ปัญหาและเฉลย
วิชาเบญจศีล เบญจธรรม (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
“ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ”
ศีลธรรม หมายถึงอะไร ?
ก.
ศีล ๕
ข.
อุโบสถศีล
ค.
ความกตัญญู
ง.
เบญจศีล เบญจธรรม
๒.
จะปลูกพืชต้องเตรียมดิน หากจะปลูกคุณธรรมให้มั่นคงในใจเล่า
ต้องทำสิ่งใดก่อน ?
ก.
รักษากายให้สะอาด
ข.
รักษาศีลให้บริสุทธิ์
ค.
รักษาบ้านให้น่าอยู่
ง.
รักษาโรคภัยให้หาย
๓.
ตึกพังเพราะฐานที่ตั้งไม่ดี ชีวิตพังทลายเพราะฐานข้อใดไม่ดี ?
ก.
เบญจศีล
ข.
เบญจธรรม
ค.
สติ สัมปชัญญะ
ง.
หิริ โอตตัปปะ
๔.
อะไร เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ใจคนมั่นคงต่อความดี ?
ก.
ชาติตระกูล
ข.
ทรัพย์สมบัติ
ค.
ศีล
ง.
ยศศักดิ์
๕.
ข้อใด แก้ไขไม่ได้ ?
ก.
รูปพรรณสัณฐาน
ข.
จิตใจที่ไม่ดี
ค.
ความเกียจคร้าน
ง.
ความประมาท
๖.
การกัดปลา ชนโค ตีไก่ จัดเป็นทรกรรมสัตว์ประเภทใด ?
ก.
กักขัง
ข.
เล่นสนุก
ค.
ผจญสัตว์
ง.
ใช้การ
๗.
เหตุการณ์ใด จัดเข้าในทรกรรมข้อเล่นสนุก ?
ก.
เล่นฟุตบอล
ข.
เล่นกำถั่ว
ค.
ตีไก่ ชนโค
ง.
จุดประทัดผูกหางสุนัข
๘.
ศีลข้อที่ ๑ ขาดเพราะการกระทำข้อใด ?
ก.
การทำให้ตาย
ข.
การทำให้เจ็บลำบาก
ค.
การทรกรรม
ง.
การทำทารุณ
๙.
ข้อใด ไม่ชื่อว่าการถือเอา ?
ก.
ข่มขู่ให้เขาทิ้งของ
ข.
ฟ้องร้องให้เขาแพ้คดี
ค.
หลอกลวงให้เขาเอามาให้เอง
ง.
เก็บเอาไปส่งครูเพื่อหาเจ้าของ
๑๐.
การกระทำใด เป็นเหตุให้ศีลข้อที่ ๒ ขาด ?
ก.
ทุจริตคอรัปชั่น
ข.
ทำของเพื่อนเสียหาย
ค.
ถือวิสาสะหยิบของเพื่อนไป
ง.
กินแต่ของเพื่อนเหมือนกาฝาก
๑๑.
รู้ว่าเป็นของขโมยมา ยังรับซื้อไว้เพื่อขายเก็งกำไร จัดเป็นอนุโลม
โจรกรรมข้อใด ?
ก.
ลักลอบ
ข.
ปอกลอก
ค.
รับสินบน
ง.
สมโจร
๑๒.
การอวดอ้างสรรพคุณสินค้าเกินความเป็นจริง เพื่อให้ผู้ซื้อหลงเชื่อ
จัดเป็นมุสาวาทชนิดใด ?
ก.
มารยา
ข.
ทำเลศ
ค.
เสริมความ
ง.
อำความ
๑๓.
ข้อใด ชื่อว่าโกงของ ?
ก.
ขายของปน
ข.
ขายของปลอม
ค.
ใช้ของมีคุณภาพต่ำกว่าสัญญา
ง.
ถูกทุกข้อ
๑๔.
คำว่า
“กาม”
หมายถึงข้อใด ?
ก.
ความรักฉันเพื่อน
ข.
ความรักฉันพี่น้อง
ค.
ความรักฉันบิดามารดา
ง.
ความรักใคร่ทางประเวณี
๑๕.
ข้อใด เป็นความหมายที่ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุดของคำว่า
“มุสาวาท”
?
ก.
ข้อความอันเป็นเท็จ
ข.
ความพยายามกล่าวเท็จ
ค.
การเว้นจากการกล่าวเท็จ
ง.
กิริยาที่พูดหรือแสดงอาการมุสา
๑๖.
กลอุบายหาลาภ เช่น ทำเสน่ห์ยาแฝด จัดเป็นมุสาวาทชนิดใด ?
ก.
มารยา
ข.
ทำเลศ
ค.
อำความ
ง.
ทำเล่ห์กระเท่ห์
๑๗.
พูดส่อเสียด คือกิริยาเช่นใด ?
