ปัญหาและเฉลย
วิชาเบญจศีล เบญจธรรม (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันพฤหัสบดี ที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐
เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๕.๕๐ น.
คำสั่ง :
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาทลงในช่องของข้อ
ที่ต้องการในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
๑.
สิกขาบทที่ปรากฏในเบญจศีล หมายถึงอะไร ?
ก.
องค์แห่งศีล
ข.
ข้อห้ามแห่งศีล
ค.
ขอบเขตแห่งศีล
ง.
การสมาทานศีล
๒.
ศีล ๕ บัญญัติไว้สำหรับบุคคลประเภทใด ?
ก.
ภิกษุ
ข.
ภิกษุณี
ค.
สามเณร
ง.
คนทั่วไป
๓.
เพราะเหตุใด ผู้แรกเริ่มประพฤติความดี จึงต้องถือศีล ?
ก.
เป็นบรรทัดของศาสนาทุกศาสนา
ข.
เป็นบรรทัดให้คนอื่นมีสุขทั่วหน้า
ค.
เป็นบรรทัดให้คนประพฤติความดี
ง.
เป็นบรรทัดให้เลี้ยงชีวิตแต่พอเพียง
๔.
ศีลที่บัญญัติขึ้นเพื่อปลูกเมตตาจิตนั้น ควรปลูกเมตตาจิตในใคร ?
ก.
สัตว์เล็ก
ข.
สัตว์ใหญ่
ค.
สัตว์มีคุณ
ง.
สัตว์ทั้งปวง
๕.
ศีลข้อใด บัญญัติขึ้นด้วยเพ่งเมตตาจิตเป็นใหญ่ ?
ก.
ปาณาติบาต
ข.
อทินนาทาน
ค.
กาเมสุมิจฉาจาร
ง.
มุสาวาท
๖.
ฆ่ากันโดยบันดาลโทสะ เป็นการผิดศีลลักษณะใด ?
ก.
โดยจงใจ
ข.
โดยไม่จงใจ
ค.
โดยไตร่ตรอง
ง.
โดยใคร่ครวญ
๗.
การกระทำใด มุ่งเฉพาะสัตว์เดียรฉาน ?
ก.
ทรกรรม
ข.
ทำร้ายร่างกาย
ค.
ฆ่าตัดคอ
ง.
ทำลายทรัพย์สิน
๘.
การชนโค ชนไก่ กัดจิ้งหรีด จัดเป็นการกระทำประเภทใด ?
ก.
กักขัง
ข.
นำไป
ค.
เล่นสนุก
ง.
ผจญสัตว์
๙.
ใช้งานสัตว์เกินกำลัง ไม่ปรานี ปล่อยให้อดอยากซูบผอม ไม่ให้หยุดพักผ่อน
ตามกาล จัดเป็นการกระทำประเภทใด ?
ก.
ใช้การ
ข.
กักขัง
ค.
เล่นสนุก
ง.
นำไป
๑๐.
การทำให้พิการ จัดเข้าในการกระทำประเภทใด ?
ก.
การฆ่า
ข.
การโจรกรรม
ค.
การทำร้ายร่างกาย
ง.
การทรกรรม
๑๑.
อทินนาทานา เวรมณี บัญญัติขึ้นเพื่ออะไร ?
ก.
ให้มีสติยับยั้ง
ข.
ให้มีเมตตาต่อกัน
ค.
ให้ปรองดองกัน
ง.
ให้เลี้ยงชีวิตถูกทาง
๑๒.
คบเพื่อนด้วยอาการไม่ซื่อสัตย์ เอาเปรียบ มุ่งแต่จะได้้ฝ่ายเดียว
ตรงกับข้อใด ?
ก.
ปอกลอก
ข.
ลักลอบ
ค.
สมโจร
ง.
ยักยอก
๑๓.
การถือเอาสิ่งของที่ดีของผู้อื่น เอาสิ่งของที่เลวของตนเข้าไว้แทน
จัดเป็นการกระทำประเภทใด ?
ก.
ลักลอบ
ข.
เบียดบัง
ค.
สับเปลี่ยน
ง.
ยักยอก
๑๔.
