ปัญหาและเฉลย
วิชาเบญจศีล เบญจธรรม (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.




คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
   
๑. หลักธรรมใด ปรับพฤติกรรมทางกายวาจาของมนุษย์ให้เรียบร้อย ?
  ก. ทาน ข. ศีล
  ค. สมาธิ ง. ปัญญา
 
๒. ข้อห้าม ๕ อย่าง มีปาณาติบาตเป็นต้น เรียกว่าอะไร ?
  ก. เบญจศีล ข. เบญจธรรม
  ค. เบญจพล ง. เบญจขันธ์
 
๓. ข้อใด เป็นประโยชน์ในการบัญญัติศีล ?
  ก. เพื่อให้งดเบียดเบียน ข. เพื่อให้มีจิตใจมั่นคง
  ค. เพื่อให้ปัญญาผ่องใส ง. เพื่อให้คนนับถือบูชา
 
๔. การเบียดเบียนกันทางกาย ตรงกับข้อใด ?
  ก. ยุยง ข. ปองร้าย
  ค. ดุด่า ง. ชกต่อย
 
๕. การเบียดเบียนกันทางวาจา ตรงกับข้อใด ?
  ก. ยกพวกตีกัน ข. ยุยงให้แตกกัน
  ค. วิ่งราวทรัพย์ ง. อาฆาตมาดร้าย
 
๖. คำว่า ปาณาติบาต มีความหมายตรงกับข้อใด ?
  ก. การทำร้ายร่างกาย ข. การทรมานสัตว์
  ค. การทำให้ตาย ง. การทำให้พิการ
 
๗. คำว่า อนุโลมปาณาติบาต มีความหมายตรงกับข้อใด ?
  ก. ทำร้ายร่างกาย ข. ทำร้ายจิตใจ
  ค. ทำลายทรัพย์สิน ง. ทำลายชื่อเสียง
 
๘. คำว่า ทรกรรม หมายถึง การประพฤติเหี้ยมโหดแก่ใคร ?
  ก. เด็ก ข. สตรี
  ค. คนชรา ง. สัตว์
 
๙. คำว่า ผจญสัตว์ ตรงกับข้อใด ?
  ก. ชนโค ชนไก่ ข. ใช้งานและเฆี่ยนตี
  ค. ใช้งานเกินกำลัง ง. ปล่อยให้อดอยาก
 
๑๐. ฆ่า ได้แก่การทำให้ตาย ตรงกับข้อใด ?
  ก. ทำแท้ง ข. ทำทรกรรม
  ค. ทำให้เสียโฉม ง. ทำให้พิการ
 
๑๑. คนทะเลาะกันใช้มีดฟันจนแขนขาด อนุโลมปาณาติบาตข้อใด ?
  ก. ทำให้เสียโฉม ข. ทำให้พิการ
  ค. ทำให้เจ็บลำบาก ง. ทำทรกรรม
 
๑๒. ยิงนกตกปลาล่าสัตว์เพื่อความสำราญ จัดเข้าในทรกรรมข้อใด ?
  ก. ใช้การ ข. ผจญสัตว์
  ค. นำไป ง. เล่นสนุก
 
๑๓. อานิสงส์การงดเว้นจากปาณาติบาต ตรงกับข้อใด ?
  ก. มีโรคน้อย ข. มีคนเชื่อถือ
  ค. มีทรัพย์มาก ง. มีบริวารมาก
 
๑๔. กิริยาเช่นไร เป็นความผิดในอทินนาทานข้อว่า ตู่ ?
  ก. ฟ้องร้องเอาทรัพย์สินคนอื่น ข. ถือเอาของคนอื่นด้วยวิสาสะ
  ค. รับฝากของแต่ไม่ยอมคืนให้ ง. หยิบของขณะที่เจ้าของเผลอ
 
๑๕. สวิญญาณกทรัพย์ในเรื่องอทินนาทาน ตรงกับข้อใด ?
  ก. บ้าน ข. รถยนต์
  ค. ต้นไม้ ง. สัตว์เลี้ยง
 
๑๖. ข้อใด ไม่ใช่ความผิดที่นับเข้าในอทินนาทาน ?
  ก. ตัดไม้ทำลายป่า ข. ลักพระพุทธรูป
  ค. ลอบวางระเบิด ง. ละเมิดลิขสิทธิ์
 
๑๗. ข้อใด จัดเป็นอนุโลมโจรกรรม ?
  ก. ลัก ข. ปล้น
  ค. ฉก ง. รับสินบน
 
๑๘. ข้อใด ตรงกับคำว่า หลอก ในเรื่องอทินนาทาน ?
  ก. ขายสินค้าเลียนแบบ ข. พูดปดให้โอนเงิน
  ค. เปลี่ยนของไว้ใช้เอง ง. กู้เงินไม่ยอมใช้คืน
 
