ปัญหาและเฉลย
วิชาเบญจศีล เบญจธรรม (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
อุบายเครื่องป้องกันไม่ให้คนทำชั่วทางกายวาจา เรียกว่าอะไร ?
ก.
ทาน
ข.
ศีล
ค.
สมาธิ
ง.
ปัญญา
๒.
คุณธรรมอะไร ทำให้โลกเว้นจากการเบียดเบียนล้างผลาญกัน ?
ก.
ศีล
ข.
สุตะ
ค.
จาคะ
ง.
ปัญญา
๓.
ข้อใด ไม่นับเข้าในเบญจศีลที่มนุษย์ทุกคนควรยึดเป็นหลักปฏิบัติ ?
ก.
ห้ามฆ่าสัตว์
ข.
ห้ามลักทรัพย์
ค.
ห้ามพูดปด
ง.
ห้ามประมาท
๔.
สิกขาบทที่ ๑ บัญญัติขึ้นเพื่อให้เว้นการเบียดเบียนกันในเรื่องใด ?
ก.
ชีวิต
ข.
ทรัพย์
ค.
คู่รัก
ง.
คำพูด
๕.
การกระทำใด ถือว่าเป็นการประพฤติผิดศีล ตามสิกขาบทที่ ๑ ?
ก.
ทำแท้ง
ข.
ลักทรัพย์
ค.
มั่วกาม
ง.
พูดโกหก
๖.
ฆ่าผู้อื่นเป็นบาป เพราะเป็นการเบียดเบียนกัน ฆ่าอะไรจึงไม่บาป ?
ก.
ฆ่าสัตว์
ข.
ฆ่าตัวเอง
ค.
ฆ่ายักษ์
ง.
ฆ่าตัณหา
๗.
ปาหินใส่รถยนต์ถูกคนขับตาบอด อนุโลมในปาณาติบาตข้อใด ?
ก.
ฆ่าให้เีสียชีวิต
ข.
เล่นสนุก
ค.
ทำร้ายร่างกาย
ง.
ทรกรรม
๘.
การประพฤติเหี้ยมโหดต่อสัตว์ อนุโลมในปาณาติบาตข้อใด ?
ก.
ทำให้บาดเจ็บ
ข.
ทำให้ลำบาก
ค.
ทำให้พิการ
ง.
การทรกรรม
๙.
ฆ่าสัตว์ใหญ่มีโทษมากกว่าฆ่าสัตว์เล็ก เพราะใช้ความพยายาม
มากตรงกับข้อใด ?
ก.
ฆ่าควาย
ข.
ฆ่าช้าง
ค.
ฆ่าแมลง
ง.
ฆ่าปลา
๑๐.
นำแรงงานต่างด้าวเข้าประเทศ โดยผิดกฎหมาย ตรงกับข้อใด ?
ก.
ยักยอก
ข.
ลักลอบ
ค.
ล่อลวง
ง.
เบียดบัง
๑๑.
ข้อใดไม่จัดเป็นวัตถุแห่งอทินนาทาน ตามสิกขาบทที่ ๒ ?
ก.
ของสงฆ์
ข.
ของตัวเอง
ค.
ของกลาง
ง.
ของคนอื่น
๑๒.
อทินนาทานที่เข้าลักษณะเบียดบัง ตรงกับข้อใด ?
ก.
ทุจริตนมโรงเรียน
ข.
ขายไข่ปลอม
ค.
ให้กู้เงินนอกระบบ
ง.
ค้ายาเสพติด
๑๓.
ขู่เจ้าของทรัพย์ให้ตกใจกลัว เพื่อหวังเอาทรัพย์ เรียกว่าอะไร ?
ก.
ลัก
ข.
ตระบัด
ค.
ฉก
ง.
กรรโชก
๑๔.
ใช้เอกสารเท็จ เพื่อหวังจะครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์
จัดเข้าในโจรกรรมข้อใด ?
ก.
ปล้น
ข.
ปลอม
ค.
ลวง
ง.
หลอก
๑๕.
คำว่าผลาญในสิกขาบทที่ ๒ ตรงกับกรณีตัวอย่างใด ?
ก.
จับตัวเรียกค่าไถ่
ข.
เผาโรงเรียน
ค.
เรียกค่าคุ้มครอง
ง.
รุกป่าสงวน
๑๖.
คู่สามีภรรยามีความไว้วางใจต่อกัน จะต้องทำอย่างไร ?
ก.
ไม่ลักขโมย
ข.
ไม่นอกใจ
ค.
ไม่พูดโกหก
ง.
ไม่ดื่มสุรา
๑๗.
คำว่าภรรยาคนอื่น ในสิกขาบทที่ ๓ หมายถึงหญิงในข้อใด ?
ก.
หญิงที่สามีตาย
ข.