แม้ทรัพย์ของตนเองก็ทำให้ผิดศีลข้อที่ ๒ ได้ ตรงกับข้อใด ?
ก.
ลักลอบ
ข.
เบียดบัง
ค.
ตระบัด
ง.
กรรโชก
๑๕.
การขู่ให้เจ้าของตกใจกลัวและถือเอาสิ่งของไป เรียกว่าอะไร ?
ก.
ปล้น
ข.
ฉ้อ
ค.
ฉก
ง.
กรรโชก
๑๖.
การทำลายทรัพย์สินผู้อื่นให้เกิดความเสียหาย เช่น เผาโรงเรียน
ฟันโค ฟันกระบือ เป็นต้น จัดเป็นการกระทำประเภทใด ?
ก.
ทำร้าย
ข.
ทรกรรม
ค.
ผลาญ
ง.
กรรโชก
๑๗.
กิริยาที่ทำในเวลาสงัด แอบเข้าไปในเรือนของผู้อื่นและหยิบฉวย
สิ่งของเขาไป เรียกว่าอะไร ?
ก.
ตัดช่อง
ข.
ย่องเบา
ค.
ลักลอบ
ง.
เบียดบัง
๑๘.
กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันตนจากความเสียหาย
ในเรื่องใด ?
ก.
โหดร้าย
ข.
มือไว
ค.
ใจง่าย
ง.
ขาดสติ
๑๙.
เว้นจากการประพฤติผิดในกาม คำว่า กาม ได้แก่กิริยาเช่นใด ?
ก.
รักใคร่กันฉันญาติ
ข.
รักใคร่กันฉันเพื่อน
ค.
รักใคร่กันฉันพี่น้อง
ง.
รักใคร่กันทางประเวณี
๒๐.
ผู้เป็นเทือกเถาของตน ตรงกับข้อใด ?
ก.
แม่
ข.
ลูก
ค.
หลาน
ง.
เหลน
๒๑.
หญิงที่จารีตห้าม ยกเว้นข้อใด ?
ก.
ภิกษุณี
ข.
สิกขมานา
ค.
หญิงหม้าย
ง.
สามเณรี
๒๒.
ของของใคร ใครก็รักก็หวง มีความหมายตรงกับศีลข้อใด ?
ก.
ข้อ ๑
ข.
ข้อ ๓
ค.
ข้อ ๔
ง.
ข้อ ๕
๒๓.
ชายที่มีรักเดียวใจเดียว ไม่นอกใจภรรยาตน ตรงกับข้อใด ?
ก.
ปติวัตร
ข.
สทารสันโดษ
ค.
มัตตัญญุตา
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๔.
มุสาวาท แสดงออกได้ทางใด ?
ก.
ทางกาย
ข.
ทางวาจา
ค.
ทางใจ
ง.
ทางกาย วาจา
๒๕.
การกล่าววาจาที่ไพเราะมีประโยชน์ ตรงกับศีล ๕ ข้อใด ?
ก.
ข้อ ๑
ข.
ข้อ ๒
ค.
ข้อ ๔
ง.
ข้อ ๕
๒๖.
ข้าราชการถวายสัตย์แล้ว ภายหลังไม่ปฏิบัติตาม เรียกว่าอะไร ?
ก.
ผิดสัญญา
ข.
คืนคำ
ค.
เสียสัตย์
ง.
หลอกลวง
๒๗.
ให้การเท็จในชั้นศาล ชื่อว่าประพฤติผิดลักษณะใด ?
ก.
พูดปด
ข.
พูดคำหยาบ
ค.
พูดเพ้อเจ้อ
ง.
พูดส่อเสียด
๒๘.
รู้วิชาคงกระพัน ฟันไม่เข้า ยิงไม่ออก เพื่อหลอกให้คนหลงเชื่อและนิยมตน
จัดเป็นมุสาประเภทใด ?
ก.
มารยา
ข.
ทำเลศ
ค.
เสริมความ
ง.
ทำเล่ห์กระเท่ห์
๒๙.
พูดประชดให้คนอื่นเจ็บใจ ตรงกับข้อใด ?
ก.
สับปลับ
ข.
ทำเลศ
ค.
เพ้อเจ้อ
ง.