๑๙. คบคนโดยขาดความซื่อสัตย์ มุ่งจะเอาทรัพย์สมบัติเขาถ่ายเดียว
อนุโลมโจรกรรมข้อใด ?
  ก. สมโจร ข. ปอกลอก
  ค. รับสินบน ง. ถูกทุกข้อ
 
๒๐. ทรัพย์สินที่หามาได้ด้วยมิจฉาชีพ มีโทษอย่างไร ?
  ก. เสียชื่อเสียง ข. เสียทรัพย์
  ค. เสียศักดิ์ศรี ง. ถูกทุกข้อ
 
๒๑. การประพฤติตนโดยงดเว้นจากอทินนาทาน ได้ชื่อว่าปฏิบัติตาม
อริยมรรคมีองค์ ๘ ข้อใด ?
  ก. สัมมาทิฏฐิ ข. สัมมาสังกัปปะ
  ค. สัมมาอาชีวะ ง. สัมมากัมมันตะ
 
๒๒. ข้อใด จัดเข้าในฉายาโจรกรรม ?
  ก. ทำลายทรัพย์สินคนอื่น ข. รับซื้อของที่ขโมยมา
  ค. เป็นเจ้าหน้าที่รับสินบน ง. คบคนมุ่งจะเอาทรัพย์
 
๒๓. คำว่า ภรรยาท่าน ได้แก่หญิงประเภทใด ?
  ก. หญิงไม่มีสามี ข. หญิงมีสามี
  ค. หญิงหย่าสามี ง. หญิงสามีตาย
 
๒๔. ศีลข้อที่ ๓ ให้คนงดเว้นเกี่ยวกับเรื่องใด ?
  ก. ผิดประเวณี ข. ฆ่าสัตว์
  ค. ดื่มสุราเมรัย ง. พูดเท็จ
 
๒๕. การรักษาศีลข้อที่ ๓ ช่วยลดปัญหาทางสังคมด้านใด ?
  ก. การละเมิดลิขสิทธิ์ ข. การละเมิดสิทธิ์
  ค. การละเมิดทางเพศ ง. การละเมิดทรัพย์
 
๒๖. มุสา ในคำว่า มุสาวาท ตรงกับข้อใด ?
  ก. ความเห็นผิด ข. ความเท็จ
  ค. ความเห็นถูก ง. ความจริง
 
๒๗. ความผิดที่นับเข้าในมุสาวาท ตรงกับข้อใด ?
  ก. ปฏิฆะ ข. ปฏิปุจฉา
  ค. ปฏิมา ง. ปฏิสสวะ
 
๒๘. ข้อใด มีความเกี่ยวข้องกับศีลข้อที่ ๔ ?
  ก. พยายามจะฆ่า ข. ผู้ฟังเข้าใจผิด
  ค. นอกใจคู่ครอง ง. สับเปลี่ยนของ
 
๒๙. คำพูดประเภทใด ตรงกับคำว่า กลับคำ ?
  ก. พูดเห็นแก่ได้ ข. พูดเพื่อยกย่อง
  ค. พูดหลีกเลี่ยง ง. พูดให้แตกแยก
 
๓๐. กิริยาอวดอ้างความศักดิ์สิทธิ์อันไม่เป็นจริง เรียกว่าอะไร ?
  ก. ทนสาบาน ข. ทำเล่ห์กระเท่ห์
  ค. เสริมความ ง. อำความ
 
๓๑. คำพูดที่ไม่นับเข้าในข้อห้าม ไม่มีโทษแก่ผู้พูด ตรงกับข้อใด ?
  ก. โวหาร ข. อำความ
  ค. มารยา ง. สับปลับ
 
๓๒. การรักษาศีลข้อที่ ๔ ส่งเสริมให้มนุษย์มีคุณธรรมใด ?
  ก. ทาน ข. ปิยวาจา
  ค. อัตถจริยา ง. สมานัตตตา
 
๓๓. คำว่า เลิกเหล้าเลิกจน เพื่อให้เห็นโทษการดื่มน้ำเมาข้อใด ?
  ก. เป็นเหตุเสียทรัพย์ ข. เป็นเหตุก่อวิวาท
  ค. เป็นเหตุให้เกิดโรค ง. ทอนกำลังปัญญา
 
๓๔. ปัญหาสังคมด้านใด สะท้อนการมองข้ามความสำคัญศีลข้อที่ ๕ ?
  ก. การพนันบอล ข. อาชญากรรม
  ค. ยาเสพติด ง. การทุจริต
 
