ปัญหาและเฉลย
วิชาเบญจศีล เบญจธรรม (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
คุณธรรมอะไร เป็นเครื่องป้องกันความชั่วทางกายวาจา ?
ก.
ทาน
ข.
ศีล
ค.
สมาธิ
ง.
ปัญญา
๒.
คุณธรรมอะไร ทำให้คนเป็นคนที่สมบูรณ์ ?
ก.
ศีล ๕
ข.
อิทธิบาท ๔
ค.
โอวาท ๓
ง.
โลกธรรม ๘
๓.
คำว่า
“สัตว์มีชีวิต”
ในศีลข้อปาณาติบาต ตรงกับข้อใด ?
ก.
มนุษย์
ข.
สัตว์ปีก
ค.
มด แมลง
ง.
ถูกทุกข้อ
๔.
อาชีพใด รักษาศีลข้อปาณาติบาตได้ยาก ?
ก.
ฆ่าสัตว์
ข.
ค้ามนุษย์
ค.
ขายเหล้า
ง.
ขายบุหรี่
๕.
การเลี้ยงเสือไว้ในกรง เป็นการทรมานสัตว์ลักษณะใด ?
ก.
เล่นสนุก
ข.
ใช้การ
ค.
ผจญสัตว์
ง.
กักขัง
๖.
การกระทำใด ไม่ใช่การทำร้ายร่างกาย ?
ก.
ทำให้พิการ
ข.
ทำการผ่าตัด
ค.
ทำให้เสียโฉม
ง.
ทำให้บาดเจ็บ
๗.
ข้อใด ไม่ใช่การรักษาศีลข้ออทินนาทาน ?
ก.
หากินทุจริต
ข.
หากินสุจริต
ค.
ไม่เห็นแก่ได้
ง.
รู้จักแบ่งปัน
๘.
การซ่อนสิ่งของหลบหนีภาษี จัดเข้าในโจรกรรมใด ?
ก.
เบียดบัง
ข.
สับเปลี่ยน
ค.
ลักลอบ
ง.
ยักยอก
๙.
การถือเอาสิ่งของคนอื่น มิได้บอกให้เจ้าของรู้ ตรงกับข้อใด ?
ก.
หลอก
ข.
ลวง
ค.
ลักลอบ
ง.
หยิบฉวย
๑๐.
การทำลายทรัพย์ผู้อื่นให้เสียหาย ชื่อว่าผลาญ ตรงกับข้อใด ?
ก.
ปล้นร้านขายทอง
ข.
ขโมยของในห้าง
ค.
รับส่วยรถบรรทุก
ง.
ลอบเผาโรงเรียน
๑๑.
การละเมิดศีลข้ออทินนาทาน ส่งผลให้เกิดเป็นคนเช่นไร ?
ก.
คนอายุสั้น
ข.
คนยากจน
ค.
คนพิการ
ง.
คนขาดสติ
๑๒.
“กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี”
บัญญัติขึ้นมิให้ประพฤติผิด เรื่องใด ?
ก.
นอกใจคู่ครอง
ข.
พูดสับปรับ
ค.
ค้ายาเสพติด
ง.
ทุจริตที่ดิน
๑๓.
หญิงที่เป็นวัตถุต้องห้ามของชาย ตรงกับข้อใด ?
ก.
หญิงที่มารดารักษา
ข.
หญิงที่บิดารักษา
ค.
หญิงที่สามีรักษา
ง.
ถูกทุกข้อ
๑๔.
คำพังเพยใด สนับสนุนการถือศีลข้อกาเมสุมิจฉาจาร ?
ก.
ปากปราศัย ใจเชือดคอ
ข.
ปลูกเรือนผิดคิดจนเรือนทลาย
ค.
ช้านักน้ำลง จะหมดทาง
ง.
มีไม้มีไร่ ก็ปลูกเรือนงาม
๑๕.
การรักษาศีลข้อกาเมสุมิจฉาจาร ได้ชื่อว่าเว้นอบายมุขข้อใด ?
ก.
เที่ยวผู้หญิง
ข.
เล่นการพนัน
ค.
ดื่มน้ำเมา
ง.
เกียจคร้าน
๑๖.
การรักษาศีลข้อกาเมสุมิจฉาจาร ช่วยลดปัญหาสังคมด้านใด ?
ก.
เศรษฐกิจ
ข.
คนว่างงาน
ค.
ละเมิดทางเพศ
ง.
คอรัปชั่น
๑๗.
การขายบริการทางเพศ มีความเสียหายอย่างไร ?
ก.
เสียชื่อเสียง
ข.
เสียนามสกุล
ค.
พ่อแม่เสียใจ
ง.
ถูกทุกข้อ
๑๘.