ก.
พูดไว้แล้วกลับคำ
ข.
พูดยกย่อง
ค.
พูดเพื่อจะโกง
ง.
พูดให้แตกกัน
๑๘.
ตัวละครในนิยายมีสัตว์พูดกับคน เป็นต้น จัดเป็นมุสาวาทหรือไม่ ?
ก.
เป็น เพราะพูดไม่จริง
ข.
เป็น เพราะตั้งใจหลอกเด็ก
ค.
ไม่เป็น เพราะเป็นโวหาร
หรือสำนวน
ง.
ไม่เป็น เพราะเป็นอุบายให้ เข้าใจสุภาษิต
๑๙.
ไปเล่นการพนันบ้านเพื่อน ถูกแม่ถามตอบแค่ว่า “
ไปบ้านเพื่อน”
จัดเป็นวจีทุจริตชนิดใด ?
ก.
เสริมความ
ข.
อำความ
ค.
มารยา
ง.
ทำเลศ
๒๐.
มุสาวาทข้อใด ชื่อว่าสร้างเรื่องเท็จ ?
ก.
อ้างการกุศลหลอกเรี่ยไร
ข.
เห็น บอกว่าไม่เห็น
ค.
ไม่เห็น บอกว่าเห็น
ง.
พูด บอกว่าไม่ได้พูด
๒๑.
ศีลข้อใด บัญญัติเพื่อไม่ให้เสียสุขภาพและความดี ?
ก.
ศีลข้อ ๕
ข.
ศีลข้อ ๔
ค.
ศีลข้อ ๓
ง.
ศีลข้อ ๒
๒๒.
อะไร เป็นเหตุสำคัญให้คนเกิดความประมาท ?
ก.
ง่วงนอน
ข.
เมาสุรา
ค.
เจ็บไข้
ง.
ใจลอย
๒๓.
ข้อใด เป็นโทษของการดื่มน้ำเมา ?
ก.
เสียทรัพย์สิน
ข.
เป็นเหตุก่อวิวาท
ค.
เป็นเหตุเกิดโรค
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๔.
เราเรียกบุคคลผู้มีศีลธรรม อีกชื่อว่า…?
ก.
กัลยาณชน
ข.
ปุถุชน
ค.
สามัญชน
ง.
อริยชน
๒๕.
ไม่ยอมรับบุหรี่จากเพื่อนมาสูบ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องไม่ดี จัดเป็นวิรัติ
ข้อใด ?
ก.
สมาทานวิรัติ
ข.
สัมปัตตวิรัติ
ค.
สมุจเฉทวิรัติ
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๖.
ผู้งดเว้นจากการทำบาปด้วยคิดถึงอกเขาอกเรา เรียกว่า…?
ก.
สัมปัตตวิรัติ
ข.
สมาทานวิรัติ
ค.
สมุจเฉทวิรัติ
ง.
มังสวิรัติ
๒๗.
หัวขโมยยังไม่ได้โอกาสขโมยจึงเว้นไว้ก่อนจัดเป็นวิรัติใดหรือไม่ ?
ก.
สมาทานวิรัติ
ข.
สัมปัตตวิรัติ
ค.
สมุจเฉทวิรัติ
ง.
ไม่เป็นวิรัติ
๒๘.
ถ้าล่วงละเมิดศีลข้อที่ ๑ จะทำให้บุคคลขาดคุณธรรมข้อใด ?
ก.
ความสัตย์
ข.
ความสำรวมในกาม
ค.
เมตตา-กรุณา
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๙.
การเผื่อแผ่ให้ความสุขแก่ผู้อื่น เรียกว่า…?
ก.
เมตตา
ข.
กรุณา
ค.
มุทิตา
ง.
อุเบกขา
๓๐.
การช่วยเปลื้องทุกข์ของผู้อื่น เรียกว่า…?
ก.
เมตตา
ข.
กรุณา
ค.
มุทิตา
ง.
อุเบกขา
๓๑.
กัลยาณธรรมข้อใด เป็นเหตุให้มนุษย์คิดเกื้อกูลกันและกัน ?
ก.
เมตตา
ข.
กรุณา
ค.
สัมมาอาชีวะ
ง.
ความมีสัตย์
๓๒.
การไถ่ชีวิตโคกระบือที่ถูกนำไปฆ่า เกิดจากจิตประกอบด้วย…?
ก.
เมตตา
ข.
กรุณา
ค.
มุทิตา
ง.
อุเบกขา
๓๓.
สัมมาอาชีวะมีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.
การงานชอบ
ข.
การเจรจาชอบ
ค.
เลี้ยงชีพชอบ
ง.
ความเพียรชอบ
๓๔.
เทปผี ซีดีเถื่อน เกลื่อนเมือง เพราะสาเหตุใด ?
ก.
เบียดเบียนกัน
ข.