๓๕. การรักษาศีลข้อที่ ๕ มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตอย่างไร ?
  ก. ให้มีสติปัญญา ข. ให้มีสติฟั่นเฟือน
  ค. ให้มีสติวิปลาส ง. ให้มีสติวิกลจริต
 
๓๖. วิรัติ ได้แก่กิริยาที่ละเว้นจากข้อห้าม มีความสัมพันธ์กับข้อใด ?
  ก. ศีล ๕ ข. พละ ๕
  ค. ศีล ๘ ง. ขันธ์ ๕
 
๓๗. ข้อใด ไม่จัดเข้าในวิรัติ ๓ อย่าง ?
  ก. มังสวิรัติ ข. สมาทานวิรัติ
  ค. สัมปัตตวิรัติ ง. สมุจเฉทวิรัติ
 
๓๘. ข้อใด จัดเข้าในกัลยาณธรรม ๕ ประการ ?
  ก. ความสำรวมกาย ข. ความสำรวมวาจา
  ค. ความสำรวมกาม ง. ความสำรวมจิต
 
๓๙. การช่วยเหลือคนที่ตกทุกข์ได้ยาก จัดเป็นกัลยาณธรรมใด ?
  ก. ความมีเมตตา ข. ความมีสติ
  ค. ความมีกรุณา ง. ความมีสัตย์
 
๔๐. ตั้งน้ำดื่มไว้หน้าบ้านเพื่อคนสัญจรไปมา จัดเป็นกัลยาณธรรมใด ?
  ก. ความมีเมตตา ข. ความซื่อตรง
  ค. ความมีกรุณา ง. ความกตัญญู
 
๔๑. ไม่ดื่มสุรา แต่จำหน่ายสุราหนีภาษี ได้ชื่อว่าขาดกัลยาณธรรมใด ?
  ก. ความเที่ยงธรรม ข. สัมมาอาชีวะ
  ค. ความสวามิภักดิ์ ง. ความมีสัตย์
 
๔๒. การไม่ประพฤตินอกจากใจคู่ครอง ตรงกับกัลยาณธรรมใด ?
  ก. สัมมาอาชีวะ ข. กามสังวร
  ค. ความมีสัตย์ ง. ความมีสติ
 
๔๓. ความประพฤติเป็นธรรมในกิจการ ตรงกับข้อใด ?
  ก. มาทำงานตรงเวลา ข. ขายของถูกกฎหมาย
  ค. ให้ค่าแรงเหมาะสม ง. ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค
 
๔๔. ความประพฤติเป็นธรรมในบุคคล ตรงกับข้อใด ?
  ก. รับผิดชอบต่อหน้าที่ ข. ไม่บกพร่องต่อหน้าที่
  ค. ไม่ปลอมแปลงสินค้า ง. ให้ค่าจ้างตามสัญญา
 
๔๕. ความประพฤติเป็นธรรมในวัตถุ ตรงกับข้อใด ?
  ก. ขายของมีคุณภาพ ข. ทำงานเต็มเวลาที่กำหนด
  ค. ซื่อสัตย์ต่อองค์กร ง. ไม่ฟ้องนาย ไม่ขายเพื่อน
 
๔๖. สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง มีความหมายตรงกับข้อใด ?
  ก. ขาดความกตัญญู ข. ขาดความเที่ยงตรง
  ค. ขาดความซื่อสัตย์ ง. ขาดความรอบคอบ
 
๔๗. บุคคลประพฤติตนอย่างไร จึงได้ชื่อว่ามีความซื่อตรง ?
  ก. ไม่คิดร้ายต่อมิตร ข. รู้อุปการะท่าน
  ค. มีความสวามิภักดิ์ ง. กตัญญูรู้คุณ
 
๔๘. การลงนามถวายพระพรในหลวง แสดงถึงความมีคุณธรรมใด ?
  ก. ความเที่ยงธรรม ข. ความซื่อตรง
  ค. ความสวามิภักดิ์ ง. ความกตัญญู
 
๔๙. การประกอบอาชีพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง มีความสอดคล้อง
กับกัลยาณธรรมใด ?
  ก. สัมมาอาชีวะ ข. ความซื่อสัตย์
  ค. ความมีสติ ง. ความกตัญญู
 
๕๐. โครงการฝนหลวงในพระราชดำริ เพื่อช่วยบรรเทาความแห้งแล้ง
สอดคล้องกับกัลยาณธรรมใด ?
  ก. ความเที่ยงธรรม ข. ความกตัญญู
  ค. ความสวามิภักดิ์ ง. ความมีกรุณา
         
     
เอกสารอ้างอิง    
  เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๓. หน้า ๒๐๘-๒๑๘.
         

ข้อสอบสนามหลวง