เสียดแทง
๓๐.
ตั้งใจจะพูดอย่างหนึ่ง แต่ปากไพล่ไปพูดเสียอีกอย่างหนึ่ง เช่นนี้
เรียกว่าอะไร ?
ก.
โวหาร
ข.
นิยาย
ค.
สำคัญผิด
ง.
พลั้ง
๓๑.
พูดตัดข้อความที่ไม่ต้องการจะให้รู้ออก เพื่อปกปิดความผิดตน
ให้เขาเข้าใจเป็นอย่างอื่น ตรงกับข้อใด ?
ก.
เสริมความ
ข.
ทำเลศ
ค.
อำความ
ง.
มายา
๓๒.
พูดด้วยความคะนองปาก ไม่ได้ตั้งใจให้เข้าใจผิด ตรงกับข้อใด ?
ก.
เสียดแทง
ข.
สับปลับ
ค.
ส่อเสียด
ง.
ถูกทุกข้อ
๓๓.
ทั้งๆ ที่ไม่ได้เคารพนับถืออะไร แต่ลงท้ายจดหมายมีข้อความว่า
ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง ไม่จัดเป็นมุสาเพราะอะไร ?
ก.
ไม่ได้ตั้งใจ
ข.
เป็นโวหาร
ค.
เข้าใจผิด
ง.
สำคัญผิด
๓๔.
ข้อใด เป็นมูลเหตุของความประมาทขาดสติ ?
ก.
ความยากจน
ข.
ความฟุ้งซ่าน
ค.
ความเครียด
ง.
ความมึนเมา
๓๕.
การเสพสิ่งเสพติด ถือว่าผิดศีล เพราะสาเหตุใด ?
ก.
ให้ผู้เสพมีโอกาสถึงตายได้
ข.
เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ค.
เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์
ง.
รัฐบาลห้ามและปราบปราม
๓๖.
การละเว้นจากข้อห้ามในสิกขาบททั้ง ๕ เรียกว่าอะไร ?
ก.
วิรัติ
ข.
เจตนา
ค.
สมาทาน
ง.
กัลยาณธรรม
๓๗.
ตั้งใจจะรักษาศีล ๕ มิให้ขาด มิให้ด่าง มิให้พร้อย ตรงกับข้อใด ?
ก.
สัมปัตตวิรัติ
ข.
สมาทานวิรัติ
ค.
สมุจเฉทวิรัติ
ง.
ถูกทุกข้อ
๓๘.
กำลังจะทำจะทำร้ายเขา แต่ไม่ทำ เพราะเห็นว่าไม่ควร ตรงกับข้อใด ?
ก.
สัมปัตตวิรัติ
ข.
สมาทานวิรัติ
ค.
สมุจเฉทวิรัติ
ง.
ถูกทุกข้อ
๓๙.
ใจจืดใจดำ เป็นอาการของคนขาดกัลยาณธรรมข้อใด ?
ก.
เที่ยงธรรม
ข.
ซื่อตรง
ค.
สวามิภักดิ์
ง.
เมตตา กรุณา
๔๐.
เลี้ยงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ไม่หลอกลวงผู้อื่นเลี้ยงชีวิต
ชื่อว่าปฏิบัติตามข้อใด ?
ก.
สัมมาสังกัปปะ
ข.
สัมมาอาชีวะ
ค.
สัมมาวายามะ
ง.
สัมมาสมาธิ
๔๑.
การขายสินค้าที่มีคุณภาพ ตามราคาที่กำหนด ไม่เอาเปรียบลูกค้า
ชื่อว่าประพฤติเป็นธรรมในอะไร ?
ก.
กิจการ
ข.
บุคคล
ค.
วัตถุ
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๒.
เรามีเวลาน้อย ต้องรีบทำงานที่คั่งค้างให้สำเร็จ ชื่อว่าประพฤติเป็นธรรม
ในอะไร ?
ก.
กิจการ
ข.
บุคคล
ค.
วัตถุ
ง.
ถูกทุกข้อ
๔๓.
ข้อใด ส่งเสริมผู้ปฏิบัติให้รู้จักมีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ?
ก.
ความมีสัตย์
ข.
ความสำรวมในศีล
ค.
