ อย่างไร ?
ก.
เป็นเครื่องละเว้น
ข.
เป็นเครื่องกำจัด
ค.
เป็นเครื่องป้องกัน
ง.
เป็นเครื่องรักษา
๓๗.
สัมปัตตวิรัติ เป็นการงดเว้นจากวัตถุที่มาปรากฏในลักษณะใด ?
ก.
ก่อนหน้า
ข.
ต่อหน้า
ค.
ลับหน้า
ง.
ลับหลัง
๓๘.
การงดทำร้ายคนที่เป็นศัตรูกันในข้อใด ไม่จัดเป็นสัมปัตตวิรัติ ?
ก.
งดเพราะมีความสงสาร
ข.
งดเพราะกลัวความผิด
ค.
งดเพราะกลัวเป็นบาป
ง.
งดเพราะไปแล้วไม่พบ
๓๙.
การงดเว้นที่เรียกว่า สมุจเฉทวิรัติ มีลักษณะช่นไร ?
ก.
งดเว้นเฉพาะหน้า
ข.
งดเว้นชั่วคราว
ค.
งดเว้นเฉพาะองค์
ง.
งดเว้นเด็ดขาด
๔๐.
การงดเว้นจากปาณาติบาต จะมั่นคงและตั้งอยู่ได้นานต้องอาศัยอะไร
เป็นเครื่องสนับสนุน ?
ก.
ความมีเมตตา
ข.
ความมีสติ
ค.
ความกตัญญู
ง.
ความมีสัตย์
๔๑.
การขาดเมตตาในข้อใด เปรียบได้กับคนใจจืด ?
ก.
เห็นเขาได้ดีกลับทนไม่ได้
ข.
เห็นเขายากจนกลับดูดาย
ค.
เห็นเขาจมน้ำกลับไม่ช่วย
ง.
เห็นเขาถูกยิงกลับวางเฉย
๔๒.
การกักตุนน้ำมันเพื่อเก็งกำไร ไม่ขายในราคาตามที่รัฐบาลกำหนด
ชื่อว่าประพฤติไม่เป็นธรรมในอะไร ?
ก.
กิจการ
ข.
บุคคล
ค.
วัตถุ
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๓.
การบังคับใช้แรงงานเด็กให้ทำงานจนเกินกำลังไม่ยอมให้พักผ่อน
ชื่อว่าประพฤติไม่เป็นธรรมในอะไร ?
ก.
กิจการ
ข.
บุคคล
ค.
วัตถุ
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๔.
มีชีวิตพออยู่พอกิน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตรงกับข้อใด ?
ก.
สัมมาสังกัปปะ
ข.
สัมมาอาชีวะ
ค.
สัมมาวายามะ
ง.
สัมมาสมาธิ
๔๕.
ข้อใด ชื่อว่าเป็นการแสวงหาทรัพย์ในทางที่ผิด ?
ก.
เก็บขยะขาย
ข.
ขายซีดีปลอม
ค.
รับจำนำของ
ง.
รับเช่าพระบูชา
๔๖.
กิริยาที่ระมัดระวังไม่ประพฤติมักมากในกาม เรียกว่าอะไร ?
ก.
สำรวมกาย
ข.
สำรวมวาจา
ค.
สำรวมใจ
ง.
สำรวมกาม
๔๗.
กัลยาณธรรมข้อที่ ๓ มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.
รักนวลสงวนตัว
ข.
รักตัวกลัวตาย
ค.
รักง่ายหน่ายเร็ว
ง.
รักจางนางหาย
๔๘.
การให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ไม่คิดลำเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง
ตรงกับข้อใด ?
ก.
ความสวามิภักดิ์
ข.
ความซื่อตรง
ค.
ความเที่ยงธรรม
ง.
ความกตัญญู
๔๙.
การจับจ่ายใช้สอยแต่พอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ให้เกินฐานะตัวเอง
ชื่อว่ามีสติรอบคอบในเรื่องใด ?
ก.
การทำงาน
ข.
การวางตัว
ค.
การบริโภค
ง.
ถูกทุกข้อ
๕๐.
อยู่คนเดียวควรระวังความคิด อยู่ท่ามกลางหมู่มิตรควรระวังวาจา
ชื่อว่ามีสติรอบคอบในเรื่องใด ?
ก.
การทำงาน
ข.
การวางตัว
ค.
การบริโภค
ง.
ถูกทุกข้อ
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๑. หน้า ๑๖๕-๑๗๕.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