การพูดโกหกเพื่อให้คนอื่นสบายใจ ผิดศีลเพราะเหตุใด ?
ก.
เพราะเรื่องที่พูดไม่เป็นเรื่องจริง
ข.
เพราะคิดจะพูดให้คลาดเคลื่อน
ค.
เพราะผู้ฟังเข้าใจว่าเป็นเรื่องจริง
ง.
ถูกทุกข้อ
๑๙.
การพูดยุแหย่ให้คนอื่นแตกกัน จัดเป็นวจีทุจริตใด ?
ก.
พูดเท็จ
ข.
พูดส่อเสียด
ค.
พูดคำหยาบ
ง.
พูดเพ้อเจ้อ
๒๐.
การพูดในเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ จัดเป็นวจีทุจริตใด ?
ก.
พูดเท็จ
ข.
พูดส่อเสียด
ค.
พูดคำหยาบ
ง.
พูดเพ้อเจ้อ
๒๑.
ในนิทานอีสป โคนันทวิสาลไม่ยอมลากเกวียนเพราะคำพูดใด ?
ก.
คำเท็จ
ข.
คำส่อเสียด
ค.
คำหยาบ
ง.
คำเพ้อเจ้อ
๒๒.
การรักษาศีลข้อมุสาวาท ชื่อว่าประพฤติสุจริตใด ?
ก.
กายสุจริต
ข.
วจีสุจริต
ค.
มโนสุจริต
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๓.
ศีลข้อมุสาวาท ควรประพฤติคู่กับกัลยาณธรรมข้อใด ?
ก.
เมตตา กรุณา
ข.
สัมมาอาชีวะ
ค.
สำรวมในกาม
ง.
ความมีสัตย์
๒๔.
การเว้นจากการดื่มน้ำเมา ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลด้านใด ?
ก.
ขาดขันติ
ข.
ขาดศรัทธา
ค.
ขาดสติ
ง.
ขาดเมตตา
๒๕.
“งดเหล้าเข้าพรรษา”
รณรงค์ให้ประชาชนรักษาศีลข้อใด ?
ก.
ข้อที่ ๒
ข.
ข้อที่ ๓
ค.
ข้อที่ ๔
ง.
ข้อที่ ๕
๒๖.
ข้อใด ไม่ใช่การเว้นจากการดื่มน้ำเมา ?
ก.
จน เครียด กินเหล้า
ข.
เลิกเหล้า เลิกจน
ค.
ไม่ขับรถขณะเมาสุรา
ง.
ห้ามขายสุราแก่เด็ก
๒๗.
โรคพิษสุราเรื้อรัง เกิดขึ้นเพราะไม่สำรวมระวังในอะไร ?
ก.
ตา
ข.
หู
ค.
จมูก
ง.
ลิ้น
๒๘.
การละกิเลสได้อย่างเด็ดขาดของพระอริยเจ้า จัดเป็นวิรัติใด ?
ก.
สัมปัตตวิรัติ
ข.
สมาทานวิรัติ
ค.
สมุจเฉทวิรัติ
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๙.
แม้สบโอกาสจะฆ่าได้ แต่ก็ไม่ฆ่า มีสติยับยั้งได้ จัดเป็นวิรัติใด ?
ก.
สัมปัตตวิรัติ
ข.
สมาทานวิรัติ
ค.
สมุจเฉทวิรัติ
ง.
ถูกทุกข้อ
๓๐.
ความตั้งใจในการไม่ฆ่าสัตว์ ของบุคคลผู้ถือศีล จัดเป็นวิรัติใด ?
ก.
สัมปัตตวิรัติ
ข.
สมาทานวิรัติ
ค.
สมุจเฉทวิรัติ
ง.
ถูกทุกข้อ
๓๑.
ข้อใด หมายถึงกัลยาณธรรม ?
ก.
ธรรมมีอุปการะมาก
ข.
ธรรมที่คู่กับศีล ๕
ค.
ธรรมทำบุคคลให้งาม
ง.
ธรรมคุ้มครองโลก
๓๒.
เมื่อเราได้รับความลำบาก ใครสามารถให้ความช่วยเหลือได้ ?
ก.
คนใจแคบ
ข.
คนใจจืด
ค.
คนใจกว้าง
ง.
คนใจดำ
๓๓.
ในหลวงพระราชทานสิ่งของ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
จัดเข้าในคุณธรรมข้อใด ?
ก.
เมตตา
ข.
กรุณา
ค.
มุทิตา
ง.
อุเบกขา
๓๔.
พ่อค้าขายเสื้อ
“เรารักในหลวง”
เกินกว่าราคาที่กำหนดไว้
ชื่อว่า ประพฤติไม่เป็นธรรมในอะไร ?
ก.
วัตถุ
ข.