หญิงที่หย่ากับสามี
ค.
หญิงที่มีพ่อแม่
ง.
หญิงที่แต่งงานแล้ว
๑๘.
คนที่ประพฤติผิดศีลตามสิกขาบทที่ ๔ ย่อมได้รับผลกรรมใด ?
ก.
ขาดความเชื่อถือ
ข.
โรคภัยเบียดเบียน
ค.
ทรัพย์สินสูญหาย
ง.
ให้มีสติเลอะเลือน
๑๙.
มุสาวาทที่แสดงออกทางกาย มีลักษณะตรงกับข้อใด ?
ก.
เล่าความเท็จ
ข.
ทำเอกสารเท็จ
ค.
แจ้งความเท็จ
ง.
เป็นพยานเท็จ
๒๐.
มุสาวาทมีโทษมาก เพราะพูดเท็จต่อผู้มีพระคุณ ตรงกับข้อใด ?
ก.
พ่อแม่
ข.
พระสงฆ์
ค.
พี่น้อง
ง.
เพื่อนรัก
๒๑.
พูดจาเหน็บแนมให้คนอื่นเจ็บใจ อนุโลมในมุสาวาทข้อใด ?
ก.
สับปลับ
ข.
เสียดแทง
ค.
อำความ
ง.
ทำมารยา
๒๒.
สิกขาบทที่ ๔ บัญญัติขึ้นเพื่อไม่ให้คนเบียดเบียนกันในเรื่องใด ?
ก.
ชีวิต
ข.
ทรัพย์
ค.
คู่รัก
ง.
คำพูด
๒๓.
คำพูดประเภทใด ไม่นับเข้าในข้อห้ามแห่งสิกขาบทที่ ๔ ?
ก.
มารยา
ข.
คืนคำ
ค.
สาบาน
ง.
โวหาร
๒๔.
ในหลักของศีล ๕ สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ตรงกับข้อใด ?
ก.
สิ่งมีชีวิต
ข.
ทรัพย์สมบัติ
ค.
สิ่งมึนเมา
ง.
บุรุษและสตรี
๒๕.
เครื่องดื่มชนิดใด เป็นเหตุให้ผู้ดื่มผิดศีลตามสิกขาบทที่ ๕ ?
ก.
ผลไม้ปั่น
ข.
เหล้าปั่น
ค.
น้ำหวาน
ง.
น้ำอัดลม
๒๖.
การดื่มสุราเป็นเหตุให้ประพฤติมารยาทน่าอดสู ตรงกับข้อใด ?
ก.
ง่วงนอน
ข.
อ่อนเพลีย
ค.
เสียงาน
ง.
ทำอนาจาร
๒๗.
เพราะติดสุราจึงหางานทำไม่ได้ เป็นโทษของการดื่มสุราข้อใด ?
ก.
เสียทรัพย์
ข.
ก่อวิวาท
ค.
ทอนปัญญา
ง.
เกิดโรค
๒๘.
ข้อใด ถือเป็นค่านิยมผิดๆ ของคนที่ชอบดื่มสุราเมรัย ?
ก.
จิตใจห้าวหาญ
ข.
สังขารเสื่อม
ค.
เลื่อมใสศาสนา
ง.
สติสมบูรณ์
๒๙.
ปัญหาสังคมด้านใด สะท้อนให้เห็นถึงการละเลยศีล ข้อที่ ๕ ?
ก.
การทุจริต
ข.
อาชญากรรม
ค.
ยาเสพติด
ง.
เล่นการพนัน
๓๐.
คุณธรรมที่อุดหนุนการรักษาศีลให้มีความมั่นคง เรียกว่าอะไร ?
ก.
เบญจศีล
ข.
เบญจธรรม
ค.
เบญจขันธ์
ง.
เบญจวัคคีย์
๓๑.
ความตั้งใจงดเว้นจากข้อห้ามในศีล ๕ เรียกว่าอะไร ?
ก.
อาบัติ
ข.
วิบัติ
ค.
วิรัติ
ง.
วิันัย
๓๒.
มีคนชวนให้ดื่มสุรา เห็นว่าไม่มีประโยชน์ต่อร่่างกายจึงปฏิเสธ
จัดเป็นวิรัติใด ?
ก.
สมาทานวิรัติ
ข.
สัมปัตตวิรัติ
ค.
สมุจเฉทวิรัติ
ง.
ถูกทุกข้อ
๓๓.
การละเว้นข้อห้ามของคฤหัสถ์ที่ถือศีลในวันพระ จัดเป็นวิรัติใด ?
ก.
สมาทานวิรัติ
ข.
สัมปัตตวิรัติ
ค.
สมุจเฉทวิรัติ
ง.
ถูกทุกข้อ
๓๔.