ไม่ซื่อสัตย์ต่อกัน
ค.
สังคมแตกแยก
ง.
เลี้ยงชีวิตในทางไม่ชอบ
๓๕.
ประพฤติเป็นธรรมในกิจการ ได้แก่ข้อใด ?
ก.
เขียวซื่อสัตย์ต่อเจ้านาย
ข.
แดงขายของตามราคาที่ติดไว้
ค.
ดำไม่เอาของปลอมมาหลอกขาย
ง.
ขาวตรงเวลา ทำงานก่อน
เลิกทีหลัง
๓๖.
ขยันทำกินด้วยความสุจริต ช่วยให้ศีลข้อใดมั่นคง ?
ก.
ศีลข้อ ๑
ข.
ศีลข้อ ๒
ค.
ศีลข้อ ๓
ง.
ศีลข้อ ๔
๓๗.
ผู้ใช้แรงงานไม่โกงเวลา พัฒนาฝีมือ สัตย์ซื่อต่อหน้าที่ ชื่อว่า
ประพฤติเป็นธรรมในอะไร ?
ก.
กิจการ
ข.
บุคคล
ค.
วัตถุ
ง.
ถูกทุกข้อ
๓๘.
ข้อใด ชื่อว่าประพฤติเป็นธรรมในกิจการ ?
ก.
ไม่โกงของ
ข.
ไม่โกงคน
ค.
ไม่โกงงาน
ง.
ไม่โกงชาติ
๓๙.
ข้อใด ชื่อว่าประพฤติไม่เป็นธรรมในบุคคล ?
ก.
โกงชาติ
ข.
โกงคน
ค.
โกงของ
ง.
โกงงาน
๔๐.
โรคเอดส์จะลดลง เพราะมีคุณธรรมข้อไหน ?
ก.
ความมีสัตย์
ข.
ความมีเมตตากรุณา
ค.
ความสำรวมในกาม
ง.
ความมีสติ
๔๑.
สทารสันโดษ ใกล้กับสำนวนไทยข้อใด ?
ก.
กินน้ำใต้ศอก
ข.
ร้อยชู้หรือจะสู้เนื้อเมียตน
ค.
หญิงหลายใจ
ชายหลายรัก
ง.
เสียทองเท่าหัว
ไม่ยอมเสียผัวให้ใคร
๔๒.
เมื่อรักษาศีลข้อ ๓ แล้ว จะเกิดประโยชน์อะไร ?
ก.
สร้างความสามัคคี
ข.
เว้นการเบียดเบียนกัน
ค.
ป้องกันภัยอันตราย
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๓.
โครงการ
“หนึ่งคน หนึ่งสัจจะ”
สนับสนุนศีลข้อใด ?
ก.
ศีลข้อ ๑
ข.
ศีลข้อ ๒
ค.
ศีลข้อ ๓
ง.
ศีลข้อ ๔
๔๔.
หลักธรรมที่ควรใช้ในการตัดสินคดีคือ…?
ก.
ความเที่ยงธรรม
ข.
ความซื่อตรง
ค.
ความสวามิภักดิ์
ง.
ความกตัญญู
๔๕.
ความกตัญญูกตเวที เพิ่มคุณสมบัติให้แก่ศีลข้อใด ?
ก.
ศีลข้อ ๒
ข.
ศีลข้อ ๓
ค.
ศีลข้อ ๔
ง.
ศีลข้อ ๕
๔๖.
ตั้งสติ ก่อนสตาร์ท เป็นโครงการตามหลักเบญจธรรมข้อใด ?
ก.
ข้อ ๒
ข.
ข้อ ๓
ค.
ข้อ ๔
ง.
ข้อ ๕
๔๗.
ศีลข้อที่ ๕ ป้องกันความเสียหายจากสาเหตุใด ?
ก.
ความขี้ปด
ข.
ความโหดร้าย
ค.
ความขาดสติ
ง.
ความมือไว
๔๘.
ข้อใด เป็นคุณพิเศษประดับผู้มีศีลข้อที่ ๕ ?
ก.
ความรู้จักประมาณในอาหาร
ข.
ความไม่เลินเล่อในการงาน
ค.
ความมีสติสัมปชัญญะ
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๙.
การเอาใจฝักใฝ่ในการศึกษาไม่วางธุระ คือข้อใด ?
ก.
ฉันทะ
ข.
วิริยะ
ค.
จิตตะ
ง.
วิมังสา
๕๐.
พุทธศาสนิกชนผู้ไม่รักษาศีล ๕ เลย เป็นได้ดีที่สุดก็เพียงแค่…?
ก.
กัลยาณชน
ข.
ได้บรรลุโสดาบัน
ค.
คนผู้ใกล้พระรัตนตรัย
ง.
ผู้สรรเสริญพระพุทธศาสนา
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๔๘. หน้า
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