บุคคล
ค.
กิจการ
ง.
ถูกทุกข้อ
๓๕.
การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริ
“เศรษฐกิจพอเพียง”
อนุโลมในกัลยาณธรรมข้อใด ?
ก.
ความมีสัตย์
ข.
ความสำรวมในกาม
ค.
ความมีกรุณา
ง.
การเลี้ยงชีวิตชอบ
๓๖.
สามีประพฤติตนอย่างไร จึงชื่อว่าบำเพ็ญสทารสันโดษ ?
ก.
สันโดษในการแสวงหา
ข.
สันโดษในคู่ครอง
ค.
สันโดษในการบริโภค
ง.
สันโดษในการรับ
๓๗.
การทำหน้าที่เป็นภรรยาที่ดีของสามี เรียกว่าอะไร ?
ก.
ปติวัตร
ข.
วิธีวัตร
ค.
จริยาวัตร
ง.
กิจวัตร
๓๘.
คุณธรรมที่จะนำพาให้คู่ครองไม่แตกร้าว โดยตรงได้แก่ข้อใด ?
ก.
ไม่ดื่มเหล้า
ข.
ไม่เจ้าชู้
ค.
ไม่ทำอดสู
ง.
ไม่หูเบา
๓๙.
ข้อใด ไม่จัดเข้าในความมีสัตย์ ๔ ประการ ?
ก.
ความสวามิภักดิ์
ข.
ความซื่อตรง
ค.
ความสมานฉันท์
ง.
ความกตัญญู
๔๐.
คำว่า
“ทรงพระเจริญ”
ที่พสกนิกรชาวไทยร่วมใจกันเปล่งถวายในหลวง
ชื่อว่าประพฤติกัลยาณธรรมข้อใด ?
ก.
ความสวามิภักดิ์
ข.
ความกตัญญู
ค.
ความเที่ยงธรรม
ง.
ความซื่อตรง
๔๑.
“ผู้น้อยไม่ซื่อสัตย์ ก็เสีย
” ผู้พูดต้องการสอนเรื่องอะไร ?
ก.
ความกตัญญู
ข.
ความเสียสละ
ค.
ความซื่อตรง
ง.
ความรอบคอบ
๔๒.
“เสียชีพ อย่าเสียสัตย์”
ผู้พูดประสงค์คุณธรรมใด ?
ก.
สัจจะ
ข.
ทมะ
ค.
ขันติ
ง.
จาคะ
๔๓.
การประพฤติตามหลักความมีสติรอบคอบ ตรงกับข้อใด ?
ก.
ไม่ขับรถขณะเมา
ข.
ขับรถระวังคน
ค.
ข้ามถนนระวังรถ
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๔.
การทำงานลักษณะใด ชื่อว่า ไม่เลินเล่อในการงาน ?
ก.
ไม่ขวนขวาย
ข.
ไม่ทอดธุระ
ค.
ไม่รับผิดชอบ
ง.
ไม่ตรงเวลา
๔๕.
ในมหาเวสสันดรชาดก กล่าวว่า
“ชูชกท้องแตกตาย”
เพราะขาด
ความพอดีในเรื่องใด ?
ก.
อายุสังขาร
ข.
อาหาร
ค.
ความตาย
ง.
อารมณ์
๔๖.
คนตระหนี่เลี้ยงชีวิตแบบอดๆ อยากๆ เปรียบได้กับข้อใด ?
ก.
ต้นไม้ใส่ปุ๋ย
ข.
ต้นไม้พรวนดิน
ค.
ต้นไม้รดน้ำ
ง.
ต้นไม้ขาดน้ำ
๔๗.
กัลยาณธรรมใด เป็นเครื่องพิจารณาในการใช้สอยวัตถุสิ่งของที่ฟุ่มเฟือย
ทำให้ใจคนหลงลำพอง ?
ก.
สติ
ข.
สัจจะ
ค.
ฉันทะ
ง.
วิริยะ
๔๘.
ความมีสติรอบคอบ เป็นอุปการะแก่ศีลข้อใด ?
ก.
ปาณาติบาต
ข.
อทินนาทาน
ค.
มุสาวาท
ง.
สุราเมรัย
๔๙.
ความมีสติรอบคอบ ควบคุมอะไรมิให้ผิดพลาด ?
ก.
การทำ
ข.
การพูด
ค.
การคิด
ง.
ถูกทุกข้อ
๕๐.
การรักษาศีล ๕ บำเพ็ญกัลยาณธรรม มีผลดีต่อสังคมด้านใด ?
ก.
พัฒนาคุณธรรม
ข.
พัฒนาจิตใจ
ค.
พัฒนาเศรษฐกิจ
ง.
พัฒนาทุกด้าน
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๔๙. หน้า
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