คนที่ไม่เคยฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แต่มีจิตไร้เมตตา ได้ชื่อว่าขาดอะไร ?
ก.
กัลยาณธรรม
ข.
กัลยาณจิต
ค.
กัลยาณมิตร
ง.
กัลยาณชน
๓๕.
คนที่มีความสุขสมบูรณ์แล้ว ปรารถนาจะให้คนอื่นมีความสุขบ้าง
ได้ชื่อว่ามีคุณธรรมใด ?
ก.
เมตตา
ข.
กรุณา
ค.
มุทิตา
ง.
อุเบกขา
๓๖.
บุคคลประพฤติเช่นไร จึงชื่อว่ามีจิตประกอบด้วยเมตตา ?
ก.
เลี้ยงดูคนชรา
ข.
รักษาคนป่วย
ค.
ช่วยคนจมน้ำ
ง.
ช่วยช้างขาหัก
๓๗.
คลอดลูกแล้ว กลับไม่เอาธุระเลี้ยงดู นำลูกไปขายให้แก่คนอื่น
เพราะขาดคุณธรรมใด ?
ก.
ความอดทน
ข.
ความซื่อสัตย์
ค.
ความเมตตา
ง.
ความกตัญญู
๓๘.
ทำงานแบบตื่นก่อนนอนทีหลัง ชื่อว่าประพฤติเป็นธรรมในอะไร ?
ก.
กิจการ
ข.
บุคคล
ค.
วัตถุ
ง.
ถูกทุกข้อ
๓๙.
นายจ้างไม่จ่ายค่าแรงให้คนงานตามสัญญาว่าจ้าง ชื่อว่าประพฤติ
ไม่เป็นธรรมในอะไร ?
ก.
กิจการ
ข.
บุคคล
ค.
วัตถุ
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๐.
พ่อค้าขายไข่ไก่ปลอม ชื่อว่าประพฤติไม่เป็นธรรมในอะไร ?
ก.
กิจการ
ข.
บุคคล
ค.
วัตถุ
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๑.
เพราะเหตุใด ทรัพย์ที่ได้จากค้ายาเสพติดไม่จัดเป็นสัมมาอาชีพ ?
ก.
ได้ยากเกินไป
ข.
เกิดเสียหาย
ค.
เก็บไว้ได้นาน
ง.
ผิดศีลธรรม
๔๒.
กิริยาที่คอยระมัดระวังไม่ประพฤติมักมากในกาม เรียกว่าอะไร ?
ก.
สำรวมศีล
ข.
สำรวมอินทรีย์
ค.
สำรวมจิต
ง.
สำรวมในกาม
๔๓.
ประพฤติตนอย่างไร จึงจะเป็นคนไม่มีความมักมากในกาม ?
ก.
รักษาชื่อเสียง
ข.
รักษาความสัตย์
ค.
รักษาศีล ข้อ 3
ง.
รักษาโรคติดต่อ
๔๔.
โครงการชวนพ่อเลิกเหล้า เพื่อการส่งเสริมคุณธรรมใด ?
ก.
ความมีสัตย์
ข.
ความมีสติ
ค.
ความสุจริต
ง.
ความอดทน
๔๕.
ความไม่เลินเล่อในการงาน มีความหมายตรงกับสุภาษิตใด ?
ก.
เห็นช้างขี้ขี้ตามช้าง
ข.
ขี่ช้างจับตั๊กแตน
ค.
น้ำลดตอผุด
ง.
น้ำขึ้นให้รีบตัก
๔๖.
การรู้จักประมาณอาหารที่จะพึงบริโภค ช่วยส่งเสริมคุณธรรมใด ?
ก.
ขยัน
ข.
ประหยัด
ค.
ซื่อสัตย์
ง.
มีกตัญญู
๔๗.
การไม่เคารพเชื่อฟังผู้มีพระคุณ ชื่อว่าบกพร่องในคุณธรรมใด ?
ก.
ความสวามิภักดิ์
ข.
ความซื่อตรง
ค.
ความเที่ยงธรรม
ง.
ความกตัญญู
๔๘.
การเว้นจากอคติ 4 ให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ตรงกับข้อใด ?
ก.
ความสวามิภักดิ์
ข.
ความซื่อตรง
ค.
ความเที่ยงธรรม
ง.
ความกตัญญู
๔๙.
ความมีสติรอบคอบ หมายถึง ความไม่ผิดพลาดในเรื่องใด ?
ก.
การบริโภค
ข.
การวางตัว
ค.
การทำงาน
ง.
ถูกทุกข้อ
๕๐.
ความมีสติรอบคอบ เป็นอุปการะแก่การรักษาศีลข้อใด ?
ก.
งดฆ่าสัตว์
ข.
งดลักทรัพย์
ค.
งดพูดปด
ง.
งดสิ่งมึนเมา
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๒. หน้า
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