ความสำรวมในกาม
ง.
ความมีสติรอบคอบ
๔๔.
คนตรง หมายถึงบุคคลมีความประพฤติเช่นไร ?
ก.
กตัญญู
ข.
อ่อนน้อม
ค.
มีสัตย์
ง.
จงรักภักดี
๔๕.
ฉันจำใจต้องทำความผิด เพราะรักเธอมาก ชื่อว่าขาดความเที่ยงธรรม
ข้อใด ?
ก.
ฉันทาคติ
ข.
โทสาคติ
ค.
โมหาคติ
ง.
ภยาคติ
๔๖.
ความมีสติรอบคอบ ส่งเสริมการรักษาศีลข้อใด ?
ก.
ข้อ ๒
ข.
ข้อ ๓
ค.
ข้อ ๔
ง.
ข้อ ๕
๔๗.
ไม่ควรซื้อ อย่าไปพิไรซื้อ มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.
สัมมากัมมันตะ
ข.
สัมมาอาชีวะ
ค.
ความมีสัตย์
ง.
สติรอบคอบ
๔๘.
ข้อใด ไม่ใช่อาการของความมีสติรอบคอบ ?
ก.
ทำงานให้อากูล
ข.
ทำงานที่ไม่มีโทษ
ค.
ทำงานอย่างตั้งใจ
ง.
ทำงานระมัดระวัง
๔๙.
การปฏิบัติตามหลักเบญจศีลเบญจธรรม คู่ใดไม่สัมพันธ์กัน ?
ก.
ไม่แย่งชิงของรัก-มีเมตตากรุณา
ข.
ไม่ลักทรัพย์-ประกอบสัมมาชีพ
ค.
ไม่พูดเท็จ-พูดแต่ความจริง
ง.
ไม่ดื่มสุรา-มีสติสัมปชัญญะ
๕๐.
เบญจศีลกับเบญจธรรม ต่างกันอย่างไร ?
ก.
เบญจศีลควรรู้-เบญจธรรมควรละ
ข.
เบญจศีลควรละ-เบญจธรรมควรรู้
ค.
เบญจศีลควรเว้น-เบญจธรรมควรปฏิบัติ
ง.
เบญจศีลควรปฏิบัติ-
เบญจธรรมควรเว้น
เอกสารอ้างอิง
เรื่องสอบธรรม ของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.๒๕๕๐. หน้า ๑๖๗-๑๗๗.
ข้อสอบสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ศ. ๒๕๔๗
พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
พ.ศ. ๒๕๕๙
พ.ศ. ๒๕๖๐
พ.ศ. ๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๕๖๒
พ.ศ. ๒๕๖๓
พ.ศ. ๒๕๖๔
พ.ศ. ๒๕๖๕
พ.ศ. ๒๕๖๖
พ.ศ. ๒๕๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๘
พ.ศ. ๒๕๖๙
พ.ศ. ๒๕๗๐
พ.ศ. ๒๕๗๑
พ.ศ. ๒๕๗๒
พ.ศ. ๒๕๗๓
พ.ศ. ๒๕๗๔
พ.ศ. ๒๕๗๕
พ.ศ. ๒๕๗๖
พ.ศ. ๒๕๗๗
พ.ศ. ๒๕๗๘
พ.ศ. ๒๕๗๙
พ.ศ. ๒๕๘๐
พ.ศ. ๒๕๘๑
พ.ศ. ๒๕๘๒
พ.ศ. ๒๕๘๓
พ.ศ. ๒๕๘๔
พ.ศ. ๒๕๘๕
พ.ศ. ๒๕๘๖
พ.ศ. ๒๕๘๗
พ.ศ. ๒๕๘๘
พ.ศ. ๒๕๘๙
พ.ศ. ๒๕๙๐
พ.ศ. ๒๕๙๑
พ.ศ. ๒๕๙๒
พ.ศ. ๒๕๙๓
พ.ศ. ๒๕๙๔
พ.ศ. ๒๕๙๕
พ.ศ. ๒๕๙๖
พ.ศ. ๒๕๙๗
พ.ศ. ๒๕๙๘
พ.ศ. ๒๕๙๙
พ.ศ. ๒๖๐๐